WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
เงินติดล้อ ชี้ทางรอดธุรกิจ แนะรัฐหนุน Non-bank ช่วยเหลือประชาชนฟื้นฟูกิจการ

27 ตุลาคม 2563 : นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด ร่วมงานสัมมนาของสมาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 2563 หัวข้อ “อยู่เป็น อยู่รอด ผ่านโควิดไปด้วยกัน-STAYING ALIVE IN COVID WORLD” พร้อมแนะทางรอดของธุรกิจท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโควิด-19 ว่าท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังคงเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้

เงินติดล้อกับการช่วยเหลือลูกค้าในช่วงโควิด-19 :

สำหรับเงินติดล้อในบทบาทของผู้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้กู้รายย่อยประเภท Non-bank นั้น ที่ผ่านมาบริษัทฯ ให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้เข้ามาตรการพักชำระหนี้

นอกจากนี้ยังออกแคมเปญพิเศษลดดอกเบี้ยสินเชื่อทะเบียนรถ เหลือ 0.88% ต่อเดือน เป็นอัตราดอกเบี้ย ที่คิดแบบคงที่ เมื่อเทียบเคียงกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงแบบลดต้นลดดอกจะเท่ากับ 18.95% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อทะเบียนรถประมาณ 6% เพื่อช่วยลดต้นทุนภาระทางการเงินให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือผู้มีอาชีพอิสระ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่มีมาตรฐาน เพื่อนำเงินไปใช้แก้ปัญหาหรือฟื้นฟูกิจการของตัวเองได้ โดยแคมเปญดอกเบี้ยพิเศษดังกล่าวยังสมัครใช้บริการได้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563

การปรับตัวทางธุรกิจรับชีวิตวิถีใหม่:

กลุ่มผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการปรับตัวทางธุรกิจเพื่อให้เข้ากับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New normal) เพราะสังคมยุคใหม่มีการรักษาระยะห่างมากขึ้น พฤติกรรมลูกค้าเริ่มเปลี่ยนไป สำหรับ เงินติดล้อเองมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้นอยู่ก่อน หน้านี้แล้ว ในช่วงโควิดที่ผ่านมา บริษัทฯจึงเปิดให้ลูกค้าสามารถรับบริการผ่าน Application เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมบางอย่าง หรือค้นหาข้อมูลธุรกรรมของตนเองได้บนมือถือโดยไม่ต้องเดินทาง ไปที่สาขา ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบ New normal

ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีจากตัวเลขผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันสูงถึง 100,000 ราย ภายใน 2 เดือนแรกหลังจากที่เปิดใช้งาน เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด พบว่ามีลูกค้าชำระหนี้และซื้อประกันผ่านแอปฯ เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับทั้งสถานการณ์และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที

ภาครัฐต้องช่วยขับเคลื่อน:

ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สถาบันการเงินทั้ง Bank และ Non-bank ขนาดใหญ่ อาจกังวลในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับประชาชน ส่งผลให้เศรษฐกิจระดับฐานรากหรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขาดสภาพคล่อง สิ่งที่รัฐบาลสามารถเข้ามาช่วยได้คือการขยายงบประมาณให้ความช่วยเหลือ และผ่อนปรนเงื่อนไขประกันสินเชื่อของบริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อสร้าง ความมั่นใจให้ภาคเอกชนสามารถปล่อยสินเชื่อเข้าไปในระบบได้ และช่วยให้ประชาชนหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบน้อยลง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเงินติดล้อให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ประกอบการ ที่เป็นกลุ่ม Under-banked ที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยมีจุดประสงค์ให้คนเข้าหาผู้ประกอบการ Non-bank แทนที่จะออกไปกู้นอกระบบ เพราะปัจจุบันสินเชื่อจากธนาคารและสินเชื่อประเภทไม่มีหลักประกันอาจมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้นในช่วงโควิด-19

การลดดอกเบี้ยลงทำให้ผู้ประกอบการ รายย่อย และกลุ่ม Under-banked มีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจได้ดีขึ้น ไม่ต้องค้างชำระหนี้ เพราะการค้างชำระหนี้จะทำให้เกิดผลกระทบกลับมาสู่ผู้ให้บริการสินเชื่อเองด้วย เท่ากับว่า “ถ้าลูกค้าอยู่ได้ ผู้ประกอบการก็อยู่ได้” และดีกว่าการต้องไปกู้หนี้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งจะกลายเป็นวงจรของการเกิดหนี้แบบไม่จบสิ้น และเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยต่อไป

ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองของเงินติดล้อที่ร่วมนำเสนอแนวทางรอดของธุรกิจท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ โควิด-19 โดยมุ่งมั่นให้ทุกชีวิตหมุนต่อได้ สอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์และบริการได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 088-088-0880 เยี่ยมชมข้อมูลเงินติดล้อได้ที่ Facebook Fanpage เงินติดล้อ และเว็บไซต์ www.ngerntidlor.com

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP