28 สิงหาคม 2563 : บริษัท อาม่า โฟน จำกัด ออกมือถือ อาม่า 3G+ (RMA 3G Plus) ด้วยขนาดกะทัดรัดเหมาะมือในการพกพา น้ำหนักเบา ขนาดเพียง 5 ซม. X 11.5 ซม.เน้นปฏิบัติการ SOS ขอความช่วยเหลือผ่านมือถือ เนื่องจาก ปัจจุบันมีทั้งผู้สูงวัยและสตรีทุกวัย จำนวนมากที่ต้องเสียงต่ออันตรายของจากผู้ไม่หวังดี ทั้งประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกายหรือล่วงละเมิดทางเพศ จนถึงขั้นก่ออาชญากรรมซึ่งมีจำนวนทวีคูณมากขึ้น
นายสุรินทร์ อมรชัชวาลกุล ประธานบริหาร บริษัท อาม่า โฟน จำกัด กล่าวว่า “เรายังใช้จุดแข็งของ SOS เป็นจุดขายซึ่งไม่มีค่ายไหนสามารถทำได้เหมือนเรา และจากประสบการณ์ของ SOS โทรแจ้งเหตุด่วน ได้เคยช่วยชีวิตผู้ประสบภัยมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2554 คราวที่ประเทศไทยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในต่างจังหวัด มีผู้ใช้มือถือ อาม่า” ส่งสัญญาณเสียงและโทรหาคนใกล้ชิดเพื่อขอความช่วยเหลือ รับบริจาคอาหารและของใช้จำเป็นจากหน่วยบรรเทาสาธารณภัยที่เข้าไปไม่ถึง และไม่ทราบว่ามีผู้ติดค้างอยู่ในบ้านบางหลังคาเรือน อาม่า” จึงเป็นมือถืออัจฉริยะที่นอกจากจะช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันแล้ว ยังช่วยเหลือผู้ช่วย ผู้สูงวัยและผู้ประสบภัยในยามวิฤตได้เป็นอย่างดี”
“เราได้ทำการสำรวจจากลูกค้ามาในระดับหนึ่งแล้วว่า กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อโทรศัพท์อาม่าไป มักเป็นลูกๆ หลานๆ ที่ห่วงใยพ่อแม่ ซึ่งใช้สมาร์ทโฟนไม่ค่อยถนัด ประกอบกับคนสูงวัยสายตาไม่ดีอยู่แล้ว จึงเลือก “อาม่า” ให้เป็นมือถือสำรองติดตัวไว้ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วยจุดขายที่แป้นตัวเลขมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน กดปุ่มได้ถนัด รวดเร็ว ไม่ต้องคอยสไลด์หน้าจอ และเป็นกลุ่มคนสูงวัยที่อยู่ในต่างจังหวัดมากกว่ากรุงเทพเป็นจำนวนมาก”
นายสุรินทร์ กล่าวเสริม “ที่สำคัญที่สุดคือ ปัจจุบันนี้มีอาชญากรรมเกิดขึ้นทุกรูปแบบ ไม่ใช่เกิดแก่ คนแก่หรือผู้สูงวัยอย่างเดียว แต่เกิดกับสตรีและเด็กทวีคุณมากขึ้น จึงทำให้เรายังคงรักษาเอกลักษณ์จุดขาย ของ SOS เอาไว้ เพราะปุ่มกดขอความช่วยเหลือด่วนจากคนใกล้ตัวนี้ จะส่งถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วจำนวนมากถึง 5 รายชื่อที่บันทึกเบอร์เอาไว้ และด้วยเสียงไซเรนอันดังชัดจากเครื่อง ระบบ SOS จะทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้ยินเสียงจากเครื่องได้ชัดเจน อย่างน้อยๆ ก็ได้รับการช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ทันท่วงที
กลุ่มลูกค้า นอกจากจะเน้นไปที่ผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงวัยแล้ว เราเริ่มเจาะกลุ่มที่เป็นผู้หญิงให้มากขึ้นด้วย อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า อาชญากรรมเกิดถี่มากขึ้น ทำให้เราอยากจะขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าผู้หญิงให้มากขึ้น เนื่องจาก มือถือ”อาม่า” ใช้ง่านคล่องตัว มีน้ำหนักเบา มีปุ่มโทรด่วน (Speed Dial) สำหรับเบอร์โทรที่ต้องใช้งานบ่อยๆ ซึ่งไม่เป็นภาระในเวลาขับรถ ซึ่งเราจะพบได้มากในปัจจุบันที่ผุ้ใช้สมาร์ทโฟน ต้องขับรถไปด้วยและสไลด์มือถือไปด้วย จึงเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายบนท้องถนน ซึ่งเราทำการศึกษาพฤติกรรมมาในระดับหนึ่ง สำหรับผู้สูงวัยได้ให้เหตุผลในการเลือกใช้ “อาม่า“ ซึ่งคาดว่ากลุ่มลูกค้าใหม่นี้ น่าจะโตขึ้นอีกราว 20% ในครึ่งปีหลังนี้”
นายสุรินทร์ กล่าว “หากถามถึงปัญหาในช่วงโควิดนี้ เรียกได้ว่า สวนทางกันเลยทีเดียว ยอดขายของมือถืออาม่า มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มมากขึ้น เพราะเนื่องจากมีกลุ่มคนผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี และล่าสุดเราจำหน่ายให้ดิสทริบิวเตอร์ไปถึง 3,000 เครื่อง แทบจะผลิตไม่ทัน เพราะทางประเทศจีนค่อนข้างขาดแรงงานและมีปัญหาทางด้านไวรัสโควิด-19 ที่ส่งของให้เราล่าช้าไปบ้าง แต่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร แผนการตลาดในอนาคตที่วางไว้ นอกจากจะชูจุดขายที่แข็งแรง คือ SOS ของเราแล้ว และกำลังพัฒนา แอพพลิเคชั่นบางตัวขึ้นมา ซึ่งในเวลานี้ยังไม่สามารถระบุได้ในรายละเอียด แต่ไม่เกินปลายปีนี้แน่นอน”