24 สิงหาคม 2563 : หลังจากไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังไม่มีวัคฉีนโควิด-19 ออกมาอย่างเป็นทางการจากการระบาดของผลกระทบดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการต่างกุมขมับ ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงเกือบติดลบ 10% จากการปิดเมืองเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส ซึ่งก็ถือว่าได้ผลดีมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก แต่ธุรกิจในประเทศก็บอบช้ำไม่น้อย
ทั้งนี้ จากบทเรียนในช่วงปี 2540 ที่ผ่านมาทำให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ก.ล.ต.) ฯลฯ ที่ต่างรวมมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านมาตรการจากรัฐที่ออกมา โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่มีสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ลำบากไม่น้อย ทำให้เกิดการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งขยายเวลาการชำระหนี้ พักชำนะหนี้ 3 หรือ 6 เดือน เพิ่มวงเงินสร้างสภาพคล่อง ฯลฯ ช่วยให้ธุรกิจหลายแห่งมีลมหายใจเพื่อต่อสู้วิกฤตได้พอสมควร แต่มาตรการดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาช่วยเหลือเพียงแค่วันที่ 22 ต.ค.2563 นี้
ขณะที่สถานการไวรัสโควิด-19 แม้ในประเทศจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ประเทศอื่นยังวิกฤต ซึ่งเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีช่วงที่ผ่านมา มาจากการท่องเที่ยวและการส่งออก เมื่อประเทศอื่นไม่ดีขึ้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศเราก็คงไม่กระเตื้องขึ้นมากนัก
ล่าสุด ทางธปท.ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ยังไปไหวให้ไปต่อได้ และรองรับกับมาตราการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ตะครบกำหนดในเดือนต.ค.2563 นี้ ด้วย โดยธปท.ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิด “โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” (โครงการดีอาร์บิส) เริ่ม1ก.ย.2563 เป็นต้นไป
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายรายให้ได้รับการบรรเทาภาระหนี้และให้มีกลไกในการจัดการหนี้กับสถาบันการเงินทุกแห่งได้อย่างบูรณาการ ซึ่งจะช่วยลดเวลาให้สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น ผ่านแนวทางแก้ไขหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ตกลงร่วมกันในรูปแบบมาตรฐาน และการกำหนดบทบาทของเจ้าหนี้หลักในการดูแลลูกหนี้และประสานกับเจ้าหนี้อื่น โดยมุ่งกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจที่มีหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายรายวงเงินรวมกันตั้งแต่ 50-500 ล้านบาท ก่อนขยายไปยังกบุ่มที่มีวงเงินต่ำกว่า 50 ล้านบาทต่อไป
ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นวาระที่สำคัญในท่ามกลางวิกฤตการระบาดโควิด-19 ซึ่งแก้ปัญหา2ช่วงใหญ่ คือ 1.ช่วงเร่งดับไฟ จากเห็นผันผวนตลาดทุนและตลาดเงิน โดยเร่งทำสถานการณ์ให้กลับมาเป็นปกติมากขึ้น เราผ่านช่วงนั้นมาได้ แต่ก็เป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก แต่ของเราคุมได้ดีมากแต่เรายังต้องพึ่งต่างประเทศอยู่ซึ่งแย่กว่าเราและแย่ลง
ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้านั้น ด้านการเงินให้สำคัญดูแลการชำระหนี้กลุ่มรายย่อย เราย้ำมาตลอดในการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ เพราะการระบาดโควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกระยะ คาดว่ามีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า2ปี ถ้าดูรายประเภทอุตสากรรมผลกระทบมรต่างกันมาก บางอันใช้เวลานาน
“ตั้งแต่ก.พ.63 มีโควิด-19 ธปท.เร่งปรับหนี้มาตลอดออกหลายมาตรการ เพื่อเร่งปรับโครงสน้างหนี้ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย เพราะมองว่าจะส่งผลกระทบแรง มองเป็นเรื่องสำคัญ และช่วยธนาคารพาณิชชไม่ให้ตั้งสำรองที่สูงขึ้น และมองว่าในระยะข้างหน้าลูกหนี้มีผลกระทบที่ต่างกัน จะต้องเร่งปรับให้ตรงกลุ่มลูกหนี้หรือเป็นรายๆไป” ดร.วิรไท กล่าว
ขณะที่ฝั่งสมาคมธนาคารไทย ก็พร้อมขานรับมาตรการแบงก์ชาติ เพื่อช่วยลูกค้าภาคธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จเช่นเดียวกัน โดยสนับสนุนโครงการ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” ทุกสถาบันการเงินร่วมแก้ไขปัญหาด้านหนี้สินของลูกค้าอย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จในคราวเดียวกัน ลูกค้าเพียงติดต่อกับสถาบันการเงินที่มีวงเงินกู้สูงสุดหรือสถาบันการเงินที่มีวงเงินกู้รายอื่น โดยสถาบันการเงินจะประสานงาน เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อ 50-500 ล้านบาท สามารถติดต่อเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง เป็นโครงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันการเงินต่างๆ บูรณาการความช่วยเหลือต่อเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือในช่วงที่ผ่านมา
โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับลูกค้าภาคธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายราย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาด้านหนี้สินของลูกค้าอย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จในครั้งเดียวกัน โดยลูกค้าเพียงติดต่อกับสถาบันการเงินที่มีวงเงินกู้เพียงแห่งเดียว หรือสถาบันการเงินที่มีวงเงินกู้แนะนำลูกค้าให้เข้าร่วมโครงการ โดยสถาบันการเงินจะประสานงานกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบตามความหนักเบาของลูกค้าแต่ละราย โดยมีแนวทางในการช่วยเหลือลูกค้าภาคธุรกิจใน 3 มิติคือ
1. การบูรณาการความช่วยเหลือร่วมกันจากทุกสถาบันการเงิน ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาภาระหนี้ได้อย่างรวดเร็ว และเบ็ดเสร็จในคราวเดียว ลดความซ้ำซ้อนในการเรื่องการติดต่อ การจัดส่งเอกสาร และการเจรจาแก้ไขปัญหา โดยได้ข้อยุติร่วมกันจากทุกสถาบันการเงิน
2. ลูกค้าได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ลูกค้าธุรกิจแต่ละรายมีปัจจัยการดำเนินธุรกิจและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน สถาบันการเงินทุกแห่งสามารถร่วมกันพิจารณาและวิเคราะห์ถึง Root Cause ของลูกค้าและหาแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะสมกับลูกค้ารายนั้นๆ ที่สำคัญคือ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดและฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางการช่วยเหลือที่หลากหลาย เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ หาผู้ร่วมทุน ตลอดจนเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้า ซึ่งหลักการช่วยเหลือจะเป็นไปตามความสามารถและบริบทของลูกค้าแต่ละราย
3. โอกาสทางการเงินและทางธุรกิจ ในกรณีที่ลูกค้ามีศักยภาพและแผนธุรกิจที่ชัดเจน โครงการนี้เปิดโอกาสให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน
นายผยง กล่าวว่า ภาคการธนาคารตระหนักถึงภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง และเข้าใจถึงความจำเป็นรีบด่วนในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง และหลายระยะ ซึ่งเชื่อมั่นว่าการช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้โครงการ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” ที่มีกรอบเวลาที่ชัดเจน จะสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้ทันท่วงที โดยสถาบันการเงินจะมีการหารือเพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายต่อไป