WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ทิพยประกันภัย ปรับองคาพยบครั้งใหญ่ ตั้ง “ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ขยายงานทั้งในและต่างประเทศ

21 กรกฎาคม 2563 : ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP เปิดเผยว่า ล่าสุดได้มีการจัดตั้งบริษัท โฮลดิ้ง (Holding Company) ภายใต้ชื่อ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) หรือ TIPH มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 10,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้การสร้างกำไรของการรับประกันภัยลดลงในขณะที่การแข่งขันเพิ่มมากขึ้น

ในลำดับต้น TIPH จะมีการลงทุนขยายฟันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Stategic Allance) การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (Joit Venture) หรือการควบรวมและการซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions) รวมทั้ง เพื่อจำกัดขอบเขตและบริหารความสี่ยงทางธุรกิจอย่างชัดเจน ทั้งธุรกิจประกัยภัยและธุรกิจอื่น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของโครงสร้างการจัดการของธุรกิจแต่ละกลุ่มธุรกิจ

ทั้งนี้ บริษัทโฮลดิ้ง จะเพิ่มทุนเป็น 600 ล้านบาท โดยยังไม่ชำระ และทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของทิพยประกันภัยเพื่อแลกกับหลักทรัพย์แบบ 1 ต่อ 1 คาดใช้เวลา 45 วัน ในการแลกหุ้น โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 1 ก.ย. นี้ และจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นบริษัทโฮลดิ้งจะเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) แทน คาดกระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ หรือไม่เกินไตรมาสแรกปี 2564

สำหรับผู้ถือหุ้นรายเดิมใน TIP จะขึ้นไปอยู่ที่ TIPH โดย TIPH จะถือหุ้น 100% ใน TIP และจะดูแลเรื่องการลงทุนทั้งหมด ซึ่งรายได้ของ TIPH จะมาจากรายได้ของบริษัทลูกต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ได้แก่ ธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย (Non-Life Insurance), ธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย (Life Insurance), ธุรกิจประกันภัยในต่างประเทศ (International Insurance) อาทิ กลุ่มประเทศในอาเซียน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย (Insurance Related) เช่น ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจเฮลท์เทค ธุรกิจสตาร์ทอัพ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการจะทำให้บริษัทฯ สามารถขยายธุรกิจได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio: CAR) และลดข้อจำกัดด้านการลงทุนของบริษัทฯ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

สำหรับการลงทุนด้วยโฮลดิ้งมีความยืดหยุ่นกว่าการลงทุนโดยบริษัทประกันวินาศภัยที่ลงทุนได้เพียง 10% ในบริษัทนั้น จึงทำให้มีสิทธิเข้าไปบริหารบริษัทลูกต่างๆ ได้ ซึ่งบริษัทโฮลดิ้งมีโอกาสสร้างผลกำไรและผลตอบแทนผู้ถือหุ้นที่มากขึ้นในอนาคต จากการลงทุนที่มีความหลากหลาย ทำให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้นด้วยหากธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่ดี ยังมีขาธุรกิจอื่นๆ ที่ผยุงไว้” ดร.สมพร กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นที่ตัดสินใจแลกหุ้นของ บมจ.ทิพยประกันภัย เป็นหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งส์ จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานของ บมจ. ทิพยประกันภัย ในฐานะบริษัทย่อยของบริษัทโฮลดิ้งส์ รวมทั้งโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงาน การลงทุนของบริษัท โฮลดิ้งส์ในอนาคต โดยจะมีการลงทุนในธุรกิจประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และธุรกิจอื่นที่ส่งเสริมธุรกิจประกันภัยที่มีผลตอบแทนสูง

แต่ถ้าผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้แลกหุ้นจะขาดสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของ บมจ.ทิพยประกันภัย รวมถึงยังต้องเสียภาษีจากกำไรที่เกิดจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) เมื่อมีการซื้อขาย เนื่องจากหุ้นของ บมจ.ทิพยประกันภัย จะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายหลังการปรับโครงสร้างเสร็จสิ้น

ดร.สมพร กล่าวต่อไปว่า ตนยังนั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) TIPH รวมทั้งการดูแลธุรกิจประกันภัย ควบคู่กัน ส่วนการบริหารงานส่วนอื่นๆ จะมีการสรรหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมงาน ทั้งนี้ บริษัทโฮลดิ้งส์จะดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในของตนเอง โดยการนำระบบควบคุมภายในและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ มาปรับใช้ เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการและการบริหารงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทโฮลดิ้งส์ยังมีนโยบายและกลไกการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยจะส่งบุคคลเข้าไปเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทย่อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยนั้น ๆ

ทั้งนี้ สัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TIP ประกอบด้วย บริษัท ปตท จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ถือหุ้น 13.33% ธนาคารออมสิน 11.20% ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB 10% บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) 9.99% และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 7.37% เป็นต้น สัดส่วผู้ถือหุ้นรายย่อย( Free Float ) กว่า 54% ตามลำดับ

ประกันภัย ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP