WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
จับได้แล้ว!!! ตัวการทำค่าบาทแข็ง

8 มิถุนายน 2563 : ในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทดูจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงระบาดของไวรัสโควิด-19 จำนวนนักท่องเที่ยวหดหาย แม้แต่เงินลงทุนต่างชาติ(ฟันด์โฟวล์)ก็ทยอยออกจากตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง ยิ่งภาคส่งออกไม่ต้องพูดถึง หลังจากสหรัฐฯประกาศสงครามการค้ากับจีน รวมถึงปัจจัยลบอื่นๆ ส่งผลให้ออกไทยดูกระท่อนกระแท่นมาก ทำให้ค่าเงินที่เคยแข็งค่ามากกับมาอ่อนค่าได้อีกครั้ง จนกระทั้งช่วงสัปดาห์ก่อน

ปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทไทยกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง!

ทางด้านผู้คุมด้านเสถียรภาพทางการเงินของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาย้ำเตือนนักลงทุนก่อนตัดสินใจ ชี้แจงถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง เป็นผลมาจากแนวโน้มสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศไทยควบคุมได้ดีมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มหันกลับมาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น หลังจากที่นำเงินออกไปก่อนหน้านี้ รวมถึงราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีส่วนสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า

โดย นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์โควิด 19 ของไทยดีกว่าอีกหลายประเทศ และตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2563 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ ซึ่ง ธปท. กังวลว่าการแข็งค่าเร็วของเงินบาทอาจไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ยังเปราะบาง หลายภาคเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อย่างรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของไตรมาส 2/2563 ในระยะต่อไป

ทั้งนี้ ราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีส่วนสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า ซึ่ง ธปท.จะตรวจสอบการทำธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน

นายเมธี กล่าวว่า แนวโน้มสถานการณ์โควิด 19 ในไทยและภูมิภาคที่ปรับดีขึ้น อาจทำให้ค่าเงินสกุลเอเชียและเงินบาทเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนบางกลุ่มที่ใช้ไทยเป็นแหล่งพักเงินระยะสั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ ธปท. ไม่พึงประสงค์ และ ธปท. พร้อมพิจารณาใช้มาตรการที่จำเป็น เพื่อไม่ให้การแข็งค่าของเงินบาทซ้ำเติมความเปราะบางของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ (8-12 มิ.ย.63) จะเป็นอยย่างไรนั้น ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ได้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.30-31.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมนโยบายการเงิน ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึง dot plots ชุดใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาสินค้านำเข้า/ส่งออกเดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนมิ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ท่าทีระหว่างสหรัฐฯ-จีน และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ค. ของจีน อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดค้าปลีกด้วยเช่นกัน

ส่วนเงินบาทแตะระดับแข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นการแข็งค่ามากสุดในรอบกว่า 2 เดือนครึ่งใกล้ๆ ระดับ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ประกอบกับน่าจะมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น แม้ว่าธปท. ได้ออกมาส่งสัญญาณดูแลเงินบาทให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน

ขณะที่ฝั่งเงินดอลลาร์ฯ เองก็ไม่ได้รับแรงหนุนมากนักจากตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงน้อยกว่าที่คาดในเดือนพ.ค. เนื่องจากตลาดยังรอประเมินสัญญาณของตลาดแรงงานสหรัฐฯ จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ในวันศุกร์ (5 มิ.ย.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.46 เทียบกับระดับ 31.81 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 พ.ค.)

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP