WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม 2567 ติดต่อเรา
สภาพคล่องมันล้น…ดอกเบี้ยเงินฝากจึงต่ำติดดิน!!!

29 สิงหาคม 2559 : หากพูดถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนน่าใจหาย หลายคนไม่คิดว่าจะกลับมาดีได้ขนาดนี้ หลังจากสภาพัฒน์ฯประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาสสองของปีออกมาดีเกินคาดที่ 3.5% และยังมองGDP ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ยังเป็นขาขึ้น แต่ขาขึ้นของ GPD ก็ไม่ได้หมายความว่า ยอดปล่อยสินเชื่อในอุตสาหกรรมจะปรับตัวดีขึ้นมากมายนักนะ เพราะธนาคารพาณิชย์ยังคงเฝ้าระวังการปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุม เพื่อรักษาคุณภาพหนี้ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นจากที่ควบคุมไว้

แน่นอนว่าการดึงเงินฝากเข้าระบบด้วยการส่งอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจก็อาจจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะตอนนี้สภาพคล่องของแต่ละธนาคารก็ล้นตลิ่งเหมือนน้ำหลากในฤดูนี้ เมื่อสภาพคล่องล้น สินเชื่อก็ปล่อยไม่ได้มาก จึงไม่จำเป็นต้องดึงเงินฝากเข้ามาระบบแบงก์ให้เป็นภาระต้นทุนก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดอยู่ในระดับต่ำด้วยแล้วยิ่งไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ก็มีบางธนาคารที่สภาพคล่องล้นแต่ก็มีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.3% แต่หากอ่านลึกเข้าไปในรายละเอียด ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ออกมาเพื่อดึงเงินฝากเข้าแบงก์ แต่ต้องการกระตุ้นการขายประกันผ่านธนาคารเสียมากกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจึงเป็นในลักษณะเงินฝากควบประกันที่มีเงื่อนไข

หากย้อนกลับไปดูปัจจัยในอดีต กูรูหลายต่อหลายคนต่างให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจ ต่างสรุปประเด็นดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสัญญาณบวกต่อเนื่องจากเครื่องบ่งชี้ด้านการบริโภค และแรงสนับสนุนจากแผนการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ คงจะเพื่อให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ไว้ตามเดิมในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อเก็บกระสุนในการดำเนินนโยบายเงิน หรือ Policy Space ไว้ใช้ในยามที่จำเป็น เพื่อรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีอยู่ตลอดช่วงครึ่งหลังของปี

777

อาทิ ความเสี่ยงจาก BREXIT ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของธนาคารอิตาลี ปัญหาหนี้ภาคธุรกิจและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ตลอดจนการชะงักงันรอบใหม่ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ด้วยพัฒนาการของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ปรับดีขึ้น อาจจะส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กลับเข้าสู่จังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในช่วงปลายปี ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางหลายๆ ประเทศ รวมถึงไทย ต้องชั่งน้ำหนักให้กับหลายๆ ปัจจัยมากขึ้นในการกำหนดจุดยืนของนโยบายการเงินให้มีความเหมาะสมกับเศรษฐกิจ และภาพเงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วงเวลานั้น

ส่วนเรื่องสภาพคล่องในอุตสาหกรรมนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำข้อมูลเกี่ยวกับ สินเชื่อ เงินฝาก และสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ 14 แห่ง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2559 พร้อมประเมินแนวโน้มในระยะถัดไปไว้อย่างน่าสนใจว่า เงินให้สินเชื่อสุทธิปรับลดลง 9.6 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อน สู่ระดับ 10.42 ล้านบาทจากการหดตัวของสินเชื่อในทุกกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตามการชำระคืนสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อภาครัฐ สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายใหญ่ และสินเชื่อเช่าซื้อ ส่งผลให้ตัวเลขภาพรวมสินเชื่อทั้งระบบเติบโตชะลอลงมาที่ระดับ 2.02% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมาและ -0.46% เมื่อเทียบปีก่อนหน้า

ขณะที่เงินฝากยังคงลดลงเล็กน้อย 1.5 พันล้านบาท จากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ 11.225 ล้านล้านบาท โดยมีผลกระทบจากการครบกำหนดของเงินฝากประจำ และเงินฝากประจำแบบพิเศษในการธนาคาร อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และสิ้นปีก่อนเงินฝากยังขยายตัว 2.27% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา และ 0.26% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากผลของฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในปีก่อน

ส่วนสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เดือนกรกฎาคม 2559 ผ่อนคลายลงตามการปรับลงของสินเชื่อ ที่มีสัดส่วนมากกว่าการไหลออกของเงินฝากในระบบโดยสัดส่วนเงินให้สินเชื่อรวมต่อเงินฝากรวมกับตราสารหนี้ ที่ออกเงินกู้ยืมปรับลดลงสู่ระดับ 90.73% เทียบกับระดับ 91.41% ในเดือนมิถุนายน สอดคล้องกับทิศทางของเครื่องชี้สภาพทองอีกตัวหนึ่งคือ สัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อสินทรัพย์รวมมซึ่งปรับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 20.79% จากระดับ 20.03% ในเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมีมุมมองที่ค่อนข้างระมัดระวังต่อทิศทางการเติบโตของสินเชื่อในระยะถัดไปที่อาจเผชิญความท้าทายมากขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อที่เคยประเมินไว้ที่ระดับ 4.0% โดยต้องจับตาการชำระคืนสินเชื่อของภาครัฐและประกอบการรายใหญ่ซึ่งที่ผ่านมาได้ชำระคืนสินเชื่ออย่างต่อเนื่องหลังจากส่วนหนึ่งได้หันไประดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ทำให้ ยังไม่เห็นการเติบโตของสินเชื่อรวมในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี

อย่างไรก็ตามภาพการเติบโตของสินเชื่อที่ช้ากว่าคงทำให้แนวทางการบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ มุ่งประเด็นไปที่การบริหารดอกเบี้ยจ่ายให้เหมาะสมและการรักษาฐานลูกค้าเป็นหลักท่ามกลาง ปริมาณสภาพคล่องในระบบธนาคารที่อย่างอื่นต่อการดำเนินธุรกิจล่ะในระยะถัดไปซึ่งทำให้อัตราการเติบโตของเงินฝาก มีโอกาสชะลอลงสอดคล้องกับการเติบโตของเงินให้สินเชื่อที่ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สำหรับประเด็นการปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลงจาก 25 ล้านบาท 15 ล้านบาทต่อรายคู่ฝาก ต่อสถาบันการเงิน ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา คาดว่า จะมีผลกระทบค่อนข้างจำกัดต่อผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และสภาพของในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากวงเงินคุ้มครองเงินฝากที่ระดับ 15 ล้านบาท ยังสามารถครอบคลุมผู้ฝากเงินรายย่อยที่เป็นกลุ่มลูกค้าใหญ่ในผลิตภัณฑ์เงินฝากได้ทั้งหมด หรือครอบคลุมจำนวนบัญชีเงินฝากกว่า 99.9% ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ผู้ฝากเงินบางส่วน

โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่นคงสูงอาจมีการปรับตัวล่วงหน้าไปแล้ว ด้วยการโยกย้ายเงินออมบางส่วน ไปยังสถาบันการเงินอื่นหรือสู่ผลิตภัณฑ์การเงินอื่นเพื่อแสวงหาผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ดังนั้น จึงไม่น่าจะส่งผลอย่างนี้นัยยะสำคัญต่อสถานการณ์สภาพคล่องในระบบธนาคารท่ามกลางความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทย ที่อยู่ในระดับสูงและสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่คงเริ่มมีภาพการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นในระยะที่เหลือของปี logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP