WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
กลุ่มแบงก์ปีนี้หืดขึ้นคอ??

8 ตุลาคม 2562 : จบไตรมาส3/2562 ไปหมาดๆสำหรับผลประกอบการกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลายคงเริ่มกังวลใจ ว่า ผลประกอบการในงวดนี้อาจจะไม่ดีอย่างที่คิด หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (อาร์พี1วัน) ลง0.25% ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ดอกเบี้ยฯอยู่ที่ระดับ 1.50% จากเดิมที่ 1.75% หลังจากที่ธปท.นำร่องลดดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์ต่างพากันลดดอกเบี้ยตาม ส่วนใหญ่จะเป็นการลดดอกเบี้ยฝั่งสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) เป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยผู้ประกอบการในภาวะเศรษฐกิจไม่คงตัว ขณะที่ธปท.ดอกเบี้ยเพื่อป้องกันค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลังจากธนาคารพาณิชย์ยอมหั่นดอกเบี้ยสินเชื่อ SME ไป ทำให้รายได้ดอกเบี้ยของธนาคารในไตรมาส 3/2562 มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ผลประกอบการโดยรวมของธนาคารๆลดลงตามไปด้วย ดีทีว่าผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ธปท.ยัฝคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมที่ 1.50% ไม่อย่างงั้นธนาคารหลายแหล่งอาจมีกุมขมับกันแน่นอน คราวนี้ก็ต้องมาลุ้นกันว่า การประชุมอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ ธปท.จะหั่นดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่ ซึ่งนายแบงก์ต่างพากันกันวลใจพอสมควร

ล่าสุด นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ยอมรับว่า ผลประกอบการในไตรมาส 3/2562 ได้รับผลกระทบจากการการรับลดอัตราดอกเบี้ยของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ช่วยธุรกิจเอสเอ็มอี แต่รายได้ของธนาคารก็ลดลงตามดอกเบี้ยเช่น แต่ธนาคารไม่สามารถประเมินผลกระทบจากกรณีดังกล่าวได้ในขณะนี้ แต่เชื่อว่าผลประกอบการไตรมาส 4 /2562 จะกลับมาดีเหมือนเดิมได้ หากตลาดไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก และคาดหวังว่าการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก

ขณะที่ทางฝั่ง นายเดชา ตุลานันท์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BBL ก็ยอมรับว่า รายได้ดอกเบี้ยในไตรมาส 3/2562 ปรับตัวลดลง หลังจากก่อนหน้านี้ธนาคารลดดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งกระทบต่อผลการดำเนินทันที แต่ธนาคารก็มีแนวทางหารายได้อย่างอื่นมาทดแทน เช่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือ การเปิดบริการใหม่ๆเพิ่มเติม สำหรับแนวโน้มไตรมาส 4/62 ไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะจากภายนอกทั้ง Brexit และ สงครามการค้า

ส่วนการประเมินภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อรวมในอุตสาหกรรมปีนี้ กูรูทางการเงินต่างมองว่า สินเชื่อกลุ่มแบงก์ปีนี้โตลดลงเล็กน้อยจากที่มองไว้เมื่อต้นปี โดย นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย กลุ่มงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บริษัทในเครือ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดคาดการณ์ภาพรวมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ปีนี้ลดลงจาก 4.5% (คิดเป็นมูลค่าที่ 13 ล้านล้านบาท) ปรับใหม่เป็น4% (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 12.9ล้านล้านบาท)

โดยไตรมาส 2 ของปีนี้สินเชื่อกลุ่มดังกล่าวเติบโต 4.2% คิดเป็นมูลค่าที่ 12.6 ล้านบาท ส่วนในช่วงไตรมาส3 และไตรมาส4 ของปีนี้ มีแนวโน้มการเติบโตชะลอตัวลง หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 4% ต่อไตรมาส

ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้สินเชื่อในระบบชะลอตัวลง มาจากปีนี้เศรษฐกิจไทยเติบโตการชะลอตัวลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ในส่วนของสินเชื่อธุรกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจเอสเอ็มอี มีความจำเป็นในการใช้สินเชื่อเงินน้อยลง ทำให้มีการเบิกใช้วงเงินสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนน้อยลงตามไปด้วย อีกทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีบริษัทในเครือจำนวนมาก มีช่องทางในการระดมเงินด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ โดยใช้วิธีการออกหุ้นกู้แทน คาดว่า ทั้งปี 2562 จะมีการออกหุ้นกู้ระยะยาว อายุมากกว่า 1 ปี ในระบบประมาณ 9 แสนล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท และมีผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ

สำหรับภาพรวมสินเชื่อธุรกิจสิ้นปีนี้ คาดว่า เติบโตลดลงเหลือ2.5% จากเดิมคาดไว้ที่เติบโต 3% โดย ณ ไตรมาส 2 ของปีนี้เติบโตเพียง 1.8%

นางสาวกาญจนา กล่าวอีกว่า ขณะที่ภาพรวมสินเชื่อรายย่อยสิ้นปีนี้ ยังคงคาดว่า เติบโต 6.5% ตามเดิม หรือลดลงจาก ณ ไตรมาส 2 ของปีนี้ เติบโต 9.3% แยกเป็นสินเชื่อเช่าซื้อ เติบโต 10.2% สิ้นปีนี้เติบโตลดลงเหลือ 8% ,สินเชื่อบ้าน เติบโต 7.8% สิ้นปีนี้เติบโตลดลงเหลือ 4% , สินเชื่อบัตรเครดิต เติบโต 9.5% สิ้นปีนี้เติบโตลดลงเหลือ 7% และสินเชื่อบุคคลทั้งมีและไม่มีหลักประกัน เติบโต 12.1% สิ้นปีนี้เติบโตลดลงเหลือ 10.5% ซึ่งเป็นการเติบโตลดลงจากฐานสูงปีก่อน โดยเฉพาะสินเชื่อและรถยนต์ ที่มีการเร่งกำลังซื้อไปล่วงหน้าต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีก่อน ทำให้ความต้องการสินเชื่อดังกล่าวถูกซึมซับไปล่วงหน้าไปค่อนข้างมากแล้ว และทางการมีมาตรการควบคุมในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

ทางด้านภาพรวมหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในระบบธนาคารพาณิชย์ ยังต้องติดตามหนี้เสียสินเชื่อเอสเอ็มอีว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ หากเศรษฐกิจไม่ได้เลวร้ายไปมากกว่านี้เชื่อสถาบันการเงิน น่าจะยังดูแลประคองตัวไปได้ ด้วยการบริหารจัดการตัดขายหนี้เสีย เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงปลายปี หรือลูกค้าสามารถเลือกรีไฟแนนซ์ได้เป้าหมาย เนื่องจาก ในช่วงไตรมาส3 ของปีนี้ เริ่มพบว่า กลุ่ม เอสเอ็มอีมีการไหลลงมาเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้ภาพรวม NPL ในช่วงนี้อยู่ที่ระดับ 2.97% แต่ถือว่า NPL ขยับขึ้นมาที่จุดสูงสุดเดียวกับในช่วงไตรมาส3ปี2560 หรือยังคงเพิ่มขึ้นหลังจากไตรมาส2ของปีนี้ อยู่ที่ 2.95%

และในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ คาดว่า ระดับหนี้เสียยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แต่ยังเชื่อว่า สถาบันการเงิน ต้องมีการบริหารจัดหารตัดขายหนี้เสียออกไป เพื่อบริหารเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อให้เติบโตตามแผน น่าจะทำให้สถานการณ์หนี้เสียน่าคุมได้ ทำให้ยังมองว่า NPL สิ้นปีนี้น่าลดลงมาอยู่ระดับ 3% หรือต่ำกว่า 3% ในสิ้นปีนี้ จากเดิมคาด NPL ไว้ที่ 2.97%

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP