1 สิงหาคม 2559 : สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดตั้ง Italian-Thai Business Forum เมื่อปีที่ผ่านมา (2558) โดยเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย H.E. Mr. Francesco Saverio Nisio และประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย นายอิสระ ว่องกุศลกิจ เล็งเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจของทั้งสองประเทศ จึงนำภาคเอกชนรายใหญ่ (Leading business sector) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูง (CEO) ให้มีโอกาสและช่องทางพบปะกัน เพื่อสร้างเครือข่ายและต่อยอดทางธุรกิจระหว่างกัน (Networking)
จุดประสงค์หลักของ forum เพื่อสนับสนุนให้บริษัทหลักชั้นนำต่างๆ ได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกันและสามารถต่อยอดให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและช่องทางในแง่ของการค้าการลงทุน trade/investment และสามารถ ต่อยอดขยายธุรกิจต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา (2558) การประชุมครั้งทื่ 1 ได้จัดขึ้นที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2558 ซึ่งตรงกับช่วงที่มีการจัดงาน Expo Milan 2015 โดยการประชุมครั้งที่ 1 ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง มีบริษัทไทยเข้าร่วม 10 ราย และ อิตาลี 13 ราย และได้มีการพบปะพูดคุยเจรจาทางธุรกิจสืบเนื่องมาจนถึงวันนี้ อาทิเช่น บริษัท CNH และบริษัทมิตรผลได้มีการเจรจาอย่าต่อเนื่องจากการประชุมที่ มิลาน
เนื่องจาก กลุ่ม CNH อิตาลี มีธุรกิจ จักรกลทางการเกษตร ที่จะสามารถนำมาพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ (Mechanization) เช่น รถตัดอ้อยในอุสหกรรมน้ำตาล ในอนาคตอันใกล้ ถ้าเราต้องใช้รถตัดแทนแรงงานในภาคเกษตรที่หายากในปัจจุปัน ถ้าครึ่งหนึ่ง (50%) ของการปลูกอ้อยมาใช้รถตัดอ้อย (ประเทศไทยปลูกอ้อยประมาณ 100 ล้านตันต่อปี) จะต้องมีความต้องการรถตัดถึง 2,500 คัน รถเสริม (bins operated) อีก 7,500 คัน
นอกจากความต้องการรถตัดแล้ว บุคลากรที่ต้องพัฒนาเป็น คนขับ ช่างซ่อมบำรุงอีกจำนวนมากกว่า 10,000 อัตรา ทั้งนี้ก็เป็นโอกาสที่ CHN เข้ามาร่วมทุนจัดตั้งศูยน์การผลิตและบริการ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังไปสู่ภูมิภาคการเกษตรในอาเซียนและลุ่มน้ำโขง CLMV ได้ในอนาคต
ล่าสุด ในปีนี้ 2559 ฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพต้อนรับจัดประชุม Italian Thai Business Forum ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ที่ ปารดี รีสอร์ท เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ปัจจุบัน มีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 30 บริษัท บริษัทอิตาลี 13 บริษัท บริษัทไทย 17 บริษัท
ด้วยการลงทุนของไทยในอิตาลี ยังมีไม่มากนัก ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัล เป็น 1 ในนักลงทุนไทย ที่ได้เข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้า ลา รีนาเซนเต (La Rinascente) ของอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนของคนไทยที่สำคัญในอิตาลี และได้รับการยอมรับจากชาวอิตาลี นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนไทยที่สำคัญ เช่น บริษัทเกทเวย์ คอนเทนเนอร์ ไลน์ (ในสาขาด้านการขนส่ง) และบริษัทไลอ้อน ไทร์ส (ผลิตภัณฑ์ยาง)
ข้อมูลจาก BOI พบว่า ตั้งแต่ปี 2530 จนถึงปัจจุบันการลงทุนของอิตาลีในไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 66 โครงการ อาทิเช่น บริษัท Ducati ที่จัดตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ใน จ. ระยอง บริษัท CNH ที่นำเข้าเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตร บริษัท คาวันญ่า (Cavagna) ที่จัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบแก๊สและพลังงาน เป็นต้น
ปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้ง India – Thai Business Forum ซึ่งการประชุมครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นที่อินเดีย เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในโอกาสที่ท่านนายกรัฐมนตรีฯ เยือนอินเดีย และกำลังมีแผนการจัดตั้ง CLMVT Business Forum ซึ่งประกอบไปด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนามและไทย ที่จะมีการประชุม ที่เวียงจันทร์อีกด้วย
อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและหดตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ครึ่งปีแรกลดลงไป 2% แต่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นไปอย่างเปราะบาง และมีความไม่แน่นอนสูง รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรและน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายนยังคงหดตัวที่ร้อยละ 0.1 รวม 6 เดือนแรกของปี 2559 หดตัวร้อยละ 1.6 แต่คาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3-3.5%
ส่วนสถานการณ์ในตลาดส่งออกสำคัญเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และประเทศสำคัญในเอเชียใต้การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์และวัตถุดิบอุตสาหกรรมสำคัญที่มีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้ง ราคาสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามการปรับตัวของราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้คาดว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะปรับตัวดีขึ้นนอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์การส่งออกของโลกแล้ว ถือว่าไทยยังอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับหลายประเทศ โดยมีอัตราการส่งออกอยู่ในกลุ่มที่หดตัวต่ำที่สุดของโลก อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งตลาดสูงขึ้นในเกือบทุกตลาด
ทางด้าน ฯพณฯ ฟรานเซสโก ซาเวริโอ นิซิโอ เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย กล่าวว่า ความเป็นมาตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้ามาไทยอยากจะทำ เพราะไทยอิตาลี่มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกัน เช่น อาหาร ความสัมพันธ์ทางครอบครัว และความสนุกสนานกิจกรรม ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่สำคัญ นอกเหนือจากนั้น ยังไม่เพียงพอทั้ง 2 ประเทศไปได้ไกลกว่านี้
นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปอิตาลี่เพิ่มขึ้น 2 เท่าภายใน 5 ปี และนักท่องเที่ยวอิตตาลี่ก็เข้ามาในประเทศไทยปีถึง 2.5 แสนคน ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยเศรษฐกิจหมุนเวียนในหลายๆ คือ อาหาร เฟชั่น ดีไซด์ เคมิคัล ยา ยาง และอาหารแช่แข็ง ธุรกิจประกัน ก่อสร้าง ยาง น้ำตาล รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมภาคการเงิน เช่น บริษัท เจนเนอรารี่ประกันชีวิต เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมามีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1% และคาดว่าปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
ขณะเดียวกัน นางบุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานร่วมอิตาเลี่ยน-ไทย บิซิเนส ฟอรั่ม ประจำปี 2559 กล่าวว่า กลุ่มเซ็นทรัลเข้าซื้อกิจการ “ลา รีนาเซนเต” (la Rinascente) ห้างสรรพสินค้าของอิตาลี ด้วยมูลค่า 260 ล้านยูโร หรือราว 10,000 ล้านบาท ในปี 2554 ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุด รวมถึงมีสถาปัตยกรรม อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์โดยสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่สาขามิลาน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ขณะที่สาขาในเมืองอื่นส่วนใหญ่เป็นคนอิตาลี
การลงทุนของกลุ่มเซ็นทรัลนี้ จะเป็นสปริงบอร์ดที่ทำให้นักธุรกิจจากประเทศไทยมีโอกาสในขยายธุรกิจในต่างประเทศได้เร็วขึ้น ในปี 2558 ห้างสรรพสินค้า ลารีนาเชนเต้ได้ให้ความร่วมมือแก่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประจำเมืองมิลาน จัดกิจกรรมเทศกาลอาหารไทย เป็นงานคู่ขนานกับงาน “World Expo Milano 2015” โดยมีการส่งเสริมการจำหน่ายและภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทย เป็นครั้งแรกในสาธารณรัฐอิตาลี เป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญเพื่อการยกระดับธุรกิจอาหารไทยขึ้นสู่เวทีโลก
ในปี 2559 แบรนด์ SIRIVANNAVARI (สิริวัณณวรี) ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ได้ทรงเลือกเปิด POP UP สโตร์ ที่ห้างสรรพสินค้าลา รีนาเชนเต ณ กรุงมิลาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ห้างสรรพสินค้าลา รีนาเชนเต ที่บริหารงานโดยคนไทย ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการ เผยแพร่คอลเลคชั่นแห่งแฟชั่นไทยสู่เมืองแฟชั่นระดับโลก
อีกทั้ง ห้างสรรพสินค้าลารีนาเชนเต คว้ารางวัล “ห้างสรรพสินค้าที่ดีที่สุดในโลก” (The Best Department Store in the World 2016 Award) จาก Global Department Store Summit (GDSS) ณ เมืองซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ประเด็นที่เป็นปัญหาขณะนี้ คือเรื่องการศึกษาของไทย เรื่องแรงงานฝีมือ การพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ไทยสามารถต่อยอดการประชุมนี้ กับบริษัทต่างๆ ในอิตาลี เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการส่งเสริมทักษะขั้นสูง (high skills) และความสามารถในด้านการพัฒนา ยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพ (talent) ของอิตาลี รวมไปถึง การพัฒนาเครื่องจักรหรือการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ร่วมด้วย และการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2017 ที่ประเทศอิตาลี