25 กรกฎาคม 2562 : ด้วยความมุ่งมั่นของทีเอ็มบี ที่จะ “ให้คืน” กลับสู่สังคมอย่างยั่งยืน จากโครงการ ไฟ-ฟ้า (FAI-FAH) จุดประกายเยาวชนและชุมชน ผลักดันให้เกิดเป็นพลังแห่งการให้ของอาสาสมัครทีเอ็มบีทั่วประเทศกับกิจกรรม “เปลี่ยนชุมชนเพื่อความยั่งยืน” โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าไปในชุมชนเพื่อสำรวจปัญหาต่างๆ จุดประกายให้คนในชุมชนออกมาช่วยกัน “เปลี่ยน” ร่วมกับทีมอาสาสมัคร ช่วยกันคิด วางแผน และกำหนดแนวทางในการ “เปลี่ยน” เพื่อให้เหมาะกับชุมชน หรือตอบสนองความต้องการของชุมชนนั้น ในเวลา 3 เดือน
โครงการ “พี่อาสาสอนน้องเพื่องานขายให้ยั่งยืน” โรงเรียนโสตศึกษา จ.อุดรธานี เป็นหนึ่งในกิจกรรม “ให้คืน” ที่ทีมอาสาทีเอ็มบีสร้างสรรค์มาตอบโจทย์ชุมชนเพี่อเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเข้าไปให้ความรู้และช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งจัดอบรมให้นักเรียน ครู มีความรู้การเป็นผู้ประกอบการ จัดทำสื่อการเรียนรู้เรื่องการตลาดและการทำธุรกิจสำหรับผู้พิการทางการได้ยินเพื่อให้โรงเรียนสามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้
นางสาวสายสุนีย์ คำมูล ผู้จัดการเขตธุรกิจสาขา อุดรธานี และหัวหน้าโครงการ เล่าว่า ได้เข้ามาสำรวจโรงเรียนพบว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถผลิตสินค้าจากวัตถุดิบท้องถิ่นได้อยู่แล้ว นั่นคือ ผงแกงอ่อม ผงขนมจีนผักชีลาว และอีกหลายผลิตภัณฑ์ แต่ยังไม่สามารถนำมาจำหน่ายในตลาดได้ ทำให้ไม่สามารถสร้างรายได้ให้โรงเรียนได้ ซึ่งปัญหาสำคัญเกิดจากไม่มีมาตรฐาน อย. รับรอง แม้โรงเรียนมีความพยายามขอ อย. มาตั้งแต่ปี 2558 แต่ไม่สำเร็จ ทีมอาสาฯ จึงเข้ามาช่วยในจุดนี้ก่อน และช่วยดูเรื่องความพร้อมในด้านต่างๆ รวมทั้งเอกสารในการยื่นขอ อย. จนในที่สุดผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนได้รับมาตรฐาน อย. แล้ว
เมื่อปลดล็อคเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้แล้ว ก้าวต่อมาคือ ช่องทางการทำตลาด ซึ่งต่อยอดด้วยการทำคลิป สื่อการสอนเกี่ยวกับช่องทางการจำหน่ายสู่ตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาสามารถนำรายได้มาสู่โรงเรียนและน้องๆ จนถึงวันนี้ได้เห็นรอยยิ้มของทุกคน จากการเข้ามาสานฝันให้สำเร็จในระดับหนึ่ง ที่ได้เห็นสินค้าถูกต่อยอดนำไปสู่ตลาดได้มากกว่าแค่สอนให้เด็กเรียนรู้แล้วจบอยู่ในโรงเรียน
“เราคาดหวังว่าน้องๆ ที่มีความรู้ มีปัญญาภูมิชาวบ้าน รู้จักผลิตสินค้าแล้ว เมื่อจบออกไปหรือยังเรียนอยู่ รวมทั้งคุณครู จะนำสิ่งที่ทีมอาสาทีเอ็มบีแนะนำไปสร้างรายได้ให้ครอบครัวมีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และมีการต่อยอดพัฒนาส่งต่อรุ่นต่อรุ่นไปเรื่อยๆ ซึ่งที่นี่มีจุดเด่นเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้าน มีความรู้เรื่องการผลิตอยู่แล้ว เพียงแค่ไม่รู้ว่าต้องนำสินค้าไปวางขายที่ไหน ติดต่ออย่างไร ทำอย่างไรให้สินค้าผ่านมาตรฐาน อย. รวมทั้งทำให้คนรู้จักสินค้า จนนำรายได้มาสู่โรงเรียนและชุมชน” การทำงานร่วมกันของพนักงานทีเอ็มบีนั้น ถือเป็นความโชคดีที่ทุกคนมองเห็นในจุดเดียวกันคือ อยากให้องค์ความรู้กับโรงเรียน จึง
ร่วมมือร่วมใจกันทำงานตั้งแต่เริ่มสำรวจ นัดทำกิจกรรม เตรียมองค์ความรู้เพื่อให้คำแนะนำกับน้องๆ และคุณครู ซึ่งเมื่อได้เข้ามาทำกิจกรรมกับน้องๆ แม้บางครั้งเขาอาจจะรับรู้สิ่งที่เราอยากสื่อสารไม่ได้มาก แต่สิ่งหนึ่งที่รับรู้ได้เลยคือ น้องๆ มีความสุขมาก ทำให้ทีมอาสาฯ ทุกคนรู้สึกอิ่มใจและไม่เหนื่อยกับการทุ่มเททำงาน
น.ส.เชาวนี-นาโควงศ์
นางสาวเชาวนี นาโควงศ์ และ นางสาวอนัญญา บัวเทิง คุณครูโรงเรียนโสตศึกษา จ.อุดรธานี กล่าวว่า งานสวนพฤกษศาสตร์นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โดยต้องการสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณ ซึ่งโรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการเมื่อปี 2544 และเลือก “ชะพลู” เป็นพืชพื้นถิ่นในการศึกษาเชิงลึกตามข้อกำหนดของโครงการ เพราะเป็นพืชปลูกง่าย มีประโยชน์เยอะ คนอีสานชอบรับประทาน ทำให้เชื่อมกับชุมชนและสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นในเรื่องของอาหาร ด้วยคนส่วนใหญ่ชื่นชอบ “แกงอ่อม” ที่มีส่วนประกอบของชะพลู จึงนำมาต่อยอดเพื่อทำให้ชุมชนได้ประโยชน์จากการทำผลิตภัณฑ์อาหาร นั่นคือ คนอื่นได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ของเราด้วย จึงเป็นที่มาของ “ผงแกงอ่อม” และ “ผงขนมจีนผักชีลาว”
น.ส.อนัญญา บัวเทิง
ภัณฑ์ให้เด็กที่ไม่มีโอกาสได้ยินเสียงเหล่านี้สามารถนำไปเป็นอาชีพสร้างรายได้ เพื่ออย่างน้อยให้มีทักษะชีวิตแบบบูรณาการ แต่อุปสรรคคือ มาตรฐาน อย. ที่หลายเรื่องไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ อย. โดยตอนนี้ทางทีเอ็มบีได้เข้ามาช่วยสานฝันของโรงเรียนและเด็กๆ ให้เป็นจริง รวมทั้งเรื่องประโยชน์ของชุมชนด้วย”
นอกเหนือจากเรื่องมาตรฐาน อย. แล้ว ทีมอาสาทีเอ็มบียังแนะนำในเรื่องการตลาดและช่องทางจำหน่าย ทั้งช่องทางการโปรโมทสินค้า การขายผ่านโซเชียล ขายออนไลน์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการทำบัญชีเบื้องต้น เพื่อสร้างนักธุรกิจตัวน้อย โดยคุณครูเองก็ได้รับความรู้ที่แข็งแกร่งรอบด้านมากขึ้นนำไปส่งต่อให้กับเด็ก และเด็กสามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้อีก ซึ่งจาก กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่ได้จากชุมชน การสัมผัสแหล่งเรียนรู้จริง รวมถึงภูมิปัญญาที่ติดตัวมาจากบ้าน ผสมผสานกับที่โรงเรียนให้กระบวนการคิด การผลิต จะส่งผลให้เด็กๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเรียนจบแล้วสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง
เป้าหมายจากนี้ไป โรงเรียนคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาจะถูกนำไปวางขายกระจายไปในพื้นที่ต่างๆ เช่นเดียวกับผงอาหารชนิดอื่นๆ โดยก้าวแรกนี้มีอดีตคุณครูซึ่งลาออกไปทำธุรกิจขายสินค้าโอทอปในห้างบิ๊กซี พร้อมที่จะนำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายในร้าน และบูธที่ไปร่วมจัดนิทรรศการ รวมทั้งนำเข้าสู่สินค้าโอทอปของจังหวัด ถือเป็นกำลังใจให้โรงเรียนเตรียมคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาเพิ่มเติม โดยยึดภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาต่อยอด เพื่อให้เชื่อมกับชุมชนให้ได้ประโยชน์โดยแท้จริง
“สิ่งที่เราสอนเด็กๆ คือต้องการให้มีทักษะการใช้ชีวิต มีความรักหวงแหนทรัพยากรทุกอย่างที่เขาได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม ประเพณี พืช สัตว์ เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งก็เกิดการเรียนรู้แบบพี่สอนน้อง เรามีความสุขโดยที่ลูกๆ เราไม่ต้องเป็นหมอ หรือวิศวะ แต่สามารถอยู่กับสังคมได้ แค่นี้เราก็มีความสุขแล้ว”
ขณะที่อาสาสมัครทีเอ็มบีที่อยู่ในทีมอย่าง น.ส.วิลาสินี พรมภิภักดิ์ และนายสมชาย เหลาพร บอกว่า ดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือสังคม โดยในโครงการได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันชัดเจน ซึ่งทั้งสองคนดูแลเกี่ยวกับการขอมาตรฐาน อย. จึงได้ศึกษาข้อมูล ขั้นตอน และเรื่องเอกสารในการยื่นขอ อย. อย่างละเอียด จนช่วยแนะนำให้โรงเรียนผ่านการพิจารณาได้รับมาตรฐาน อย. เป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่โรงเรียนมีอยู่แล้วให้ผ่านมาตรฐาน เพื่อนำออกจำหน่ายในตลาดได้ ช่วยสร้างรายได้ให้โรงเรียน และเชื่อมประโยชน์กับชุมชนด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้
“จริงๆ แล้ว โครงการนี้ถือว่าได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ เพราะเราก็ได้ความรู้เหมือนกันจากที่ต้องศึกษาข้อมูล ทำให้สามารถนำความรู้มาแนะนำลูกค้าเอสเอ็มอีได้ด้วย เช่น เมื่อลูกค้าต้องการวงเงินสินเชื่อไปทำธุรกิจ แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์ ติดขัดเรื่องใบอนุญาต หรือ อย. เราช่วยแนะนำได้ เป็นการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นทั้งผู้ให้และผู้รับ”