WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
search for yield พฤติกรรมร้ายที่น่ากลัว !!

15 มกราคม 2562 : เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประชุมนักวิเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วย สถาบันการเงิน , บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินรายไตรมาส ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เดิมที การประชุมนักวิเคราะห์ดังกล่าว ธปท.ไม่เคยอนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วย การเข้ารับฟังครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของสื่อมวลชนก็ว่าได้

จากการเข้าร่วมรับฟัง ตั้งแต่ต้นจนจบ ประเด็นหลักสำคัญที่นอกเหนือจากการรายงานภาพรวมเศรษฐกิจไทย ที่ธปท.ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ พฤติกรรม search for yield หรือ การแสวงหาผลตอบแทนสูงในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ หลายคนเริ่มสงสัยแล้วว่า มันคืออะไร ทำไมถึงให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ

โดยในที่ประชุมฯดังกล่าว ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธปท.ยังคงมีความเป็นห่วง เรื่องการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจขนาดใหญ่แบบกระจุกตัว…ที่มีมากเกินไปจากการแข่งขันของสถาบันการเงิน หวั่นว่า…จะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเงินในอนาคตได้ แม้ว่าในปัจจุบันเสถียรภาพระบบการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีความเสี่ยงตามจุดที่ต้องติดตาม อาทิ พฤติกรรม search for yield (การแสวงหาผลตอบแทนสูงในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิด underpricing of risks หรือความเสี่ยงในการกำหนดราคาต่ำกว่ามาตรฐาน

ทั้งนี้ จะเห็นว่ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยยะสำคัญกับระบบการเงิน โดยเฉพาะการออกตราสารหนี้ และการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลงในระดับหนึ่งจากมาตรการ Loan to Value : LTV แต่อัตราส่วนสินเชื่อต่อรายได้ (LTI) ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังต้องติดตามความเสี่ยงจากภาวะอุปทานคงค้าง เนื่องจากชาวต่างชาติโดยเฉพาะจีนมีความต้องการอาคารชุดไทยมากขึ้น จึงต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่อุปสงค์อาคารชุดอาจลดลง หากเศรษฐกิจต่างชาติชะลอตัวลง

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของสินทรัพย์และเงินรับฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ขยายตัวในอัตราสูง แม้จะชะลอลงบ้าง แต่การกู้ยืมระหว่างสหกรณ์ฯที่มากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงเชิงระบบสูงขึ้น ขณะเดียวกัน

หากสรุป ข้อกังวลดังกล่าวของธปท.อย่างเข้าใจ คือ ในช่วงที่ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำขณะนี้ ทำให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต่างใช้ช่วงจังหวะที่ดอกเบี้ยถูก มาขอสินเชื่อกับธนาคารที่ต่สงแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรงเพื่อแย่งฐานลูกค้ามาให้ได้ ทำให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารกระจุกตัวอยู่แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ หากธุรกิจขนาดใหญ่ประสบปัญหาอย่างไม่คาดคิด ก็จะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของระบบพอสมควร

ที่สำคัญ ธุระกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ ต่างใช้ช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำ ออกสินทรัพย์พวกตั๋ว้งินระยะสั้น (บี/อี) และหุ้นกู้เอกชน ค่อนข้างมาก อย่างช่วงปี2561 การออกหุ้นกู้ของเอกขนมีมากถึง 8แสนล้านบาท หากย้อนกลับไปประเด็นเดิม ถ้าธุรกิจประสบปัญหาแบบไม่คาดคิด หุ้นกู้และตั๋วบี/อีที่เสนอขายให้กับนักลงทุน อันต้องได้รับผลกระทบวงกว้าง หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ก็อย่าง บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) หรือ EARTH ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธนาคารผู้ให่สินเชื่อ นักลงทุนที่อหุ้น EARTH นักลงทุนที่ซื้อหุ้นกู้ และนักลงทุนที่ซื้อตั๋วบี/อี จะเห็นได้ว่า กระทบในวงกว้างอย่างมีนัยยะพอสมควร

นอกจากนี้ ในส่วนของสหกรณ์ ก็ดูน่าเป็นห่วงเช่นกัน ด้วยเม็ดเงินที่อยู่ในสหกรณ์ต่างๆทั่วประเทศมีค่อนข้างสูงหลายแสนล้านบาท อะไรที่ทำให้เงินในสหกรณ์มีสูงมากมายขนาดนี้ ก็เพราะดอกเบี้ยเงินฝากในสหกรณ์สูงกว่าเงินฝากในธนาคารค่อนข้างมาก ทำให้คนหันไปลงทุนในสหกรณ์กันจำนวนมาก และในข่วงหลังๆจะเห็นว่า มีบ้างสหกรณ์ที่เกิดปัญหา มีการยักยอกเงิน อย่างสหกรณ์คลองจั่นที่เป็นข่าวในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนที่นำเงินไปลงทุนผ่านการฝากเงินกับสหกรณ์ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ได้รับเงินคืน

เหตุทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นพฤติกรรม search for yield (การแสวงหาผลตอบแทนสูงในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ) ด้วยกันทั้งสิ้น ทำให้ผู้คุมกฏอย่างธปท.จึงได้ออกโรงส่งมาตราการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างจริงจังในช่วงปีที่ผ่านมา เพราะธปท.กลัวพฤติกรรม search for yield นี่แหละชีวิตจริง แม้เสียรภาพทางการเงินของไทยในปัจจุบันจะยังดีอยู่ แต่ก็ยังไม่นิ่งนอนใจสำหรับคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว หากปล่อยไว้นานเข้าอาจแก้ไขยาก

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อ ธปท.ออกมาพูดถึงขนาดนี้แล้ว ก็ดูกันต่อไปว่า ธปท.ผู้คุมกฎใหญ่จะมีมาตรการอะไรออกมารักษาเสถียรภาพทางการเงินไม่ให้เกิดสุ่มเสี่ยง อย่างที่ตั้งใจได้มากน้อยแค่ไหน??

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP