WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม 2567 ติดต่อเรา
อย่ารอให้ไฟล่ามทุ่ง!!!

ความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การกระทำการใด ๆ ของภาครัฐทั้งในระดับบุคคลและองค์กรที่ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ คาดเดาได้ และเข้าใจได้ ครอบคลุมถึงทุกการกระทำที่เป็นผลจากการตัดสินใจของผู้บริหาร การดำเนินงานทางธุรกิจ และงานสาธารณประโยชน์ต่างๆ สังคมไทยได้เริ่มรู้จักคำว่า “ความโปร่งใส” อย่างแพร่หลายในช่วงปี 2535 เมื่อท่านนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งท่านนายกฯ อานันท์ได้ให้ความสำคัญต่อ “ความโปร่งใส” ในการบริหารงานของรัฐบาลอย่างมาก

123

ในยุคปัจจุบัน “ความโปร่งใส” ก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญหลักสำคัญที่ภาครัฐ ห้างร้าน ธุรกิจน้อยใหญ่ต้องแสดงอำนาจของความโปร่งใสออกมา เพราะไม่อย่างนั้น ความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ ห้างร้าน ธุรกิจน้อยใหญ่จะหมดไป เพราะความเอาเปรียบซึ่งในกันและกัน หากพูดถึงตลาดทุนไทย “ความโปร่งใส”ก็สำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนกัน ตราบใดที่ธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ(บจ.)ขาดคำว่า “ความโปร่งใส” เมื่อไหร่ คำว่า”ขาดธรรมภิบาล” ก็จะตามมา ซึ่งเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนแบบไม่น่าให้อภัยเลยทีเดียว และด้วยความเอาจริงเอาจังของหน่วยงานต่างๆที่พากันผลักดัน”ความโปร่งใส” และ”ธรรมภิบาล” ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งของธุรกิจไทย เพราะอย่างน้อยก็ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้พอสมควร

ทั้งนี้ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต หรือCAC ก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดเผยว่า ผลการศึกษาการคอร์รัปชันในประเทศไทย ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกรรมการบริษัทและผู้นำธุรกิจเกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในช่วงปลายปี58 ว่า 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยได้ลดลงต่อเนื่องในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีเพียง 24% ที่มองว่าปัญหารุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม 90% ยังเห็นว่าปัญหาการทุจริตในประเทศไทยในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่สูงถึงสูงมาก

จากการสำรวจความคิดเห็นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทเอกชนจำนวน 828คนในช่วงเดือนส.ค.-ธ.ค.58 พบว่า 44% ของผู้ตอบเชื่อมั่นสูงถึงสูงมาก ว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันสามารถแก้ไขให้หมดไปได้ในอนาคต เป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก 35% ในการศึกษาครั้งก่อนในปี 2556 และมีเพียง 12% ของผู้ตอบที่เห็นว่าการทุจริตทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% โดยเป็นสัดส่วนที่ลดลงอย่างมากจากการศึกษาเมื่อปี 2556 ที่ 52% ของผู้ตอบเห็นว่าการทุจริตทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ซึ่งชี้ว่าการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา

เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเกิดการทุจริต กรรมการบริษัทและผู้นำธุรกิจมีความเห็นว่า กระบวนการด้านการขอจดทะเบียนธุรกิจ ทะเบียนการค้า และการจัดตั้งบริษัทมีการปรับปรุงดีขึ้นมากที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (20%) รองลงมาคือ กระบวนการทางภาษี/สรรพากร (14%) และการจดทะเบียนและขออนุญาตต่างๆ ทางธุรกิจ (11%) โดยกลยุทธ์การแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชันที่กรรมการบริษัทและผู้นำธุรกิจมองว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันในระดับมหภาค (32%) รองลงมาคือ การประกาศรายชื่อและย้ายข้าราชการที่พัวพันการทุจริต (11%)

999

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจจากสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ต่อธุรกิจบจ.ไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ต่างชี้ในประเด็นเดียวกันว่า อยากเห็นบทลงโทษกรรมการที่กระทำผิดรุนแรงมากขึ้น ดร. บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เปิดเผยว่า ผลสำรวจความคิดเห็นของกรรมการไทย ปี 2559 ว่า กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่า บทลงโทษกรรมการหรือผู้บริหารที่กระทำความผิดในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน รวมถึงการใช้ข้อมูลภายใน

ซึ่งส่วนใหญ่สิ้นสุดที่การถูกปรับนั้นเบาเกินไป และกรรมการที่กระทำผิดควรได้รับทั้งโทษปรับ จำคุก และตัดสิทธิการเป็นกรรมการด้วย นอกจากนี้ ยังมองว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรรมการขาดจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ เกิดจากการขาดวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรม

ปีนี้เป็นปีที่สองที่สถาบัน IOD ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นของกรรมการไทยประจำปีขึ้น เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของกรรมการในประเด็นที่เป็นที่สนใจของกรรมการ และกรรมการควรให้ความสำคัญ โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม 2559 มีกรรมการที่ร่วมแสดงความคิดเห็น 416 คน ซึ่งมีความหลากหลายทั้งด้านประสบการณ์ของกรรมการ ขนาดของกิจการและประเภทของอุตสาหกรรม ทำให้ข้อมูลที่ประเมินสามารถสะท้อนมุมมองและความคิดเห็นของกรรมการไทยได้เป็นอย่างดี

11111

จากผลการสำรวจ กรรมการส่วนใหญ่ร้อยละ 65 เห็นว่า บทลงโทษสำหรับกรรมการหรือผู้บริหารที่กระทำผิดในลักษณะการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การใช้ข้อมูลภายใน การสร้างราคาหุ้น ในปัจจุบันนั้นเบาเกินไป โดยกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้กระทำผิดดังกล่าวควรได้รับทั้งโทษปรับและจำคุก รวมถึงการตัดสิทธิการเป็นกรรมการด้วย

จากการศึกษาข้อมูลตามที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. IOD พบว่า ส่วนใหญ่กรรมการหรือผู้บริหารที่กระทำผิดในลักษณะการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้น จะถูกลงโทษด้วยการเปรียบเทียบปรับเท่านั้น และยังคงสามารถดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการต่อไปได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีกรรมการหรือผู้บริหารบางรายกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกันที่ช่วงเวลา ดังนั้นในแง่บทลงโทษ จึงควรมีความเข้มข้นขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยต้องเพียงพอที่จะทำให้ผู้จะกระทำเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำผิด

“ในส่วนของ IOD เห็นว่า การกระทำผิดของกรรมการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในบริษัทจดทะเบียนนั้น ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่คณะกรรมการบริษัทไม่ควรเพิกเฉย เนื่องจากเป็นการกระทำผิดทั้งทางกฎหมายและจริยธรรม ดังนั้น คณะกรรมการจึงควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า บุคคลที่จะเสนอชื่อเป็นกรรมการนั้นไม่มีประวัติการกระทำผิดตามพ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มาก่อน” ดร. บัณฑิต กล่าว

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP