18 ตุลาคม 2561 : นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ประจำเดือนกันยายน 2561 จำนวน 1,204 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 31.6, 39.0, 29.4 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ
แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 35.5,17.8,14.7,18.8 และ 13.2 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 82.1 และ 17.9 ตามลำดับ
โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 91.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 92.5 ในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่ลดลง เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
จากการสำรวจพบว่า ในเดือนกันยายน ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง ขณะที่ผู้ประกอบการส่งออกเห็นว่า เงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับภูมิภาคทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง รวมทั้งปัญหาความแออัดของท่าเรือที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้า ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเห็นว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีแนวโน้มจะยืดเยื้อ
อย่างไรก็ตาม พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นและ ดัชนีฯ มีค่าเกินระดับ 100 สะท้อนมุมมองต่อการประกอบการในระดับที่ดี ซึ่งพบว่า ผู้ประกอบการสามารถวางแผนควบคุมการผลิตและบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นด้านการส่งออก ยังมีทิศทางที่ดีสะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 106.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 105.6 ในเดือนสิงหาคม จากความชัดเจนของภาครัฐเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ประกอบกับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 อุปสงค์ของสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนกันยายน 2561 จากการสำรวจ จุมภาพันธ์พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมขนาดกลาง ปรับตัวลดลงจากเดือนสิงหาคม ขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 5)
อุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 74.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 75.8 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก, อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน, อุตสาหกรรมไม้อัดไม้บาง และวัสดุแผ่น เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 98.1 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 90.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 91.9 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร,อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ, อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ108.4 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 110.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 110.4 ในเดือนสิงหาคม
โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอด-คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ, อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ109.0 ในเดือนสิงหาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนกันยายน 2561 จากการสำรวจ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากเดือนสิงหาคม ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 6)
ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 94.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 98.0 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมต้นทุนประกอบการ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีคำสั่งซื้อลดลงจากในประเทศ ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีคำสั่งซื้อลดลงจากสหรัฐฯ และจีน), อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (เครื่องจักรทางการเกษตร รถแทรกเตอร์ มียอดขายในประเทศลดลง) และอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องสำหรับบรรจุสินค้า มียอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง)
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมพลาสติก (สินค้าประเภทถุงพลาสติก ฟิล์มพลาสติก และกระสอบพลาสติก มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกและเครื่องใช้ในครัวเรือน มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดอาเซียน)
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 109.0 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 78.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 81.5 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเซรามิก (สินค้าเซรามิก ประเภทจานชามบนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ มียอดขายในประเทศลดลง กระเบื้องปูพื้นบุผนังส่งออกไปตลาด CLMV ลดลง), อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน กระดาษคราฟต์ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต๊อกสินค้าปริมาณสูง ผลิตภัณฑ์กระดาษสาส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ลดลง)
อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (หลังคาเมทัลชีทมียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นฤดูฝน งานก่อสร้างชะลอตัวลง), อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ (เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปประเภทไม้ และเหล็ก มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และจัดงานแสดงสินค้าเพื่อกระตุ้นยอดขาย ด้านการส่งออกชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และยุโรป)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 95.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 95.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 89.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.9 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ขณะที่โทรศัพท์มือถือมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นจากงาน Thailand Mobile Expo 2018), อุตสาหกรรมสิ่งทอ (เส้นใยสิ่งทอ และเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม)
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (คอนกรีตผสมเสร็จ มียอดขาย และคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ), อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (หินอ่อน หินประดับ อิฐมวลเบา อิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง มียอดขายในประเทศลดลง)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.4 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 109.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 109.0 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (ชิ้นส่วนยานยนต์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และจีน ขณะที่อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ตามการ-ขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์), อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งออกไปประเทศจีนและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น)
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (สินค้าประเภทเครื่องประดับทอง และอัญมณี มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากในประเทศ และตลาดต่างประเทศ อาทิ สหรัฐฯ, เยอรมนี และฮ่องกง)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเหล็ก (เหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีคำสั่งซื้อลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับราคาเศษเหล็กสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 112.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 112.3 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนกันยายน 2561อยู่ที่ระดับ 77.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 79.2 ในเดือนสิงหาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโด