WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ได้เวลาเลิกหัวหมอ!!!!

3 กันยายน 2561 : เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 รายงานจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม โดยให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้ จากเดิมที่เสียภาษีเพียง 10% ซึ่งให้เหตุผลว่า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้านการจัดเก็บภาษีระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงกับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม

ปัจจุบันบุคคลธรรมดาที่ลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงหรือการฝากเงินในธนาคาร เมื่อมีดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไร จะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ต่างจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เสียภาษีดอกเบี้ย เงินปันผล ที่ 10% เท่านั้น และยังได้รับยกเว้นภาษีส่วนต่างกำไร ดังนั้น จึงเห็นชอบให้ปรับการเก็บภาษีให้เหมือนกัน จะได้เกิดความเท่าเทียมกับนักลงทุนทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งคาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 1,600-2,500 ล้านบาท จากมูลค่าตราสารหนี้ปัจจุบันที่มีจำนวน 5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมในยามเกษียณอายุ นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้

หลังมีข่าวดังกล่าวออกมา หลายคนดราม่ากันไปต่างๆนานา กลัวนักลงทุนหายไปจากตลาดทุนบ้างละ กลัวนักลงทุนเสียสิทธิที่ประโยชน์บ้างละ บลาๆๆๆๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่จะคิดกันไป จนท่านรองนายกฯ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ลั่นว่า “อย่าไปคิดแง่ลบสิ” พร้อมอธิบายด้วยว่า เก็บภาษีสิเป็นเรื่องที่ดีกับอุตสาหกรรม และเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุนแน่นอน การเก็บภาษีดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับส่วนอื่นด้วย เพราะว่าไม่เก็บจากผู้ซื้อแต่เก็บจากผู้ออกตราสารเป็นหลัก ดังนั้น ไม่ควรมองในแง่ลบ

นี่เป็นการอธิบายเหตุผลแบบเบาๆ ซึ่งหลายคนคงคิดว่า ก็รัฐเป็นคนสั่งก็ต้องมองบวกๆๆละสิ แต่ๆๆๆพอฟังการอธิบายถึงประเด็นนี้จากทางฝั่งผู้คุมกฎตลาดทุนไทยอย่างคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ดูบ้าง เลยเข้าใจเหตุการณ์ได้ดีขึ้น ที่ว่ากันว่าไม่เป็นธรรมมันคืออะไรกันแน่

ล่าสุด นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้มีการชี้แจงประเด็นร้อนดัง กล่าวว่า การเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้ดีแล้ว ช่วยสร้างความยุติธรรมให้กับประชาชนที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่ได้ลงทุนในกองทุนดังกล่าว ลองคิดดูว่า ปัจจุบันมีประขาชนถือบัญชีกองทุนรวม 4.5 ล้านบัญชี ขณะที่ 6 ล้านคน ถือบัญชีกองทุนมากกว่า 1 บัญชี และฐานประชากรที่ต้องเสียภาษีมีกว่า 10 ล้านคน และในจำนวน 10 กว่าล้านคนไม่เสียภาษีจากกองทุนตราสารหนี้ ก็เป็นการเอาเปรียบไม่ยุติธรรม

และ ประสิทธิภาพการลงทุนที่แท้จริงไม่ได้เกิด เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ช่วงที่ยังไม่เก็บภาษีดังกล่าว ผู้ออกตราสารหนี้กับนักลงทุนสถาบันได้ใช้สิทธิเรื่องภาษีมาสนับสนุนผลตอบแทนมาโดยตลอด หากตีความแบบเข้าใจง่าย คือ นำเงินของประชาชนส่วนใหญ่มาจ่ายกันเอง คือ นำส่วนต่างที่จะต้องมาจ่ายภาษีมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีคุณภาพที่แท้จริง แต่ก็ยังสามารถทำผลตอบแทนได้ในระดับสูง ถือว่าเป็นการฮั้วกันระหว่างผู้ออกตราสารกับนักลงทุนสถาบันก็ว่าได้ แบบนี้เรียกว่ายุติธรรมคงไม่ได้!!

ดังนั้น หากเก็บภาษีไปซะ ผู้ออกตราสารหนี้ก็จะให้ผลตอบแทนที่สะท้อนราคาความเป็นจริงของสินทรัพย์นั้นๆ มากขึ้น ขณะที่นักลงทุนสถาบันก็เพิ่มประสิทธิภาพในการต้นหาสินทรัพย์ที่มีคุณภาพจริงๆ มาเสนอขายให้กับนักลงทุนรายย่อยต่างๆ อย่างเป็นธรรมมากขึ้น

ส่วนด้านนักลงทุนรายย่อย คงเห็นภาพชัด… ว่า ความยุติธรรมกับความไม่ยุติธรรมที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถวางแผนการลงทุนได้แล้ว อย่างไรก็ตาม หากรัฐเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้อย่างเป็นทางการ นักลงทุนรายย่อยที่เป็นผู้ซื้อกองทุนไม่ได้โดนเรีบกเก็บภาษีนี้แน่นอน

แต่จะไปมีผลกับผู้ออกตราสารกับผู้ไปรับซื้อตราสารมากกว่า ผู้ออกตราสารมีต้นทุนมากขึ้น ผู้รับซื้อตราสารเพื่อไปตั้งกองทุน ก็ต้องหาสินทรัพย์ที่ดีและสามารถทำผลกำไรได้ต่อเนื่องและยังตอบโจทย์ลูกค้ามาขึ้น

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP