WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม 2567 ติดต่อเรา
หุ้นไทยเดือน พ.ค.59 ส่อแววเป๋ “Sell in May”!!!!

หลายปีที่ผ่านมาหุ้นไทยมักจะทำผลงานแย่ในเดือนพฤษภาคมของแต่ละปี เข้ากับคำพูดติดปากนักลงทุนที่ว่า “Sell in May and Go Away” แล้วปีนี้น่าจะเกิดอาการเป๋เฉกเช่นเดียวกันในช่วงเดือนพฤษภาคมในแต่ละปีที่ผ่านมาหรือไม่? ประเด็นดังกล่าวจะไม่สำคัญเลย ถ้าหากสภาพการลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมานี้ ไม่เกิดอาการเป๋จนหัวใจหลายๆดวงของเหล่านักลงทุนสลาย เพราะตามเกมไม่ทัน

Jessada_Sookdhis

ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในกองทุนรวม อย่าง นายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน INFINITI Global Investors ได้ออกมาชี้แจงถึงอาการ” “Sell in May” ในเดือนพฤษภาคม 2559 ว่าจะมีเหตุการณ์ “Sell in May” เหมือนอย่างในอดีตของทุกๆปีหรือไม่ ซึ่ง“Sell in May” ในวงการลงทุนไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก แต่ภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ต้องมีปัจจัยเข้ามาช่วยหนุน

ที่ผ่านมาอาการ “Sell in May” เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นบ้านเรา 6 ใน 10 ปีล่าสุด แถมปีนี้มองว่าโอกาสเกิดมีสูงพอสมควรเนื่องจากตลาดหุ้นไทยนับแต่ต้นปีถือว่าบวกแรงกว่าตลาดโลกโดยรวมไปมากทีเดียวขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนก็ไม่ได้ดีนัก โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ถือว่าแย่ทีเดียว สะท้อนเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเปราะบาง ดังนั้น ตลาดหุ้นไทยส่อแววเกิดอาการ “Sell in May” ในเดือนพฤษภาคม 2559 จึงมีค่อนข้างสูง เนื่องจากปัจจัยลบทั้งในและนอกประเทศไหลเข้ามากระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างโดดเด่น

“หลายปีที่ผ่านมาหุ้นไทยมักจะทำผลงานแย่ในเดือนนี้ จนทำให้เกิดคำว่า Sell in May and Go Away ในหมู่นักลงทุน ช่วงที่ผ่านมาอาการ Sell in May เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทย 6 ใน 10 ปี ล่าสุด ในปีนี้มองว่าโอกาสเกิดมีสูงพอสมควร เนื่องจากตลาดหุ้นไทยนับแต่ต้นปีถือว่าบวกแรงกว่าตลาดโลกโดยรวมไปมากทีเดียว ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนก็ไม่ได้ดีนัก โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ถือว่าแย่ทีเดียว“นายเจษฎา กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในกองทุนรวม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับปัจจัยลบภายนอกประเทศอย่างงบแบงก์ยุโรปที่รอมานาน ปรากฎว่าไม่แย่มากอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ดีมากเช่นกัน ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกดดันตลาด ส่วนความเสี่ยงเครดิต และการผิดนัดชำระหนี้เป็นสิ่งที่กังวลที่สุด เนื่องจากราคาโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมัน แร่ต่าง ๆ และสินค้าเกษตรตกต่ำเป็นระยะเวลานานหลายปี นำไปสู่ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนหรือแม้กระทั่งรัฐบาลบางประเทศ

2015-01-28-1.2.1

ล่าสุด เปอร์โตริโก้ได้ผิดนัดชำระหนี้สกุลดอลลาร์ไปแล้ว เช่นเดียวกับบริษัทเหล็กของจีน บริษัทอู่ต่อเรือยักษ์ใหญ่ของจีนที่เริ่มผิดนัดชำระหนี้ และโดยเฉพาะบริษัทกลุ่ม High Yield Bond ในอุตสาหกรรมพลังงานซึ่งล่าสุดอัตราการผิดนัดชำระหนี้ถีบตัวเพิ่มสูงถึง 13% ณ สิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาข้อมูลจาก Financial Times พบว่า มีบริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้แล้วปีนี้ 53 บริษัท สูงที่สุดนับแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ผ่านมาเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือบริษัทพลังงานในอเมริกานั่นเอง

เฉพาะเดือนเมษายนมีบริษัทผิดนัดชำระหนี้ 16 บริษัท มากที่สุดในรอบหลายปีเช่นกัน แม้ราคาน้ำมันและโภคภัณฑ์จะสูงขึ้นแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทันทำให้บริษัทเหล่านี้พ้นจากปัญหาทางการเงินได้หรือไม่ อีกประเทศที่น่าห่วงคือญี่ปุ่น ที่ล่าสุดค่าเงินแข็งโป๊กมาที่ 106 เยนต่อดอลลาร์ไปแล้ว ผลประกอบการของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกมีโอกาสเหนื่อยแน่นอน

หุ้นไทยในเดือนพฤษภาคม2559 ยังอยู่ในวังวน

ทิศทางการลงทุนของหุ้นไทยช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.59 นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า หุ้นไทยช่วงนี้จะเกิดการปรับฐานลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีหลายปัจจัยรอกดดัน อาทิเช่น 1.ผลกระทบจากการปรับน้ำหนักหุ้นตามดัชนี MSCI นำ ADRs เข้าคำนวณในเฟสสุดท้าย 2. ภาพรวมกำไรไตรมาส 1 แนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมาจะกดดันการประเมินมูลค่าหุ้นไทยยิ่งตึงตัวมากขึ้น 3. เดือน พ.ค.-มิ.ย.59 เข้าสู่ช่วงฤดูกาลที่ต่างชาติมักขนเงินออก และ 4. สัญญาณทางเทคนิค “Negative Divergence” เตือนมาร่วมสองเดือนเต็ม สำหรับแนวรับสำคัญของดัชนีเดือนนี้อยู่ที่ 1,350-1,380 จุด แนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,430-1,420 จุด

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญ คือ ลดน้ำหนักการลงทุนหุ้น แล้วถือเงินสดมากขึ้นเป็น 40% พร้อมมองโอกาสเกิดการปรับฐานลงของตลาดในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ เป็นจังหวะดีในการทยอยสะสมเพื่อลงทุนในระยะถัดไป คาดว่า น่าจะเป็นช่วงครึ่งหลังของเดือน พ.ค.59 ไปแล้วที่ระดับดัชนีต่ำกว่า 1,380 จุด ลงมา เพราะช่วงครึ่งเดือนแรกน่าจะมีแรงซื้อเก็งหุ้นงบQ1/59 ส่วนหุ้นเด่นที่เราแนะนำในเดือน พ.ค.59 นี้ คือ หุ้น BEM, LPN, MTLS,
ROBINS, TWPC, และ UNIQ

จับตา!! ฟันด์โฟลว์ตัวหนุนดัชนีหุ้นไทยk.amonthep-700

เม็ดเงินลงทุนต่างชาติ หรือ ฟันด์โฟลว์ช่วงนี้ยังมีแนวโน้มไหลเข้าตลาดเงินต่อเนื่องจนไปถึงช่วงสิ้นเดือน พ.ค.59 นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT กล่าวไว้ว่า เม็ดเงินดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังคงเข้าตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นและหลังจากช่วงเดือนพ.ค. 59 เตรียมระวังเม็ดเงินลงทุนไหลออก เนื่องจากว่าช่วงดังกล่าวหลายประเทศจะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศจีนที่หลายคนจับตามอง ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนต่างชาติมีการไหลออกแน่นอน อย่างไรก็ตาม การผลักดันการจัดตั้งกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์มูลค่า100,000 ล้านบาท หากมีความชัดเจนและโครงการเดินหน้าได้ก็จะเป็นแรงหนึ่งในการดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลกลับมาได้

ผู้จัดการกองทุนมองหุ้นไทยยังผันผวนคุณมนรัฐ-ผดุงสิทธิ์-399x420

นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด หรือ LHFund กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มตลาดหุ้นในช่วงไตรมาส 2/59 ยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนและเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะสถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา คาดว่า จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยประมาณ 0.5%

รวมถึงประเด็นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่มีความเป็นไปได้ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของจีนยังชะลอตัวต่อเนื่องและตลาดหุ้นเกิดใหม่ที่ถูกปรับลดน้ำหนักดัชนี MSCI Emerging Markets ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนไทยจะมีความผันผวนมากกว่าช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ดังนั้น นักลงทุนที่ลงทุนในช่วงนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวัง

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP