WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ทำอย่างไร ?? ให้มีเงินออม ในสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) !!!

15 มิถุนายน 2561 : ตั้งแต่ธนาคารเปิดให้บริการ Internet Banking จนถึง Mobile Banking ให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และจ่ายค่าบริการผ่านบัตรเครดิต การโอนเงินแบบ PromptPay ตลอดจนการจ่ายค่าบริการและสินค้าผ่าน QR Code คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยเองก็กำลังก้าวเข้าสู่ สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) เข้าไปทีละน้อย

สำหรับคนที่ปรับพฤติกรรมมาใช้บริการด้าน Digital Banking และ e-Payment คงรู้สึกได้ถึงข้อดีด้านความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพียงแต่ความคล่องตัวนี้ อาจทำให้เราใช้เงินเพลินจนเกลี้ยงบัญชีแบบไม่รู้ตัวได้เหมือนกัน

Print

คำถามคือ ทำอย่างไรให้เหลือเงินออมในสังคมไร้เงินสดแบบนี้?

นี่คือมาตรการ รับมือเพื่อการออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิธีไหนบ้างไปดูกัน…

1) จัดสรรบัญชี เนื่องจากลักษณะและรูปแบบการโอนเงิน รับเงิน และการใช้จ่ายในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การไหลเข้าออกของเงินคล่องตัว ดังนั้นหากไม่มีการจัดสรรบัญชีแยกไว้สำหรับการใช้จ่ายและการเก็บออม อาจทำให้เงินส่วนต่างๆ ปะปนกันจนแยกไม่ออก แล้วก็ไม่เหลือเก็บ สำหรับคนที่ไม่เคยแยกบัญชีเงินเก็บสามารถลองจัดสรรบัญชีต่างๆ ได้ดังนี้

– บัญชีสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยบัญชีนี้จะเป็นบัญชีที่ถอนมาใช้จ่ายแบบเป็นประจำ ทั้งรายวัน และรายเดือน อาทิ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายบิลต่างๆ ควรจะต้องมองหาบัญชีที่ปลอดค่าธรรมเนียมแบบ 100% ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการโอน การจ่าย การเปิดบัญชี หรือค่าธรรมเนียมบัตร เป็นต้น

– บัญชีเงินเก็บสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน บัญชีนี้จะนำมาใช้เมื่อถึงเวลาจำเป็นจริงๆ เช่น ปรับเปลี่ยนงาน หรือเจ็บป่วย ดังนั้นควรตัดใจแน่วแน่ให้เป็นเงินเย็น เพื่อสำรองไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว ควรเลือกบัญชีที่คล่องตัว ฝาก-ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ และที่สำคัญให้ผลตอบแทนสูง

Print

– บัญชีเงินออม ไม่สำคัญว่าจะมากหรือน้อย แค่เริ่มเร็วเท่าไรก็ยิ่งสะสมเพิ่มขึ้นเท่านั้น มีให้เลือกทั้งฝากประจำ และไม่ประจำ แต่สิ่งสำคัญจะต้องเป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง หนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างบัญชี ME SAVE ของ ME by TMB บัญชีเงินฝากที่มาพร้อมดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปถึง 4.5 เท่า สามารถฝากแบบไม่มีขั้นต่ำ ฝากถอนเท่าไหร่ก็ได้ แต่ยังคงให้ผลตอบแทนสูง

– บัญชีสำหรับให้กำไรกับชีวิต อาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาวก็ได้ อาทิ เพื่อการท่องเที่ยว ซื้อรถ ซื้อบ้าน แต่งงาน ฯลฯ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย และยังไม่ใช้เงินก็สามารถถอนไปรวมกับบัญชีเงินออม แล้วตั้งเป้าหมายใหม่ เพื่อให้ได้เงินเก็บมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้

– บัญชีเพื่อการลงทุน หากรายได้เพียงพอก็สามารถจัดสรรสำหรับส่วนนี้เพิ่มเติมได้ แล้วนำไปต่อยอดเพื่อผลตอบแทนในอนาคต อาทิ ซื้อกองทุน สลากออมสิน ทองรูปพรรณ พันธบัตร หุ้น และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และสิ่งสำคัญ คือ การศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุน

(1)

2) ใช้ Application เป็นตัวช่วย ในเมื่อเงินเข้า เงินออก จับต้องไม่ได้ ก็ต้องหาเครื่องมือในการคำนวณให้เห็นสถานะทางการเงินของตัวเอง อย่างแอปพลิเคชันด้านการเงินที่เปิดให้บริการดาวน์โหลดทั้งแบบฟรีและมีค่าบริการ มีตั้งแต่การบันทึกรายรับ-รายจ่าย แบบที่คนไม่เคยทำบัญชีมาก่อนก็ทำได้ อย่าง Money Lover สามารถเลือกดูบัญชีการเงินได้ทั้งแบบรายวันและรายเดือน จำแนกค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท สามารถทบทวนการใช้จ่าย เพื่อตัดรายจ่ายแบ่งไปออมเพิ่ม หรือ Piggipo ก็มีฟังก์ชันจัดระเบียบบัตรเครดิตที่ถืออยู่ แจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดชำระบิล ป้องกันปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวได้ด้วย ใครต้องการตัวช่วยแบบไหนลองศึกษาการใช้และเลือกโหลดตามที่เหมาะกับตัวเองได้

3) มองหาความคุ้มค่าจากสังคมไร้เงินสด ในยุคที่อยากรู้ข้อมูลอะไรก็หาได้แค่คลิกหรือนิ้วสัมผัส ดังนั้นเวลาจะใช้จ่ายรวมถึงการจ่ายค่าบริการต่างๆ ก็ควรเปรียบเทียบอย่างรอบคอบ และมองหาความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกแหล่งซื้อของออนไลน์ ลองเปรียบเทียบราคาหรือโปรโมชั่นให้ถี่ถ้วน เงื่อนไขการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอนต่างธนาคาร หรือการชำระค่าบริการต่างๆ หลายธนาคารต่างออกมาประกาศฟรีค่าธรรมเนียมกันหมดแล้ว

maxresdefault

การผูกบัญชี PromptPay เพื่อรับภาษีคืนอย่างรวดเร็วไม่ต้องรอรับเช็คทางไปรษณีย์เหมือนก่อน ดังนั้นการอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับการบริการด้านการเงินไว้บ้างก็จะช่วยให้เราได้รับรู้ถึงประโยชน์ต่างๆ ไว้มาปรับใช้กับตัวเองได้เช่นกัน

4) มีวินัยในการออม เพราะหากไม่มีวินัยในการออมแล้ว มาตรการไหนๆ ก็ไร้ผล สิ่งต่างๆที่วางแผนไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดสรรบัญชีวางแผนเงินออมก็คงไม่มีความเคลื่อนไหว แอปพลิเคชันที่โหลดมาถ้าไม่เคยถูกใช้ก็ไม่เกิดประโยชน์ เงินในกระเป๋าหรือตัวเลขในบัญชีก็คงไม่เหลือ ดังนั้นหากวางแผนในการออมเงินไว้แล้วก็ต้องมีวินัยที่จะทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องด้วย แล้วจะพบว่าเงินนั้นสามารถเพิ่มพูนได้อย่างเป็นรูปธรรมจากตัวเลขในบัญชีที่จัดสรรไว้แล้ว

จะเห็นได้ว่าความคุ้มค่าจากสังคมไร้เงินสดนั้นก็นับว่ามีไม่น้อย ลองปรับใช้ควบคู่ไปกับมาตรการเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ทันที แล้วค่อยๆ ปรับจนลงตัว ย่อมช่วยให้การออมในยุคสังคมไร้เงินสดมีความสะดวกสบาย และเหลือเงินออมเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP