WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม 2567 ติดต่อเรา
วันนี้พร้อมกันหรือยัง…วางแผนการลงทุนเพื่อเข้าสู่วัยเกษียณ???

เรื่องของการลงทุน ใครว่าเรื่องไกลตัว ในยุคที่ดอกเบี้ยถูกแสนถูกแบบนี้ หากไม่มีการปรับวิธีการออมเงินใหม่ อันตรายที่ว่า เงินไม่พอใช้เลี้ยงยามเกษียณในอนาคตอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว การปรับแผนการลงทุนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราข้ามวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ แค่ลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่เท่านั้นเอง

ในช่วงที่ผ่านมาคนที่จะพอมีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ ต่างก็หาช่องทางในการสร้างกำไรเพื่อต้องการชนะเงินเฟ้อให้ได้ การลงทุนที่สามารถสร้างผลกำไรได้สูงกว่าการฝากเงินในธนาคารก็มาจากหลายช่องทาง การลงทุนเองผ่านตลาดหุ้นไทยก็เป็นอีกหนึ่งที่เรียกว่า “ความเสี่ยงที่สร้างผลตอบแทนได้” แต่ก็เสี่ยงไม่ใช่น้อย การลงทุนนี้เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ และศึกษาข้อมูลการลงทุนเป็น แต่กับคนที่รับความเสี่ยงไม่ได้เลย “กองทุน” ก็เป็นอีกทางออกที่ดีสำหรับนักลงทุนกลุ่มนี้

วิน-พรหมแพทย์1

ความสมดุลจากการลงทุนกับการเข้าสู่สังคมสูงวัย หลายคนอาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไป แต่เชื่อหรือไม่ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตดังกล่าวแบบเงียบๆ ที่หลายคนชะล่าใจ นายวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด กูรู ด้านการลงทุนมองเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเร็วมากทั่วโลก นับเป็น Demographic Megatrend ที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รอบตัวเราต่อไปอีกหลายสิบปี โดยผู้สูงอายุมีอัตราการเพิ่มสูงมากเป็นพิเศษในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชียและลาตินอเมริกา

สำหรับเอเชีย สัดส่วนประชากรอายุ 60+ จะเพิ่มจาก 12% เป็น 25% ในปี 2050 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 114% ในอดีตเราเคยคิดว่า ผู้สูงอายุที่เกษียณแล้วคือคนที่จะกลายเป็นภาระให้ลูกหลานดูแล หรือไม่ก็ต้องย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา แต่ในปัจจุบันเราจะพบว่า คนที่อายุ 50+ ซึ่งอยู่ในวัยใกล้เกษียณ หรือ 60+ ที่เพิ่งเกษียณหมาดๆ หลายคนยังแข็งแรงกระฉับกระเฉง หลายคนยังทำงานแบบเต็มเวลาได้

couple at the beach

“มีการสำรวจในสหรัฐอเมริกา พบว่า อายุเฉลี่ยของผู้สูงอายุที่ย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเดิม 60 ปลาย เป็นมากกว่า 80 ในปัจจุบัน แปลว่า คนที่อายุ 60-70 ยังแข็งแรงและดูแลตัวเองได้ และธุรกิจที่กำลังฮิตมากในสหรัฐฯ คือ การให้บริการฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุแบบ 24 ชั่วโมง เพราะคนที่เกษียณแล้วส่วนใหญ่ยังอยากอยู่บ้านตัวเอง แต่ก็อยากอยู่ใกล้หมอเพื่อให้อุ่นใจ หากเจ็บป่วยขึ้นมา สามารถโทรเรียกแพทย์ พยาบาล หรือรถพยาบาลได้ เมื่อรวมกับข้อเท็จจริงเรื่องความมั่งคั่งของ Baby Boomers ก็จะพบว่า พี่ๆ ที่กำลังทยอยเกษียณจะกลายเป็น “ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อมหาศาล” พร้อมที่จะ spend เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่หรือรถคันใหม่. ทำกิจกรรม outdoor, ท่องเที่ยว, ผลิตภัณฑ์ skincare และ Anti-aging ฯลฯ”

health-insurance-640x274

กูรู ด้านการลงทุน มองอีกว่า เวลาที่เราลงทุนในกองทุน Healthcare (กองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพ) เรากำลังลงทุนใน “Sector Fund” ซึ่งเลือกลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับการแพทย์เท่านั้นครับ โดยกลุ่ม Healthcare มี sector ย่อยๆ ประกอบด้วย

1. Pharmaceuticals – บริษัทยา
2. Medical Equipment – เครื่องมือแพทย์
3. Healthcare Services – โรงพยาบาลและคลินิก
4. Biotech Companies – ค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์

ในปี 2015 ที่ผ่านมา กองทุน Healthcare ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศไทย มีเงินลงทุนรวมกันมากกว่า 30,000 ล้านบาท และก็เป็นกองทุนที่ outperform ตลาดหุ้นโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากเกิดแรงเทขายหุ้นโลก ที่เรียกว่า Global selloff ในช่วงเดือนกันยายน ประกอบกับการแถลงนโยบายของฮิลลารี คลินตัน ที่กล่าวว่า หากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเข้าไปจัดการกับบริษัทในกลุ่ม Biotech ที่ปรับขึ้นราคายาสูงมากเกินไปและเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค กองทุน Healthcare ที่เน้นลงทุนกลุ่ม Biotech จึงมีราคาลงแรง โดยผลตอบแทน 6 เดือนย้อนหลัง สิ้นสุดวันที่ 18 ก.พ. 2016 กองทุน Healthcare ส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนติดลบ 18-23%

Yearly_XXL

ส่วน Global Silver Age เป็น “Long Term Investment Theme” คือ เป็นธีมลงทุนระยะยาว ที่จับประเด็น Demographic Megatrend เรื่อง Baby Boomers ที่กำลังทยอยเกษียณในอีก 10-20 ปีข้างหน้า และมีแนวทางการลงทุนที่กว้างกว่า Healthcare โดยในกองทุน Global Silver Age มีการลงทุนใน Healthcare อยู่ด้วยเหมือนกัน แต่เน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองจำพวก Anti-aging, กลุ่ม Medical Equipment และ Healthcare Services ที่มีกระแสเงินสดดี ซื้อขายด้วย P/E 15-20 เท่า และไม่มีการลงทุนในกลุ่ม Biotech จึงมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุน Healthcare โดยผลตอบแทนกองทุน CIMB-Principal Global Silver Age (GSA) นับแต่จัดตั้งกองทุนถึงปัจจุบัน (ประมาณ 5 เดือน) ให้ผลตอบแทนติดลบประมาณ​ 6%

ในระยะยาว การลงทุนภายใต้แนวคิด Demographic Megatrend ที่ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น จะยังคง outperform ตลาดหุ้นโลก เพียงแต่การลงทุนในกองทุน Healthcare ซึ่งเป็น Sector Fund ที่มีหุ้นกลุ่ม Biotech เป็นส่วนประกอบ จะมีความผันผวนสูง แต่การลงทุนในธีม Global Silver Age ซึ่งลงทุนได้หลากหลายกว่า และหลีกเลี่ยงกลุ่ม Biotech จะมีความผันผวนต่ำกว่า เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาวและไม่อยากกังวลกับความผันผวนในระยะสั้นมากเกินไป

Global Silver Age ลงทุนในหุ้น 8 กลุ่ม ดังนี้
nk

1. Well-Being – การลดริ้วรอย (Botox, Filler) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์เน้น Anti-aging (L’Oreal, Estee Lauder, Shiseido, AmorePacific เจ้าของแบรนด์ Etude), ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่

2. Medical Equipment – ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ เครื่องวัดความดัน เครื่องช่วยฟัง ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสายตา (หนึ่งในหุ้น top5 คือ Edward Lifesciences เจ้าของเทคโนโลยีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมโดยไม่ต้องผ่าตัดบายพาส)

38

3. Pharmaceuticals – ผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์เน้นโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ อาทิ หัวใจ, ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, มะเร็ง (Roche, Novartis, Pfizer)

4. Leisure – บริษัททัวร์หรือเรือสำราญ (Carnival, TUI, MINT) สถานบันเทิงแบบกาสิโน เพราะสังเกตว่า คุณลุงคุณป้าชอบเล่น slot machine

0-1

5.Asset Gatherers – สถาบันการเงินที่ให้คำปรึกษาการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณ อาทิ บริษัทจัดการกองทุน ประกันชีวิต และ Private Wealth (BlackRock, AXA, ING, Credit Suisse)
6. Automobiles – บริษัทรถยนต์ที่ผลิตรถโดยคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคผู้สูงอายุ (BMW, Ford, Toyota)
7.Security – ผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยและสัญญาณเตือนภัย (Securitas, SECOM)
8.Dependency – โรงพยาบาลและบริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ (HCA, Raffles Medical)

เป็นที่น่าสังเกตว่า การลงทุนโดยเลือกบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการบริโภคของกลุ่ม Global Silver Age เป็นแนวทางการลงทุนระยะยาว หรือ Very Long-term Investment Theme ที่น่าจะไปไกลกว่ากลุ่ม Baby Boomers เพราะเชื่อว่า เมื่อคนรุ่นเราที่เป็น Gen X เกษียณในอีก 20-30 ปีข้างหน้า ก็คาดว่าจะมีแนวคิดการดูแลตัวเองและชอบ Active Lifestyle คล้ายๆ กัน

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP