WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม 2567 ติดต่อเรา
“แบงก์ยอมกำไรหดแลกหนี้เน่าพุ่ง” เศรษฐกิจไทย-นอกจับมือกันดิ่ง!!

เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีก็ผ่านพ้นไปแบบลุ่มๆดอนๆ ธุรกิจน้อยใหญ่ต่างก็พากันเอาตัวรอดด้วยระบบบริหารตัวเองแบบระมัดระวังมากขึ้น ภาพเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบชะลอตัวไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นในตอนนี้ แต่ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การเมืองไทยเข้มข้นขึ้นทุกๆวันจนมีวิวัฒนาการกลายเป็นความรุนแรงในบางปี ประกอบกับเศรษฐกิจโลกในช่วงระยะหลังๆเกิดความผิดพลาดทางความคิดหลายๆประการ ทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจในบางประเทศไม่ได้ผลและเข้าสู่ทางตัน

อย่างกรณีการลดอัตราดอกเบี้ยจนติดเพดานที่ 0% ในหลายประเทศ รวมถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE ในช่วงแรกดูเหมือนจะได้ผลเพราะเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้ไหลเข้ามายังภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยก็ได้รับอานิสงค์นี้จนเกือบชะล่าใจ ว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะช่วยหนุนตลาดหุ้นไทยให้กับมายืนที1,700ก็จุดเมื่อช่วงสองปีที่ผ่านมาได้ หากมองในความเป็นจริง 1,700 จุดแตะได้แน่นอนจากปัจจัยหนุนที่เกิดขึ้น แต่นั้นก็แค่ฝัน

1461944230073

ดูเหมือนรอดสุดท้ายก็ตัน

ภาพเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้นไทยช่วงปีที่ผ่านมากลายเป็นฝันสลาย เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา(เฟด)เริ่มสงสัญญาณบางอย่างว่าได้เวลาต้องขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ช่วงสองปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศทะยอยไหลออกจากตลาดหุ้นไทยมากถึง300,000-400,000 ล้านบาท หลังจากเศรษฐกิจจีนส่อแววแย่ต่อเนื่อง อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจีน (GDP) ปรับตัวลดลง ล่าสุด ช่วงเดือนเมษายน 2659 ที่ผ่านมา GDP จีนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6.7% ลดลงจากช่วงไตรมาส4ของปีที่ผ่านที่ GDP เติบโตต่ำอยู่ที่ 6.8% ในเมื่อเป็นเช่นนั้นเฟดเริ่มลังเลใจที่จะขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้นตามที่ตั้งใจไว้ออกไปก่อน

เศรษฐกิจไทยก็ยังลูกผีลูกคน

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยปีนี้ เริ่มจะเห็นรูปร่างแต่ไม่เป็นรูปธรรม การเติบโตของเศรษฐกิจไทยก็ยังคงเป็นลูกผีลูกคนเช่นกัน ทำให้ธุรกิจหลายแห่ง สถาบันการเงินหลายที่ไม่กล้าขยับตัวไปมากกว่านี้ ต่างเฝ้าดูอยู่ห่างๆแบบเงียบๆก่อนที่จะผลีผลามทำอะไรลงไป เพราะหนี้ครัวเรือนของไทยยังค้ำคอในระดับสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานแนวโน้มหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาส 1/2559 โดยคาดว่าอาจทรงตัวถึงปรับขึ้นเล็กน้อยมาที่ระดับ 81.5 – 82.0% ต่อGDP จากการขยับขึ้นของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยก่อนมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์หมดอายุลง ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง ผนวกกับการชำระคืนสินเชื่อหลังเร่งใช้ในช่วงท้ายปี 2558 คงทำให้สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มีโอกาสปรับลดลง ส่วนผู้ประกอบการที่น่าจะเป็นแกนนำการขับเคลื่อนสินเชื่อภาคครัวเรือนในช่วงไตรมาส 1/2559 นี้ คงได้แก่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ จากการตอบสนองต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

แบงก์ชาติคงดอกเบี้ยฯ 1.50% ต่อปี

การลดดอกเบี้ยนโยบายลงไม่ใช่เครื่องมือสำคัญอีกต่อไปในการที่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นขึ้น เพราะความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนไม่หวนกลับมา ส่งผลให้แบงก์ชาติจึงมีมติให้คงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 1.50% ต่อปี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 23มีนาคมที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลที่ว่าจากการประเมินเศรษฐกิจไทยช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ และการฟื้นตัวลักษณะไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภาคส่วน แต่ภาวะการเงินยังอยู่ในระดับผ่อนปรนซึ่งเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับยังคงต้องระมัดระวังความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินภายใต้ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำยาวนาน โดยเฉพาะพฤติกรรม search for yield รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ของภาคเอกชนและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องรอดูการพิจารณาดอกเบี้ยของแบงก์ชาติที่จะเกิดขึ้นในวันที่11พฤษภาคม นี้

แบงก์พาณิชย์ชิงลดดอกเบี้ยกู้อุ้มSME

ด้วยปัจจัยลบหลายๆอย่าง ธนาคารพาณิชย์ของไทยเริ่มไม่นิ่งดูดาย อาจจะพูดว่าไม่ได้นิ่งดูดายมาหลายปีแล้วก็ว่าได้ หลังจากกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและเล็ก(SMEs)อาการย่ำแย่จะบีบก็ตายจะคลายก็ตายสวนสุภาษิตไทยแบบไม่ไว้หน้ากันเลยทีเดียว ด้วยภาวะเศรษฐกิจในประเทศก็ลูกผีลูกคน เศรษฐกิจนอกประเทศก็ตามเกมไม่ทันความผันผวน

งานนี้ธนาคารขนาดใหญ่ของไทยถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ เอามือก่ายหน้าผากแล้วกายหน้าผากอีก ก่อนประกาศหั่นดอกเบี้ยเงินกู้โดยไม่รอให้แบงก์ชาติหั่นดอกเบี้ยนโยบายด้วยซ้ำ ด้วยสถานการณ์แบบนี้เป็นการคาดเดายากว่าแบงก์ชาติจะลดดอกเบี้ยในการประชุมกนง.ครั้งต่อไปหรือไม่ การลดดอกเบี้ยเงินกู้ของแบงก์พาณิชย์รอบนี้แน่นอนว่าอาจจะมีผลกระทบต่อการทำกำไรไตรมาส 1/59ของธนาคารแน่นอน แต่การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อาจจะก่อตัวขึ้นมาได้อีกครั้ง

SCBชิงตัดเนื้อร้ายยื้อชีวิตSMEs

สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศยังคลุมเครือ ส่งผลให้แบงก์ขนาดใหญ่อย่างธนาคารไทยพาณิชย์ถึงกับต้องลุกขึ้นมาหั่นดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเจ้าแรกของอุตสาหกรรมธนาคารเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้แบงก์พาณิชย์รายอื่นลุกขึ้นมาลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงตาม

SCB

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวว่า ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมแบ่งเบาภาระทางการเงินของลูกค้า จึงได้ตัดสินใจเป็นผู้นำด้วยการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate หรือ MLR) ลง 0.15% ต่อปี เพื่อให้เศรษฐกิจและธุรกิจของลูกค้าสามารถเดินหน้า และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.375%ต่อปี

Banthoon03

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ระบุว่า ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มแอลอาร์ (MLR) ลง 0.25% เป็น 6.25% สนองตอบนโยบายของภาครัฐในการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งถือเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศ การปรับอัตราดอกเบี้ย MLR ลดลง 0.25% เหลือ 6.25% ครั้งนี้

วรภัค

ด้านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ไม่น้อยหน้า นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้เช่นกัน เพื่อร่วมขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยลดต้นทุนทางธุรกิจ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น ธนาคารได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลง 0.25% ต่อปี จากเดิมอัตรา 6.525% ต่อปีเหลืออัตรา 6.275% ต่อปี

บุญทักษ์

ส่วนธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มแอลอาร์ (MLR) และเอ็มอาร์อาร์ (MRR) 0.25% เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของทีเอ็มบีนี้ จะช่วยให้ต้นทุนดอกเบี้ยของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลดลง ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการ นับเป็นการสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มแอลอาร์ของธนาคารจะปรับลดลงจากเดิม 7.025% เป็น 6.775% และเอ็มอาร์อาร์ลดลงจาก 8.025% เป็น 7.775%

นักวิเคราะห์หุ้นชี้แบงก์หั่นดอกเบี้ยกู้ทำดีที่สุดแล้ว

นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทิสโก้ จำกัด ระบุว่า การปรับลดดอกเบี้ยขาเดียวของกลุ่มธนาคารในช่วงที่ผ่านมาครั้งนี้ไม่ได้มาจากแบงก์ชาติกดดัน แต่เนื่องมาจากอุปทานที่เริ่มชะลอตัวลงหลังการกระตุ้นการบริโภคในไตรมาส4/58และสินเชื่อรถยนต์หมดลง จึงมองว่าการรวมใจหั่นดอกเบี้ยลงรอบนี้ทำเพื่อช่วยกระตุ้นGDP มากกว่าการทำเพื่อรักษาถคุณภาพสินเชื่อ ทั้งนี้ จากช่องว่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและเงินฝากที่ลดลงทำให้การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้กระทบส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) แน่นอน

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP