WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ไทยพาณิชย์ชูกลยุทธ์ Industry Solution ทางการเงินเจาะ SME อุตสาหกรรม++

ธนาคารไทยพาณิชย์ รุกธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอี ผุดกลยุทธ์ Industry Solution ตอบโจทย์ลูกค้ารายอุตสาหรรมด้วยโซลูชั่นทางการเงินครบถ้วนทุกความต้องการ นำเสนอแพ็คเกจนำร่องเจาะ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีความต้องการเฉพาะด้าน ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภาครัฐ ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ และธุรกิจเคมีภัณฑ์ มอบข้อเสนอที่แตกต่างเพื่อประโยชน์สูงสุดของเอสเอ็มอีแต่ละกลุ่ม ตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างปี 2559 เติบโต 4-6% ยอดสินเชื่อใหม่ไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท

thumbnail_6x4IMG_0797

นายวิพล วรเสาหฤท รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากได้ทำงานร่วมกับลูกค้าจากหลายอุตสาหกรรม ธนาคารพบว่าการให้บริการทางการเงินในรูปแบบสินเชื่อและผลิตภัณฑ์เดี่ยวๆ แบบเดิมนั้นอาจไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ธนาคารจึงกำหนดกลยุทธ์ Industry Solution ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงให้กับลูกค้าเป็นรายอุตสาหกรรม ด้วยโซลูชั่นทางการเงินแบบครบวงจรที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม

เนื่องจากแต่ละอุตสาหกรรมมีความต้องการทางการเงินและวงจรการดำเนินธุรกิจที่ต่างกัน ทั้งด้านความต้องการสินเชื่อ การบริหารจัดการธุรกรรมทางการเงิน ซึ่ง Industry Solution สามารถที่จะตอบโจทย์ให้กับเอสเอ็มอีได้อย่างตรงจุด สามารถอนุมัติวงเงินสินเชื่อได้รวดเร็วมากขึ้น และต่อยอดไปยัง value chain ของลูกค้าเพื่อเสริมศักยภาพ Network ของลูกค้าให้เข้มแข็งมากขึ้น รวมถึงสามารถสร้างโอกาสในการทำ Business Matching ให้กับลูกค้าได้อีกด้วย

ธนาคารมีการพัฒนาโซลูชั่นทางการเงินเบื้องต้นไว้สำหรับ 5 อุตสาหกรรม ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภาครัฐ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ และ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง นอกจากนี้ ยังมีโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมอื่นตามมาอีกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปีนี้

Presentation2

“ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจเอสเอ็มอีและความใกล้ชิดกับลูกค้า ทำให้ธนาคารเข้าใจการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เรารู้ว่าในแต่ละธุรกิจมีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะมีความต้องการวงเงินประเภทหนังสือค้ำประกันหลากหลายประเภท ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มต้องการวงเงินเป็นฤดูกาล ธุรกิจโลจิสติกส์จะต้องการวงเงินประเภทเช่าซื้อรถเป็นหลัก ส่วนธุรกิจซื้อมาขายไปจะเน้นวงเงินประเภทสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการสต๊อคสินค้า เป็นต้น ความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริงทำให้ธนาคารสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตรงกับความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งสะดวก ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และช่วยให้การอนุมัติวงเงินสินเชื่อทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น”

นายวิพล กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารจะมุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อใหม่ในลูกค้าเอสเอ็มอี รวมถึงการเข้าไปดูแลคู่ค้าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในซัพพลายเชนของลูกค้าด้วย รวมถึงการส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ต้องการออกไปทำการค้าระหว่างประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการให้ความรู้และคำแนะนำในการทำการค้ากับคู่ค้าต่างประทศ รวมถึงการพัฒนาโซลูชั่นทางการเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ จะดูแลลูกค้าให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างจังหวัดให้มากขึ้นด้วยบริการที่ใกล้ชิด โดยในปี 2559 ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายยอดสินเชื่อคงค้างเติบโตประมาณ 4-6% จากปี 2558 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยมียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 3.6 แสนล้านบาท และตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ประมาณ 80,000 – 100,000 ล้านบาท

ธุรกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP