WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
CAT เร่งขยายโครงข่าย LoRaWAN เชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะ IoT ##

25 ธันวาคม 2560 : นายณัฏฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT) เปิดเผยว่า ได้เร่งดำเนินการขยายโครงข่ายดังกล่าวให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการพร้อมกับเตรียมเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ ในช่วงต้นปี 2561 ภายใต้ชื่อ “LoRa IoT by CAT”

นำร่องโครงข่าย LoRa ให้บริการเต็มรูปแบบที่ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ ขณะนี้ CAT ได้ติดตั้งโครงข่าย LoRa ให้บริการ IoT ในพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีความต้องการใช้บริการมาก เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น และโดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตต้นแบบเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของประเทศไทยที่โครงข่ายได้ติดตั้งอย่างสมบูรณ์ มีการใช้งาน IoT กันอย่างแพร่หลายทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว

LoRa Logo 1

โดยปี 2560 CAT ได้ทดลองให้บริการ IoT ผ่านโครงข่าย LoRa และได้ผลตอบรับในการทดสอบการใช้งานดีเป็นที่น่าพอใจ อาทิ ระบบ Tracking System เพื่อติดตามตัวบุคคล ระบบ Smart Logistic ในการติดตามและตรวจสอบตำแหน่งรถต่างๆ ในเมืองภูเก็ต เป็นต้น

ทั้งนี้ โครงข่าย LoRa (Long Range Wide Area Network) ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT กับเซิร์ฟเวอร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารของอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและใช้พลังงานต่ำด้วยเทคโนโลยี LPWAN (Low Power WAN) รองรับอัตราการรับส่งข้อมูลขั้นต่ำเริ่มต้นที่ประมาณ 0.3 kbps ถึง 50 kbps

ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานของอุปกรณ์ที่ต้องการการส่งข้อมูลที่แบนด์วิทไม่สูงมาก เช่น อุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ มีจุดเด่นด้านประหยัดพลังงานที่ทำให้อุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานบนโครงข่าย LoRa มีอายุการใช้งานยาวนานหลายปีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานบนโครงข่ายเทคโนโลยีอื่น ๆ รวมทั้งโครงข่าย LoRa มีการส่งสัญญาณได้ครอบคลุมกว้างขวางเหมาะสมต่อการใช้งานในพื้นที่กว้างใหญ่

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ล่าสุดโครงข่าย LoRa ได้มีบทบาทเป็นโครงข่ายรองรับการพัฒนานวัตกรรมด้านสมองกลฝังตัวสนับสนุนงานอนุรักษ์ดูแลผืนป่าและสัตว์ป่าที่เขาใหญ่ ในงานประกวด TOP GUN Rally 2018 ซึ่งCAT ร่วมกับ TESA, กรมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ปราจีนบุรี) กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7-13 มกราคม 2561

โดยนำโครงข่าย LoRa ติดตั้งบนพื้นที่เขาใหญ่เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงข่ายกลางในการสื่อสารของอุปกรณ์สมองกล ที่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จะประชันคิดค้นขึ้นในการแข่งขันเพื่อตอบโจทย์อุทยาน 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันกิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีของประเทศอีกด้วย logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

ไอที ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP