4 ธันวาคม 2560 : เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี 2560 แล้ว หลายคนเริ่มแผนที่เที่ยวช่วงวันหยุดยาวช่วงปลายปีกันแล้ว แต่ก็มีคนอยู่บางกลุ่มที่เริ่มวางแผนทางการเงินอย่างจริงในปีหน้าก็มีไม่น้อย เพราะเรื่องเงินๆทองๆสำคัญสำหนับในยุคปัจตุบัยและอนาคต
แต่ก็มีหลายคนเช่ยเดียวกันที่ปล่อยปะละเลยเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลต่างๆนานาในการเป็นข้ออ้างว่า “ยังไม่พร้อมที่จะออมเงิน” พอมารู้ตัวอีกทีก็สายไปกันหลายคน แล้วมักมีคำว่า “รู้งี้” ตามมาอย่างไม่หยุดหย่อน
การวางแผนทางการเงินนั้นสำคัญอย่างไร? คนที่มีความรู้เรื่องการนำเงินต่อเงินก็อาจจะไม่ต้องอธิบายกันมาก แต่สำหรับคนที่ไม่เข้าใจเนื่องการนำเงินต่อเงินนั้น หลายคนก็ยังงงกันอยู่ ถ้าลงลึกไปยังกลุ่มฐานล่าง เขาจะนึกถึงเรื่องของการเสี่ยงโชคในรูปแบบต่างๆ การพนันทุกชนิด หวยใต้ดิน หวยบนดิน เล่นแชร์ ฯลฯ ซึ่งการต่อเงินแบบนี้เป็ยวิธีที่ผิด นอกจากจะเสี่ยงคุกเสี่ยงตารางแล้ว ยังเสี่ยงเงินในกระเป๋าหายไปด้วย
สำหรับหรับนักลงทุนรายย่อยๆ ที่กำลังวางแผนการลงทุน การลงทุนผ่านกองทุนนั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี มากกว่าเงินฝากธนาคาร และการลงทุนผ่านกองทุนหลายแห่งเริ่มกระจายสู่รากหญ้ามากขึ้น โดยลงทุนขั้นต่ำ500 บาทต่อครั้ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับนักลงทุนรายย่อยๆให้สามารถเข้าถึงการออมผ่านกองทุนต่างๆได้มากขึ้น
ส่วนคนที่มีเงินหน่อย ก็สามารถวางแผนการลงทุนผ่านกองทุนเได้แบบสบายๆด้วย “4 ขั้นตอนออกแบบพอร์ตกองทุนรวมแบบ DIY”
1.กำหนดเป้าหมายของพอร์ตการลงทุน
ควรแยกพอร์ตฯ ตามแต่ละเป้าหมาย เพราะมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไปตามลำดับ ความสำคัญ และระยะเวลาที่ต้องบรรลุเป้าหมาย ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกประเภท กองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละพอร์ตฯ เช่น เป้าหมายเก็บเงินดาวน์เพื่อซื้อบ้าน 300,000 บาท ในอีก 3 ปี เป็นเป้าหมายระยะสั้น ที่สำคัญ ถ้าไม่อยากให้พลาด ก็ไม่ควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะมีโอกาสขาดทุนสูง
เป้าหมายเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ 3,000,000 บาท ในอีก 30 ปี เป็นเป้าหมายที่ สำคัญเช่นกัน แต่มีระยะเวลาในการลงทุนนาน ดังนั้นก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุน ที่มีความเสี่ยงสูงได้ เพราะหากพิจารณาผลตอบแทนย้อนหลังจะพบว่าระยะเวลาจะ ช่วยถัวเฉลี่ยความเสี่ยง และมีโอกาส ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า
2.สำรวจตนเอง
พิจารณาระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ทั้งใน แง่ของทัศนคติที่มีต่อการลงทุน อายุ ฐานะ การเงิน และความอดทนต่อการขาดทุน เช่น วัยเริ่มทำงาน อายุน้อย ไม่มีภาระ มีระยะ เวลาในการลงทุนยาว ก็สามารถรับความ เสี่ยงได้สูง แต่หากเป็นวัยกลางคน มีภาระ เยอะ แถมเหลือเวลาลงทุนไม่นาน ก็จะรับ ความเสี่ยงได้ต่ำ
3.จัดพอร์ตการลงทุน
ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงและเป้าหมายการลงทุน เช่น เป้าหมายเก็บเงินดาวน์เพื่อซื้อบ้าน 300,000 บาท ในอีก 3 ปี ไม่อยากให้เงินเก็บก้อนนี้เสี่ยงมาก ก็อาจจะจัดพอร์ตแบบระมัดระวัง (Conservative) เป็นกองทุนรวมตราสารเงิน 30% กองทุนรวมตราสารหนี้ 40% และกองทุนรวมตราสารทุน 30% ก็จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 5.9% ต่อปี เป้าหมายเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ มีระยะเวลายาว สามารถจัดพอร์ตตามช่วงวัยได้ เช่น
วัยเริ่มทำงาน: รับความเสี่ยงสูงได้ อาจจัดพอร์ตเชิงรุก (Aggressive) เป็นกองทุนรวมตราสารเงิน 10% กองทุนรวมตราสารหนี้ 20% และกองทุนรวมตราสารทุน 70% ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 9.5% ต่อปี
วัยกลางคน: รับความเสี่ยงได้ปานกลางเพราะมีภาระครอบครัวมากขึ้น อาจจัดพอร์ตเชิงปานกลาง (Moderate) เป็นกองทุนรวมตราสารเงิน 20% กองทุนรวมตราสารหนี้ 30% และกองทุนรวมตราสารทุน 50% ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 7.7% ต่อปี
สมมติฐานอัตราผลตอบแทนต่อปี : กองทุนตราสารทุน 12% / กองทุนตราสารหนี้ 5% และกองทุนตราสารเงิน 1%
4.เริ่มลงทุนได้เลย ที่สำคัญคือ ต้องลงทุนตามแผนอย่างมีวินัย โดยหมั่นตรวจสอบผลการดำเนินงานของ กองทุนรวมเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางให้เหมาะสมตามเป้าหมายที่วางไว้จนประสบความสำเร็จ