17 ตุลาคม 2560 : หลายคนมักบ่นกันว่า “ลงทุนในหุ้นไม่เห็นจะรวยเหมือนคนอื่นที่ออกมาเป็นข่าวให้ได้อ่านเลย ยิ่งลงทุนยิ่งได้ขึ้นที่สูง หนาวเหน็บยิ่งกว่ายอดเขาเอเวอร์เรสต์เสียอีก” หากนักลงทุนบ่นแบบนี้ แสดงว่า เขายังลงทุนในแบบฉนับของเขา และใช้ความเรียกร้องภายในใจมากใช้สติในการตัดสินใจก่อนลงทุน
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรฯ หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเป็นการร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงขอหยิบยกปรัชญา “ความพอเพียง” หรือ”เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อหลักการลงทุนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปรัชญาดังกล่าว หลากเข้าใจอย่างท่องแท้และนำมาใช้ร่วมกับชีวิตประจำวัน หลายคงจะประสบความสำเร็จแน่นอน
ปรัชญา “ความพอเพียง” หรือ”เศรษฐกิจพอเพียง” หลายคนยังตีความแบบงูๆปลาๆ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง และที่สำคัญ ฟังแค่หัวประโยคแล้วนำไปตีความแบบผิดๆ โดยไม่ได้ทำความเข้าในตัวบริบทที่ขยายความของหัวข้อแบบชัดเจนก็มีมาก ทำให้มองปรัชญาดังกล่าวว่าไม่ช่วยให้เกิดความก้าวหน้า เพราะ “พอเพียง” “เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัตน์ นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม” พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
วางแผนลงทุนในหุ้นตาม “ปรัชญาความพอเพียง” คราวนี้เรามาทำความเข้าใจในหัวข้อสำคัญนี้กัน ว่าเล่นหุ้นตามปรัญญาความพอเพียงจะรวยได้อย่างไร??
นายสมพจน์ พัดสุวรรณ Independent Wealth Consultant ผู้ก่อตั้งเพจ WealthGuru นักวางแผนทางการเงิน อธิบายกลยุทธ์ลงทุนแบบฉบับ “ปรัญญาความพอเพียง” ไว้อย่างน่าสนใจเลยที่เดียว เลยขอหยิบยกกลยุทธ์ลงทุนดังกล่าว มาบอกเล่าสู่กันฟัง
นายสมพจน์ กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่า “ปรัชญาความพอเพียง”
เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ เรื่องของเกษตรกร
เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ แค่การประหยัดเท่านั้น
เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ เรื่องของคนจน
เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ การไม่พัฒนา อยู่ที่เดิม
เข้าใจว่า การลงทุนแบบทุนนิยม ไม่เกี่ยวข้องกับ “ปรัชญาความพอเพียง”
นั้นคือความเข้าใจผิดของคนไทย ต่อแก่นแท้ของปรัชญาความพอเพียง แท้จริงแล้วปรัชญาความพอเพียงคือ… กรอบการตัดสินใจที่จะช่วยทำให้พวกเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ทั้งความรู้และคุณธรรม บนพื้นฐานของหลักการพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลของสิ่งของวัตถุ สังคม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม จากความหมาย เรามาดูวิธีการนำไปใช้ ผมแบบหลักคิดเป็นรูปของกระบวนการซึ่งจะต้องมี
1. Input หรือ ข้อมูลที่จะใส่เข้าไป 2 ตัวหลัก
1.1 ความรู้ (Knowledge) คือ จะต้องมีความรู้และเข้าใจในสิ่งที่จะทำ ยิ่งรู้ละเอียดและลึกมากเท่าไรในสิ่งนั้น เลือกเป็นนักลงทุนแบบใด แบบ value investor หรือ technical ถ้าเลือกแบบ value investor ควรจะรู้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น วิเคราะห์ธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจ วิเคราะห์งบการเงิน วิเคราะห์รูปของรายได้ ประมาณการกำไรของบริษัทได้ ประมาณราคาหุ้นในอนาคตได้ รู้จักพอร์ตการลงทุนของหุ้น แบ่งเป็น หุ้นคุณค่า หุ้นเติบโต และอื่นๆ รู้จักจังหวะเข้าทำการซื้อและขาย จิตวิทยาการลงทุน
1.2 คุณธรรม (virtues) คือ ความรู้ที่ดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีคุณธรรมประจำใจด้วย ตัวอย่างการพิจารณาด้าน เลือกบริษัทที่มี good governance หรือ ธรรมาภิบาล บริษัทมีการจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่างๆ ผู้บริหารมีคุณธรรมไม่มีการ insider trade มีความซื่อสัตย์กับสังคม คู่ค้า ลูกค้า และคนอื่นๆ ไม่ลงทุนในบริษัท เช่น ค้าอาวุธ เหล้า หรือ มลพิษทางอากาศ
2. Process หรือ กระบวนการคิด 3 ตัวหลัก ทั้ง 3 ตัวหลักจะต้องมีร่วมกัน ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ ถ้าขาดให้ถือว่า คิดไม่ครบด้านจะไม่ใช่ปรัชญาความพอเพียง
2.1 พอประมาณ (Moderation) คือ การไม่ทำอะไรเกินตัว รู้จักพอ รู้จักความสามารถของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น มีหนี้เยอะเกินไปหรือไม่? อย่าละโมบในการลงทุน อย่าลงทุนในหุ้นปั่น มีเงินเพียงพอจริงในการลงทุน? ต้องไปกู้เงินมาลงทุน?
2.2 มีเหตุผล (Reasonableness) คือ การเข้าใจหลักการ Causes and Effects หลักการเหตุและผลของการกระทำของเรา ถ้าทำสิ่งนี้ จะทำให้สิ่งนั้นตามมา ยกตัวอย่างเช่น อย่าเล่นหุ้นด้วยอารมณ์โดยเด็ดขาด ยึดมั่นในหลักการในการลงทุน อย่าเล่นหุ้นตาม กูรู เซียน
2.3 มีภูมิคุ้มกัน (Prudence) คือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น การเผื่อเงินสดฉุกเฉินให้เพียงพอไว้ถ้าเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะต้องมีค่าเผื่อการลงทุน หรือ safety of margin จะต้องรู้ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นตัวที่เราถืออยู่ ถ้าความเสี่ยงเกิดจริงๆ ต้องรู้ cut จะต้องรู้หลักการของ risk-reward ในการลงทุน
3. Output หรือ ผลที่จะได้จะต้องสร้างความสมดุล 4 ด้านคือ 3.1 สิ่งของวัตถุ (Material) รู้จักใช้เงินทอง ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทำให้เกิดความมั่งคั่งส่วนบุคคล เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงิน
3.2 สังคม (Social) กิจการที่เราไปลงทุนนำเงินไปพัฒนาบ้านเมือง อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสุข ไม่เบียดเบียนกัน
3.3 วัฒนธรรม (Cultural) กิจการที่เราไปลงทุนนำเงินทำ CSR ทำให้เกิดคุณค่า ร่วมอนุรักษ์ค่านิยม ทำให้มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรม
3.4 สิ่งแวดล้อม (Environmental) กิจการที่เราไปลงทุนนำเงินไม่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ดั่งที่ในหลวง ร.9 ได้ให้คำสอนไว้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง คำว่าความพอเพียง นั้นหมายถึงความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น จากทั้งภายนอกและภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง
ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัตน์ นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม