WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
คปภ. เร่งเตือน 30 ต.ค.นี้ เจ้าหนี้ “สัจจะประกันภัย” มาแสดงตัวขอรับชำระหนี้##

28 กันยายน 2560 : ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1196/2560 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2560 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

และคำสั่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ 5/2560 เรื่องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2560 เนื่องจากบริษัทฯ มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน และมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายประการ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยและประชาชน รวมถึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของบริษัทได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

oic ดร.สุทธิพล

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้วางแนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชนในเรื่องนี้เอาไว้หลายประการ ได้แก่ ความร่วมมือจากบริษัทประกันวินาศภัยเพื่อรับโอนกรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันภัยไว้กับบริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) และยังมีผลผูกพันอยู่ จึงขอความร่วมมือให้ผู้เอาประกันภัย ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยในแบบเดิม ระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี กับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งบริษัทจะขยายความคุ้มครองให้กับผู้เอาประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่เหลือของกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้กับบริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยไม่มีการคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม

สำหรับกรณีที่กรมธรรม์มีค่าเสียหายเกิดขึ้นแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายนั้นให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้ชำระบัญชีกำหนด

สำหรับรายชื่อบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยในครั้งนี้มีจำนวน 23 บริษัทประกอบด้วยบมจ. กรุงเทพประกันภัย บมจ.กรุงไทยพานิชประกันภัย บจ. กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ, บมจ. โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย), บมจ. ทิพยประกันภัย, บมจ. เทเวศประกันภัย, บมจ. ธนชาตประกันภัย, บมจ. นวกิจประกันภัย, บมจ. นำสินประกันภัย, บมจ. ประกันคุ้มภัย, บมจ. ประกันภัยไทยวิวัฒน์, บมจ. พุทธธรรมประกันภัย,

บมจ. ฟอลคอนประกันภัย, บมจ. มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย, บมจ. มิตรแท้ประกันภัย, บมจ. เมืองไทยประกันภัย, บมจ. วิริยะประกันภัย, บมจ. สินมั่นคงประกันภัย, บมจ. เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย), บมจ. ไทยประกันภัย, บมจ. เอราวัณประกันภัย, บมจ. ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย และบมจ. ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย

ดร.สุทธิพล กล่าวด้วยว่าในส่วนของผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีได้ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2560 สิ้นสุดวันที่ 28 ธันวาคม 2560 ภายในวันและเวลาราชการ 8.30 – 16.30 น. โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประจำตัวประชาชน ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

หากไม่สามารถมายื่นได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมายื่นต่อผู้ชำระบัญชีของ บริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ 3 แห่ง คือ กองทุนประกันวินาศภัย อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2791 1444 ต่อ 11-15 และ 21-24

สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2476 9940-3 และสำนักงาน คปภ. เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนาตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2361 3769-70

ในส่วนของพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ที่ สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ เจ้าหนี้สามารถดาวน์โหลดแบบคำทวงหนี้ได้ที่ www.gif.or.th หัวข้อ “แบบฟอร์ม” ได้อีกด้วย

สำหรับเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ณ สถานที่ และภายในกำหนดเวลาที่ระบุข้างต้น พร้อมทั้งนำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการขอยื่นชำระหนี้ ดังนี้ หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) หากไม่สามารถมายื่นได้ด้วยตนเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ กรณีมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

ประกันภัย ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP