WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ซื้อประกันอย่างไรให้คุ้มและลดภาษีได้??

26 กันยายน 2560 : เมื่อวันที่ 19 ก.ย.60 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการภาษี ส่งเสริมการประกันสุขภาพให้นำเบี้ยหักลดหย่อนภาษีได้ โดยนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุไว้อย่างชัดเจนและน่าสนใจว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ โดยยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันสุขภาพตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต และการฝากเงินที่มีเงื่อนไขประกันชีวิตทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 1 แสนบาท ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.60 เป็นต้นไป

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังระบุอีกว่า สำหรับการประกันสุขภาพหมายถึง 1.การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ 2.การประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 3.การประกันภัยโรคร้ายแรง และ 4.การประกันภัยการดูแลระยะยาว

สำหรับผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ มาตรการดังกล่าวจะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่มาตรการนี้จะมีส่วนช่วยลดภาระการจัดวรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านสุขภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย

142

พอได้ยินข่าวดีแบบนี้…ทำให้ใครต่อใครหลายคนสดชื่นกันไม่เบา สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนลดหย่อนภาษีกันอยู่ในขณะนี้ สำหรับสิทธิลดหย่อนภาษีต่อปีตามมาตรการรัฐที่สนับสนุนเดิมมีอยู่หลายช่องทางด้วยกัน ทั้งเรื่องของสินเชื่อที่อยู่อาศัย การเลี้ยงดูบุพการี การบริจาคทรัพย์เพื่อสังคม การซื้อกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF การซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ RMF การซื้อประกันชีวิต ฯลฯ

ล่าสุด ผู้ที่ซื้อประกันสุขภาพก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เพิ่มเติม ก็ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ประชาชนในประเทศให้หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพสำหรับค่าใช้จ่ายพยาบาลที่ปรับตัวสูงขึ้นทุกวัน เรื่องประกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ยังดูห่างไกลคนไทยมาก ด้วยทัศนะคติลบต่างๆ ทำให้หลายคนนำเงินที่ออมมาทั้งชีวิตเพื่อมารักษาตัวยามเจ็บป่วย ด้วยทัศนะคติลบต่อการซื้อประกัน รัฐบาลเองต่างเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงยอมเสียรายได้จากภาษี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาซื้อประกันเพื่อคุมครองชีวิตมากขึ้น

ในเมื่อภาครัฐเปิดช่องทางลดหย่อนผ่านภาษีขนาดนี้แล้ว เรามาดูเทคนิคการลดหย่อนภาษีผ่านประกันกันดีกว่า กูรูของออมมันนี่ ได้เขียนเทคนิคดีๆไว้อย่างน่าสนใจ ประการแรกเลย คือ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันชีวิต หรือประกันแบบบำนาญ ว่ามันคืออะไร และประกันคือการป้องกันความเสี่ยง ไม่ใช่การออมเงินและการประหยัดภาษีเพียงอย่างเดียว

ประกันสุขภาพ

กรณีของประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำมาลดหย่อนในส่วนของประกันชีวิตได้ เพราะเงื่อนไขไม่แตกต่างกัน ซึ่งแปลว่าบางคนสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี ได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น หากมีรายได้มากกว่า 1.33 ล้านบาทต่อปี นั่นหมายความว่าสามารถเลือกซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ 250,000 บาท และประกันชีวิตแบบทั่วไป 50,000 บาท ซึ่งกฎหมายจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท (ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้)

และใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตแบบทั่วไป 100,000 บาท (ส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญที่เกินสามารถถือเป็นประกันชีวิตแบบทั่วไปได้เลย หรือ ถ้าหากใครที่ซื้อแต่ประกันแบบบำนาญอย่างเดียว 300,000 บาท ก็สามารถเอามาใช้สิทธิลดหย่อนประกันแบบบำนาญได้ 200,000 บาท และประกันชีวิต 100,000 บาทนั่นเอง

แต่เทคนิคนี้ต้องไม่ลืมว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญต้องเป็นไปตามเงื่อนไข คือใช้สิทธิลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับ RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ อยากจะแนะนำให้พิจารณาอีกทีเกี่ยวกับทางเลือกในการวางแผนภาษีด้วยประกันชีวิต จะได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างคุ้มค่า โดยมีคำแนะนำสั้นๆ 3 ข้อดังนี้

1.ต้องทำ “ประกันชีวิต” เท่านั้น (ล่าสุดรัฐเห็นชอบในส่วนของประกันสุขภาพแล้ว) ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งหลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดหรือถูกทำให้เข้าใจผิดว่า การทำประกันแบบไหนก็ตามลดภาษีได้ สิ่งทีต้องเช็ค คือ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกัน จะมีข้อมูลระบุไว้ว่า ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้กี่บาท ซึ่งตรงนี้ต้องเช็คให้ดี

2.ความคุ้มค่าของการป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น ควรพิจารณาด้วยว่าถ้าหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทุนประกันภัยที่เราได้รับนั้นคุ้มค่าหรือเปล่ากับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป ตรงนี้ต้องเลือกให้ถูกใจและตรงกับวัตถุประสงค์ด้วย

3.ระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกัน ทุกๆ อย่างจะคุ้มค่า เมื่อส่งเบี้ยประกันครบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ดังนั้น อย่าทำอะไรที่เกินกำลังตัวเองครับ ตรวจสอบกระแสเงินสดในชีวิตให้ดีว่าไหวไหม ติดขัดอะไรหรือเปล่า ไม่งั้นจะมีปัญหาในภายหลัง เสียทั้งสิทธิภาษี และผลตอบแทนที่ควรจะได้ logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

ประกันชีวิต ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP