WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
กระทรวงพาณิชย์ ตีตรามาตรฐานแฟรนไชส์ คัดคุณภาพ หวังขยายตลาดสู่สากล ##

88

8 กันยายน 2560 : นายวิเชียร ชวลิต ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การมอบหนังสือรับรองผู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ (Franchise Standard Awards 2017) เพื่อเป็นการยกระดับธุรกิจแฟรนไชส์และกลุ่มบุคคลที่ได้รับสิทธิในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ให้มีการบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือให้ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ รวมถึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถขยายตลาดในระดับสากล

สำหรับแนวทางการคัดเลือกธุรกิจเพื่อเข้ารับการพัฒนา จะประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพด้านการบริหารจัดการของธุรกิจ คือ 1.การประเมินตนเอง ที่ปรึกษาจะจัดให้ผู้เข้าร่วมโครงการจัดทำแบบทดสอบแบบประเมินตนเอง (Self Assessment Franchise Test : SAFT) โดยใช้แบบประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ 2.การประเมินโดยผู้ตรวจประเมิน ที่ปรึกษาจะเข้าตรวจประเมินผู้เข้าร่วมโครงการ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจ โดยใช้แบบประเมินมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ (Total Quality Franchise Management : TQFM)

พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาหรือการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีมาตรฐานคุณภาพ การแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงาน เพื่อยกระดับการบริหารจัดการของธุรกิจแฟรนไชส์ให้สู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจแต่ละราย โดยมีธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ จำนวน 60 ราย แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ดังนี้ กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 38 กิจการ กลุ่มธุรกิจบริการ 8 กิจการ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก 2 กิจการ กลุ่มธุรกิจความงามและสปา 4 กิจการ และกลุ่มการศึกษา 8 กิจการ

ทั้งนี้ การคัดเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการพัฒนายกระดับการบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างในการศึกษา การสร้าง ปรับกระบวนงานและพัฒนาระบบงานการบริหารจัดการธุรกิจอื่นๆ ต่อไป

นายวิเชียร กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะสามารถสร้างอาชีพ สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) ในต่างจังหวัด ซึ่งการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็กที่มีโมเดลธุรกิจไม่ซับซ้อน ใช้เงินลงทุนไม่มาก และมีแฟรนไชส์ซอร์เป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแล จะช่วยลดความเสี่ยงแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่เคยดำเนินธุรกิจมาก่อน ตลอดจนเป็นการกระตุ้น และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) ของไทย ในการเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของระบบเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

เศรษฐกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP