WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
เมื่อเข้าสู่ยุคโรโบติกส์… ชีวิตเราดีจริงหรือ????

5 กันยายน 2560 : ในยุคดิจิตอลที่ทุกวันนี้ หุ่นยนต์กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตของเรา ทุกวันนี้ฝั่ง อเมริกาและยุโรป มนุษย์ชาติเรามีรถขับได้ด้วยตัวเองกันแล้ว และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นก็ก้าวล้ำไปไกล แม้แต่ในอุตสาหกรรมโรงงาน และการผลิต ก็ต้องใช้หุ่นยนต์เป็นจำนวนมาก การพัฒนาอันล้ำเลิศของมนุษย์ชาติในยุคนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่พัฒนาโลกให้ก้าวล้ำทันสมัยควบคู่ไปกับการก้าวเข้าสู่การตกงานของประชนกรโลกที่เป็นชนชั้นรากหญ้า

ทุกท่านลองประมวลภาพโลกของเราดูจะเห็นว่า ในแต่ละประเทศจะผสมผสานชนชั้นที่หลากหลาย รวยล้นฟ้า รวยระดับกลาง ชนชั้นกลาง และระดับรากหญ้า สำหรับคนที่รวยก็เอาตัวรอดได้ดีในยุคที่หุ่นยนตร์ครองเมือง เพราะเขามีเงินทุนมากพอที่จะส่งเสริมบุคคลากรของเขาให้สามารถพัฒนาทักษะด้านความรู้ ให้สามารถอยู่เหนือหุ่นยนต์ได้ ขณะที่คนชั้นกลางก็เช่นกัน ที่ยังมีเงินทุนในการพัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกได้ดี แต่ในกลุ่มคนรากหญ้า อันนี้ดูมีความน่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย หากเขาไม่ดิ้นร้นตนเองให้มีความรู้มากๆกับโลกที่เปลี่ยนไป โอกาสที่เขาจะตกงานก็มีสูง

55

เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ นอกจากยากจนแล้วความรู้ความสามารถก็น้อยตามไปด้วย ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งเรื่องของทุนทรัพย์ เรื่องของความคิดที่ยังวนเวียนในรูปแบบเดิมๆ เรื่องของความกระตือรือร้นที่มีน้อย ทำให้บุคคลากรเหล่านี้เราจะเห็นการประกอบอาชีพในรูปแบบรับจ้างตามโรงงานต่างๆ รับจ้างขับรถเมล์ รับจ้างก่อสร้าง ฯลฯ ที่จะต้องใช้แรงงานเป็นหลัก และในอนาคตโลกของหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่มากขึ้นเรื่อยๆ คนที่ไม่ดิ้นร้นหรือถีบตัวเองให้มีความรู้ตามที่ตลาดต้องการก็จะตกงานแน่นอน

ทั้งนี้ จะเห็นได้จากในยุคปัจจุบันตามโรงงานต่างๆ เริ่มนำหุ่นยนต์ Robotics เข้ามาใช้แทนที่คนมากขึ้น ด้วยเหตุผลง่ายๆคือ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตด้านต่างๆ แถมยังสามารถผลิตได้มากกว่าใช้แรงงานคน ดังนั้น หากวิทยาการหุ่นยนต์ประดิษฐ์นี้เข้าแทรกซึมไปในทุกองค์กร บุคคลากรคนชั้นแรงงานโอกาสที่จะไม่ตกงานย่อมมีแน่ ตราบใดคนยังยึดติดกับรูปธรรมเดิมๆไม่มีการพัฒนาความรู้ให้เหนือหุ่นยนต์

ในส่วนของเมืองไทยนั้น ก็เริ่มเข้าสู้ยุคโรโบติกส์บ้างแล้ว ประการแรกเพื่อให้ประเทศก้าวล้ำทันสมัยกับประเทศอื่นๆในโลก ประการที่สองเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในกับประชากรในประเทศ ประการที่สามเพื่อลดต้นทุนในส่วนที่ไม่ควรจะเป็น ทั้งนี้ เราจะเห็นตัวอย่างการลดต้นขององค์กรรัฐที่ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี คือ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวออกมาว่า ขสมก.จ่อปลดกระเป๋ารถเมล์ 2 พันคนปี 2562 โดยการจ้างออกคนละ 1 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนและแก้หนี้สินสะสมกว่าแสนล้านบาทที่มีอยู่

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ภายหลังประชุมเกี่ยวกับแผนการจัดการบริหารหนี้สินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ว่า ขสมก. ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ซึ่ง ณ เดือนม.ค. 2560 มียอดรวมทั้งสิ้น 103,598.543 ล้านบาท

11

ทั้งนี้ ขสมก. นำเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหานี้ออกเป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. ให้รัฐรับภาระหนี้สิ้นทั้งหมด 103,598.543 ล้านบาท 2. ให้รัฐรับภาระเฉพาะหนี้สินที่เกิดมาจากนโยบายภาครัฐ วงเงินรวมทั้งสิ้น 84,898.651 ล้านบาท แบ่งออกเป็นเงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ (PSO) หรือเงินที่เกิดจากการตรึงราคาค่าโดยสารอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนตามนโยบายของรัฐบาล เฉลี่ยคันละ 3,000 บาท/วัน และบริการรถเมล์ฟรี เฉลี่ยคันละ 10,000 บาท/วัน ซึ่งมีจำนวน800 คัน/ปี และส่วนที่เหลืออีก 18,699.892 ล้านบาท ขสมก.จะรับภาระเอง 3. ให้รัฐรับภาระ PSO ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันขสมก. มีต้นทุนสูงกว่ารายได้ โดยรัฐจะต้องรับภาระรวม 55,798.089 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 47,800.453 ล้านบาท ขสมก.จะเป็นผู้รับภาระ

นายยุกต์ จารุภูมิ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร รักษาการในตำแหน่งผอ.ขสมก. กล่าวถึงแนวทางการ ลดต้นทุนด้านบุคคลกรว่า ปัจจุบันขสมก.มีบุคคลกร รวม 12,900 คน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนพนักงานเก็บค่าโดยสาร 4.8 คน/คัน ถือว่าสูงมาก จะต้องปรับลดให้เหลือ 2.4 คน/คัน

ซึ่งตามแผนฟื้นฟูตั้งเป้าต้องปรับลดพนักงานเก็บค่าโดยสารรวม 2,000 คน ในปี 2562 เพื่อให้สอดคล้องกับระบบตั๋ว โดยขสมก.เตรียมเสนอขอจัดสรรงบประมาณปี 2561 วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการเออร์ลี่รีไทร์พนักงานเก็บค่าโดยสารจำนวน 2,000 คน หรือเฉลี่ยคนละ 1 ล้านบาท เบื้องต้นทราบว่ามีพนักงานจำนวนมากที่แสดงความสมัครใจพร้อมเข้าร่วมโครงการ

จากข่าวการปรับลดพนักงานเก็บค่าโดยสารจำนวน 2,000 คนนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนให้กับขสมก.แล้ว ตอนนี้ระบบขนส่งกำลังพัฒนาการชำระค่าโดยสารผ่านบัตรใบเดียวที่สามารถชำระได้ทั้งระบบ BTS MRT BRT เรือ และรถขสมก. ด้วยระบบดิจิทัลที่พัฒนาเพื่อใช้ในอนาคต อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ย่อมทำให้แรงงานคนลดลงไปด้วย ดังนั้น การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ดีวันดีคืน คนชั้นแรงงานต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

เศรษฐกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP