กรุงเทพฯ , 25 สิงหาคม 2017 : บริษัท เทรนด์ไมโคร (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นสำหรับคลาวด์ ซิเคียวริตี้ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 พบว่า ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค1 ถูกโจมตีอย่างหนักจากแรนซัมแวร์ หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ตั้งแต่เดือน มกราคม-มิถุนายน เทรนด์ ไมโครได้บล็อกการโจมตีของแรนซัมแวร์ มากกว่า 1.2 พันล้านครั้งทั่วโลก โดย 33.7% เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เมื่อเปรียบเทียบกับกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2559 มีการโจมตีของแรมซัมแวร์ ในภูมิภาคนี้เพียง 17.6% เท่านั้น โดยประเทศอินเดียและเวียดนามเป็นสองประเทศที่พบการโจมตีของแรนซัมแวร์สูงสุดในภูมิภาคนี้ในปีนี้
ข้อมูลดังกล่าวรวบรวมผ่านทางซอฟท์แวร์ของบริษัท เทรนด์ ไมโครและวิเคราะห์โดยนักวิจัยด้านแนวโน้มของภัยคุกคามในอนาคต สำหรับภัยคุกคามที่พบรวมถึงจากแรนซัมแวร์ ช่องโหว่ต่างๆ (vulnerabilities) ชุดเจาะระบบ (exploit kits) ยูอาร์แอลที่ประสงค์ร้าย (malicious URLs) แอพปลอมบนมือถือ (fake mobile apps) มัลแวร์บนออนไลน์แบงค์กิ้ง (online banking malware) มาโคร มัลแวร์ (macro malware) และอื่นๆ
“ในช่วงครึ่งปีแรกในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์สูงขึ้นอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างการตระหนักถึงปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์ กับการดำเนินการแก้ไขปัญหา ที่ขาดการเชื่อมโยงกัน” นายดันญ่า ธัคการ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวและว่า “ทีมงานของเทรนด์ ไมโครได้สร้างระบบการกรองข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงลึกที่เราได้รวบรวมไว้ เราได้เริ่มนำเอาเทคโนโลยีการป้องกันแบบอัจฉริยะที่เรียนรู้ได้ตัวเองหรือแมคชีน เลิร์นนิ่ง สมาร์ท ดีเทคชั่น (Machine Learning Smart Detection) มาใช้ในผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของเราและได้ผลลัพธ์ที่ดี เรายึดมั่นที่จะช่วยลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกในการตรวจสอบและหยุดภัยคุกคามต่างๆ อย่างต่อเนื่องและช่วยลูกค้าในการอุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในองค์กร
การโจมตีของแรนซัมแวร์ เพิ่มขึ้นถึง 4,100% ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และ 1,305% ในประเทศไทย ซึ่งแรนซัมแวร์ เป็นข่าวหน้าหนึ่งนับครั้งไม่ถ้วน จากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของวันนาคราย (Wanna Cry) และ เพตยา (Petya) โดยการเจาะระบบของอีเทอร์นัลบลู (EternalBlue exploit) ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2017-0144 เพื่อเปิดทางให้เกิดการติดเชื้อของแรนซัมแวร์ ในวงกว้าง ในรูปแบบของ วันนาคราย (Wanna Cry) และ เพตยา (Petya)
วิธีการป้องกันแรนซัมแวร์ที่ดีที่สุดคือ การบล็อกไว้ที่แหล่งกำเนิด ด้วยเว็บโซลูชั่นหรืออีเมล์ เกตเวย์โซลูชั่น เทคโนโลยีระบบเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแมคชีน เลิร์นนิ่ง ในเอ็กซ์-เจน ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจจับภัยคุกคามแรนซัมแวร์ โดยคัดกรองผ่านกระบวนการป้องกันภัยคุกคามที่หลากหลาย ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลและการตรวจจับที่ครอบคลุมและแม่นยำ แม้แต่กับแรนซัมแวร์ ที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นใหม่หรือไม่เคยเห็นมาก่อน
· ในช่วงครึ่งปีแรก ยังตรวจพบการเพิ่มขึ้นของมัลแวร์ถึง 463 ล้านครั้ง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงทิ้งห่างภูมิภาคอื่นๆ เป็นอย่างมาก อันดับที่สองคือ ภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NA) พบ 324 ล้านครั้ง ยุโรปและตะวันออกกลาง (EMEA) 169 ล้านครั้ง มัลแวร์สามอันดับแรกที่ตรวจพบสูงสุดในประเทศไทย คือ แอนด์รอม (ANDROM) ซาลิตี้ (SALITY) และ ดาวน์แอด(DOWNAD)
· เทรนด์ไมโครยังพบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ได้ดาวน์โหลด แอพที่ประสงค์ร้าย (Malicious App) มากกว่า 47 ล้านครั้ง สูงกว่าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรปและตะวันออกกลาง (EMEA) 29 ล้านอเมริกาเหนือ (NA) ตัวเลขต่ำเพียง 8 ล้านครั้ง ลาตินอเมริกา 6 ล้านครั้ง และ CIS (Commonwealth of Independent State) พบเพียง 1 ล้านครั้ง
· นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก ยังพบว่าตัวเลขของ มัลแวร์ออนไลน์ แบงค์กิ้งในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก สูงเป็นอันดับหนึ่ง คือ 118,193 ครั้ง และพบว่ามีการโจมตีสูงสุดคือ ประเทศเวียดนาม และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่สองจากอันดับท้าย ตามหลังด้วยประเทศอินโดนีเซีย