กรุงเทพฯ, 23 สิงหาคม 2560 : ผลจากการสำรวจวิจัยระดับโลกโดย บริษัทซีเอ เทคโนโลยี ชี้ให่้เห็นว่าประเทศไทย ก้าวเป็นผู้นำในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านการใช้งาน API หรือ Application Programming Interface แล้วโดยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ปัจจุบันได้ใช้งาน API แล้วในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล
การสำรวจนี้ใช้ชื่อว่า API สู่การสร้างความเชื่อมโยงทางธุรกิจในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น (APIs: Building a Connected Business in the App Economy ) ได้นำข้อมูลวิเคราะห์จากการตอบแบบสอบถามจากบรรดาผู้บริหารระดับสูงทางธุรกิจและผู้บริหารไอทีจำนวน 1770 รายทั่วโลก โดยมี 799 ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น(APJ) โดยรวมประเทศไทยด้วย ผลการสำรวจนี้มุ่งเป้าไปที่หาข้อมูลเชิงลึกว่า องค์กรบริษัทต่างๆสามารถนำ API เข้ามา ขยายธุรกิจของตนในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นอย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ บริษัท หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ยังได้รับผลตอบแทนมหาศาลตามการวัดค่า KPIs เชิงปริมาณ จากการลงทุนลงแรงในด้าน API โดยตัวผลการสำรวจได้ระบุดังนี้
· สามารถลดจำนวนความล้มเหลวของ การตรวจสอบที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบภาครัฐ ลงได้ 55 เปอร์เซ็นต์
· ลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่เกี่ยวข้อง 55 เปอร์เซ็นต์
· เพิ่มความพอใจของลูกค้าได้ 53 เปอร์เซ็นต์
· เพิ่มปริมาณยอดการทำธุรกรรม 53%
· เพิ่มความพอใจในการทำงานกับ ของพาร์ตเนอร์และคู่ค้า 52 เปอร์เซ็นต์
อัตราการปรับปรุงพัฒนานี้ยังจัดว่าสูงที่สุดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ สูงที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดยอยู่อันดับรองจากประเทศอินเดียและยังจัดว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ซึ่งที่อยู่ที่ 43-44 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละการวัด KPIs
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับคะแนนที่ดีในด้านการใช้งาน API แต่บริษัทและองค์กรต่างๆ ยังคงตามหลังในเรื่องของ การนำโปรดักต์ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วโดย ในแง่นี้มีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้นเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ ในด้านของเวลาที่ใช้ในการพัฒนาโปรดักต์ ทดสอบและออกแอพพ์ใหม่ๆ มาสู่ตลาดและอัตรานี้ เป็นการวัดหลังการใช้งาน API ด้วยซึ่งจัดว่าอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นซึ่งอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์
จะเห็นว่า เป้าหมายการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จาก APIs นั้น เส้นทางการพัฒนาก็มีอุปสรรคด้วยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างออกไปตามแต่ละประเทศ โดยในประเทศไทยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ยังขาดทรัพยากรแรงงานที่มีทักษะฝีมือในการนำประโยชน์จากการใช้งาน API มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่มีอีก 41 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า คือปัญหานี้ รวมกับปัญหาขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่อีกส่วนระบุว่า มีปัญหาในด้านขีดความสามารถในการปรับขยายขนาดตามการใช้งานหรือการบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงานโดย 2 อันหลังนี้จะ มีผู้ตอบแบบสอบถามระบุไว้ในอัตรา 37 เปอร์เซ็นต์
“ความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นปัจจุบัน หมายความว่าการเชื่อมโยงโปรดักต์ที่มีให้ตรงกับความต้องการจำเป็นของลูกค้า เชื่อมโยงลูกค้ากับการใช้งาน app ในอุปกรณ์ต่างๆและเชื่อมโยงบริษัทองค์กรหน่วยงานต่างๆให้เข้ากับ ระบบทำงานกับพาร์ตเนอร์เป็นเรื่องสำคัญ โดย APIจะเป็นตัวตั้งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบจิตอลและเป็นศูนย์กลางประสานงานสำคัญที่ช่วยให้การเชื่อมต่อต่างๆสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและมีความรักษาความปลอดภัย ในขณะที่นำเสนอบริการที่มีคุณภาพได้ ” นิค ลิม รองประธานภูมิภาคอาเซียนและจีน และภูมิภาครายรอบจีน บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าว