WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ช่างเป็นโลก(EARTH)ที่ดูซับซ้อน เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้??

14 สิงหาคม 2560 : หากจะพูดถึงการลงทุน หุ้น คือ สินทรัพย์เสี่ยงที่สร้างผลตอบแทนได้เป็นกอบเป็นกำ แต่นั้นหมายความว่าเราเลือกลงทุนที่ “ถูกตัวไม่ใช่แค่ถูกใจ” เพราะมีนักลงทุนไม่น้อยที่เจ็บหนักก็หลายราย แต่ก็มีนักลงทุนที่ “เจ็บแล้วไม่จำ” ก็มีเยอะ อย่างไรก็ตาม กูรูด้านการวางแผนทางการเงิน ยังคงยืนยันว่า การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในหุ้น เป็นการลงทุนที่สามารถต่อเงินให้ขยับตัวเพิ่มขึ้นได้สูงเมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์อื่น

แต่เมื่อปลายปี 59 นักลงทุนต้องมาติดกักดักการลงทุนแบบงง ผ่านตัวหุ้น IFEC ที่เป็นข่าวใหญ่โตจนตราบทุกวันนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังคงแขวนป้าย SP (ห้ามซื้อขาย)อยู่ทุกวันนี้ นักลงทุนต่างเจ็บตัวไปตามๆกัน และเหตุการณ์นี้จุดเริ่มต้นมาจากหลายสาเหตุจนก่อนให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ตัวเงินระยะสั้น (บี/อี) หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างเข้มงวดกรวดขัน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก แต่เพียงไม่กี่เดือนนับจากต้นปี อยู่ๆ หุ้นถ่านหินที่นักลงทุนพร้อมเทใจเข้าลงทุนในหุ้นดังกล่าว ด้วยงบที่ออกมาสวยหรู ผลกำไรโตเป็นกอบเป็นกำในแต่ละปี แถมบริษัททริสเรทติ้ง ยังให้เรตติ้งอันดับที่ดีที่ BBB- ถือเป็นการันตีตัวบริษัทอีกทางหนึ่ง แต่หลังจากทริสเรทติ้งประกาศคงเครดิต EATRH แล้ววันต่อมาEATRH ก็ผิดนัดชำระหนี้บี/อีแถมแบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อให้อีก งานนี้ทริสเรตติ้งประกาศหั่นเครดิตลงทันทีเป็น”D” เรื่องราวดูแปลกๆงงจนนักลงทุนที่ออกไม่ทันก็ติดSPจนทุกวันนี้

earth2_logo

ล่าสุด เพจลงทุนแมนได้ออกมาอธิบายถึงกรณี EATRH เพื่อเป็นกรณีศึกษาว่า บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) (EARTH) เข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ MAI เมื่อปี 2553 ด้วยวิธีการ Backdoor หุ้น APC บริษัทนี้เป็นบริษัท trading ถ่านหิน มูลค่าบริษัท (market cap) เคยมากสุดถึง 30,000 ล้านบาท ในปี 2013 ช่วงก่อนที่จะเกิดเรื่อง market cap ของบริษัทมีมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท ธุรกิจหลักของบริษัทนี้คือว่าจ้างบริษัทอื่นไปขุดถ่านหินในเหมืองที่อินโดนีเซีย และส่งออกไปขายให้ประเทศต่างๆ ประเทศหลักคือจีน ซึ่งก็ดูเหมือนเป็นธุรกิจที่คล้ายๆกับบริษัทถ่านหินอื่นในตลาดหลักทรัพย์ไทย แต่เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งหุ้นได้ตกลงมา -30% ภายในวันเดียว หรือ FLOOR ซึ่งเรียกได้ว่าคนที่ขายหุ้นอยากขายทุกราคาเลยทีเดียว

“11 พ.ค.60 ราคาหุ้นร่วง FLOOR แรก 12 พ.ค.60 ราคาหุ้นร่วง FLOOR สอง”

สองวันนั้นทุกคนสงสัยว่าหุ้นนี้เกิดอะไรขึ้น มีข่าวลือว่าผู้บริหารทะเลาะกัน ต่อมาผู้บริหารปฏิเสธว่ายังรักกันดี และพื้นฐานบริษัทไม่เปลี่ยน ที่ราคาลงเป็นไปตามภาวะตลาดในตอนนั้น นี่คือจุดเริ่มต้นของมหากาพย์ทั้งหมด และความจริงต่อมาไม่ได้เป็นอย่างที่ผู้บริหารพูด ช่วงนั้นทุกคนจะมีคำถามว่าใครเป็นคนทุบหุ้น EARTH กันแน่ สรุปคำตอบก็คือ เจ้าของหุ้น EARTH เอง เพราะเจ้าของเอาหุ้นตัวเองไปค้ำประกันกับโบรคเกอร์ เพื่อกู้เงินก้อนไปลงทุนในธุรกิจอื่น ซึ่งจำนวนหุ้นที่ถูกบังคับขายตามรายงาน 246-2 มีมากถึง 9.59% ของบริษัท หรือ 339,160,100 หุ้นที่น่าสนใจคือในรายงาน 59-2 ซึ่งเป็นรายงานของการขายของผู้บริหาร ราคาที่ถูกบังคับขายในรายงานคือ FLOOR แรกที่ 2.84 บาทต่อหุ้น และ FLOOR ที่สอง 1.98 บาทต่อหุ้น

โดยจำนวนหุ้นส่วนใหญ่จะถูกขายในราคา FLOOR ที่สองต่อมาผู้บริหารยอมรับว่ากู้เงินโบรคโดยเอาหุ้นค้ำ เพราะเอาเงินไปทำอย่างอื่น พอราคาหุ้นตก ทำให้ต้องถูก FORCED SELL บังคับขายหุ้นเพื่อเอาเงินมาใช้คืนโบรค

การกู้เงินโบรคโดยเอาหุ้นค้ำใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “FUTURES” FUTURES” คือ สัญญาที่อ้างอิงกับหุ้นอีกทีหนึ่ง แต่จะ leverage ได้ หมายความว่า 1 สัญญาฟิวเจอร์ส จะเท่ากับ 1,000 หุ้น แต่ใช้เงินวางน้อยกว่ามาก แต่เนื่องจากสัญญาฟิวเจอร์สในตลาดไม่มีสภาพคล่อง แต่โบรคเกอร์ก็หาวิธีที่คิดค้นขึ้นมาใหม่เรียกว่า BLOCK TRADE สามารถให้นักลงทุนซื้อ Futures ได้โดยตรงกับโบรคเกอร์ โดย ขานึงโบรคเกอร์จะรับขาย

Futures แต่อีกขานึงโบรคเกอร์จะไปซื้อหุ้น EARTH ในตลาดในมูลค่าที่เท่ากันเพื่อปิดความเสี่ยง แต่เรื่องมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการ leverage มันจะเร่งให้เงินของนักลงทุนได้และเสียเร็วกว่าปกติ เช่นถ้าเราใช้ leverage 4 เท่า หุ้นลงไป 25% ก็เหมือนเราเงินหมดตัวไป 100% แล้ว โบรคเกอร์จึงตั้งเงื่อนไขว่า ถ้าหุ้น EARTH ลง ไปถึงระดับหนึ่ง โบรคเกอร์จำเป็นต้องบังคับขายทุกราคา (FORCED SELL) เพราะกลัวว่าเมื่อนักลงทุนหมดตัวจะไม่มีเงินมาจ่ายถ้าหุ้นยังลงไปอีก เมื่อบังคับขายหุ้น EARTH ทุกราคา ราคาก็เลยลงติด FLOOR แต่เรื่องนี้เป็นบทเรียนว่าการกู้เงินมาซื้อหุ้นนั้น มีความเสี่ยงที่จะถูกบังคับขายขาดทุน และอย่าประมาทว่าเราจะเป็นคนคุมราคาตลาดได้ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอ

แต่มหากาพย์ยังดำเนินต่อไป เวลาผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ 7 มิ.ย.60 บริษัทประกาศผิดนัดชำระหนี้ตั๋ว B/E 40 ล้านบาท และบอกว่าน่าจะจ่ายคืนหนี้งวดต่อๆไปไม่ได้เช่นกัน 8 มิ.ย.60 ราคาหุ้นร่วง FLOOR ที่สาม ตอนนี้คนเริ่มสงสัยว่าหนี้ของบริษัท EARTH มีเท่าไรบ้าง? ณ สิ้นไตรมาส 1/60 บริษัท EARTH มีหนี้รวมกันถึงมากถึง 23,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายการใหญ่ๆคือ

1) ตั๋วแลกเงิน 2,382 ล้านบาท
2) ทรัสต์รีซีท 5,308 ล้านบาท
3) แพคกิ้งเครดิต 4,791 ล้านบาท
4) เงินกู้ธนาคาร 4,213 ล้านบาท
5) หุ้นกู้ 5,475 ล้านบาท

หลายคนอาจบอกว่าหนี้พวกนี้บริษัทสามารถหมุนไปเรื่อยๆได้ก็จริงอยู่ แต่สถานการณ์ ณ ตอนนี้ ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ เราจะให้บริษัทนี้กู้เราต่อไหม? มาดูกันว่า EARTH มีหนี้ที่จะต้องชำระในปีนี้เท่าไร
ในจำนวนหนี้ทั้งหมด 23,000 ล้านบาท มีหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายในปีนี้ มากถึง 14,932 ล้านบาท ประเด็นที่น่าสนใจต่อไปก็คือ ใครให้ EARTH กู้บ้าง? เฉลยออกมาว่า portion ที่ใหญ่ที่สุดคือธนาคารกรุงไทย ซึ่งรวมกันเป็นมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดในงบการเงินไตรมาส 2/60 ธนาคารกรุงไทยได้ตั้งสำรองหนี้ของ EARTH ให้เป็น NPL เต็มจำนวนไปแล้วที่ 1.2 หมื่นล้านบาท

Portion ต่อมาคือบริษัท หรือ บุคคลอื่น ที่มีเงินสดเหลือไปให้ EARTH กู้ ในรูปแบบ หุ้นกู้ และ ตั๋วแลกเงิน แล้ว EARTH มีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้างเมื่อเทียบกับหนี้ 23,000 ล้านบาท? ทรัพย์สินรายการใหญ่ๆของ EARTH ณ ไตรมาส 1/60 มีดังนี้

1) EARTH มีเงินสด 1,238 ล้านบาท
2) มีลูกหนี้การค้า 5,734 ล้านบาท
3) สินค้าคงเหลือ 1,978 ล้านบาท
4) เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า 8,461 ล้านบาท
5) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 1,821 ล้านบาท
6) สิทธิในเหมืองถ่านหิน 8,207 ล้านบาท
7) เงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า 7,608 ล้านบาท

น่าตกใจว่านอกจากเงินสดแล้ว EARTH มีทรัพย์สินที่จับต้องได้คือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แค่ 1,821 ล้านบาท และทรัพย์สินส่วนใหญ่ของ EARTH จะเป็น “สิทธิในเหมือง และการซื้อสินค้า” ที่เหลือก็เป็นสินค้าคงเหลือ ซึ่งธุรกิจของบริษัทคือ ถ่านหิน ก็คงต้องไปตรวจสอบว่า สิทธิ นี้คืออะไร มีอยู่จริงไหมถ้าสิทธินี้ไม่สามารถยึดมาเป็นหลักประกันได้ ก็น่าเป็นห่วง

ดังนั้น วันที่ 8 มิ.ย. 60 ก.ล.ต. จึงได้สั่งให้ EARTH ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีการผิดนัดชำระตั๋ว B/E ว่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือไม่ ภายใน 7 วัน แล้ว7 วันนั้นก็ผ่านไป เช้าวันที่ 15 มิ.ย.60 บริษัท EARTH แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ได้ผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันการเงิน และหุ้นกู้จะกำลังถูกเรียกคืนเงินต้น ซึ่งจะกระทบสภาพคล่องของบริษัทอย่างหนัก ย้อนกลับไปหนึ่งวันก่อนหน้านั้น หลังจากที่หุ้น EARTH ได้ดำดิ่งไปแล้ว แต่กลับมีคนมาช้อนซื้อซึ่งอาจจะคิดไปเองว่าบริษัทคงไม่มีปัญหาอะไรหรอก การซื้อขายหุ้น EARTH ในวันก่อนหน้านั้นกำลังคึกคักเปรียบเหมือนงานปาร์ตี้

แต่หลังจากการแจ้งข่าวของ EARTH ออกไปไม่นาน ตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ขึ้น H และ SP ไม่ให้คนซื้อขายหุ้น EARTH ทันที และหลังจากนั้นมา หุ้น EARTH ก็ซื้อขายไม่ได้อีกเลย จนถึงวันนี้ ทำไมตลาดหลักทรัพย์ถึงตัดสินใจ SP ? สิ่งที่ตลาดได้ให้เหตุผลในการ SP คือ บริษัท EARTH ชี้แจงไม่ครบถ้วน เหตุการณ์นี้กระทบกับคนจำนวนมากขนาดไหน? ถ้ารวมการซื้อขายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพียง 5 วัน จะมีมูลค่ามากถึง 9,300 ล้านบาท หรือเกือบ 2 เท่า ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เรียกได้ว่าแทบจะเปลี่ยนเจ้าของบริษัทกันเลยทีเดียว ทำให้ตอนนี้น่าจะมีคนจำนวนมากติดหุ้น EARTH อยู่ ย้อนกลับไปวันปิดสมุดบัญชี เดือนมีนาคม มีผู้ถือหุ้น EARTH 7,201 คน แต่จากเหตุการณ์งานปาร์ตี้มีคนถือหุ้น EARTH มากถึง 18,000 คน! (ข้อมูลจากผู้บริหารEARTH ล่าสุด)

วันที่ 23 มิ ย 60 ก.ล.ต. สั่งให้ EARTH จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ หรือ special audit โดยต้องเป็นผู้สอบบัญชีจากบริษัท big4 เพื่อตรวจสอบการการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าว่ามีจริงหรือไม่? และเปิดเผยผลการตรวจสอบภายใน 30 วัน 28 วันผ่านไป วันที่ 21 ก.ค 60 บริษัท EARTH ขอผ่อนผันการส่งรายงานผล special audit ต่อ ก.ล.ต. ให้ขยายเวลาออกไป เพราะอยู่ในระหว่างการรอเสนอราคาจากสำนักงานสอบบัญชี แต่ต่อมา ก.ล.ต.ไม่ผ่อนผันให้ และเร่งให้ EARTH นำส่งรายงานผล special audit โดยเร็ว

วันที่ 24 ก.ค.60 บริษัท EARTH ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการบริษัท เพราะตอนนี้อยู่ในภาวะที่มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน พอเรื่องเป็นอย่างนี้ทุกคนก็ งง เป็นไก่ตาแตก ก่อนหน้านี้ในงบการเงินล่าสุด EARTH มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินอยู่ 10,686 ล้านบาท อยู่ดีๆหนี้สินเพิ่มมาจากไหน ตลาดหลักทรัพย์ได้ขอให้ EARTH แจกแจงว่าหนี้ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นของเจ้าหนี้ไหนบ้าง มีการตั้งด้อยค่าทรัพย์สินหรือไม่

สรุปแล้ว EARTH ชี้แจงกลับไปว่ามีหนี้เกิดขึ้นมาใหม่ 26,000 ล้านบาท เกิดจากคู่ค้าของบริษัทได้ยื่นฟ้องบริษัท ต่อมาวันที่ 7 ส.ค.60 มีประเด็นเรื่องใหม่เกิดขึ้นอีก คราวนี้ไปเกี่ยวกับธนาคารธนชาต ผู้บริหาร EARTH บอกว่าบริษัทมีเงินสดในธนาคารธนชาตประมาณ 800 ล้านบาท และจะโยกเงินสดที่มีอยู่ในประเทศไทยไปหมุนเวียนตามแผนธุรกิจที่ประเทศจีน แต่กลายเป็นว่าถูกอายัดบัญชี โดย EARTH ฟ้องธนาคารธนชาต 60,000 ล้านบาท

โดยอ้างว่า ธนาคารธนชาตนำข้อมูลความลับของบริษัทไปเปิดเผย ซึ่งธนาคารธนชาตก็ชี้แจง ขอปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ว่าธนาคารธนชาตมีนโยบาย ขั้นตอน วิธีการ ที่ชัดเจนและเข้มงวด ด้วยมาตรฐานระดับสูงในการดูแลรักษาความลับของลูกค้าที่ EARTH โดนอายัดบัญชีเป็นการดำเนินการตามคำสั่งของศาลจากการร้องขอของเจ้าหนี้รายหนึ่ง และธนาคารธนชาตก็ขอสงวนสิทธิในการฟ้องกลับ EARTH ด้วย

ที่น่าสนใจคือ ธนาคารธนชาตยังไม่ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องที่ EARTH ฟ้องศาลเลย ก็น่าแปลกใจว่า EARTH ไม่มีเงินชำระหนี้ตั๋ว B/E และหุ้นกู้ แต่กำลังอยากขนเงินสดไปเมืองจีน ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาคือ ในการแถลงข่าวครั้งนี้คือ ผู้บริหาร EARTH เปิดใจกับคนที่ถามว่าทำไมถึงถูกธนาคารกรุงไทยระงับสินเชื่อ ผู้บริหารตอบว่า ธนาคารกรุงไทยขอสำเนาสัญญาซื้อขายถ่านหิน แต่บริษัท EARTH ไม่อยากให้ เพราะกลัวความลับลูกค้ารั่วไหล หลังจากนั้น ธนาคารกรุงไทยจึงระงับสินเชื่อประเด็นนี้ก็น่าคิดว่าถึงเวลานี้แล้ว EARTH ยังกลัวความลับลูกค้ารั่วไหล มากกว่าการได้เงินสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย หรือมีอะไรซ่อนอยู่ในสัญญาซื้อขายกันแน่

สุดท้ายวันที่ 9 ส.ค. 60 ก.ล.ต. สั่งให้เวลา EARTH อีก 5 วันทำการให้ตั้ง special audit โดยด่วน และอธิบายว่าหนี้ที่งอกมาใหม่ 26,000 ล้านบาท เพื่อที่จะอ้างได้ว่าขอเข้าแผนฟื้นฟูนั้น มีที่มาอย่างไรบ้าง ถ้าไม่ปฏิบัติตาม กรรมการและผู้บริหารของ EARTH อาจถูกดำเนินการตามกฎหมายซึ่งมีทั้งโทษทางอาญา และทางแพ่ง แต่ปรากฎว่าในการแถลงข่าวของผู้บริหาร EARTH ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ด้วยว่าได้เชิญให้ผู้สอบบัญชี big4 แล้วแต่ไม่มีผู้สอบบัญชี big4 รายไหนรับข้อเสนอนี้เลย ก็ไม่ทราบว่าเรื่องราวต่อไปจะจบลงแบบไหน ต้องติดตามกันต่อไป แต่ที่แน่ๆคือเรื่องของ EARTH น่าจะเป็นตำนานของวงการตลาดทุนประเทศไทยไปอีกนาน!!! logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว) - Copy

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP