WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
การถูกโจมตีทางไซเบอร์ เกิดความเสียหายเร็วและรุนแรง!! ประกันภัยเร่งตั้งรับ…ผุดกรมธรรม์คุ้มครองความเสี่ยงทางไซเบอร์ ##

19 กรกฎาคม 2560 : นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า แต่ถึงกระนั้น ความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงมีการคิดค้นกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ขึ้น เพื่อให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เป็นผลมาจากการถูกคุกคามทางไซเบอร์ การรั่วไหลของข้อมูล การถูกโจมตี/ข่มขู่/เรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ หรือการสูญเสียรายได้ของธุรกิจ เป็นต้น

Cyber Threat and Insurance

ล่าสุด สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมกับ สถาบันประกันภัยไทย และ The Malaysian Insurance Institute (MII) จัดอบรมเรื่อง “Cyber Threat and Insurance” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้านการบริหารความเสี่ยงและผลกระทบต่อธุรกิจอันเนื่องมาจากภัยคุมคามไซเบอร์ให้กับผู้บริหารของธุรกิจประกันภัย โดยมีวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถด้านกฎหมายและด้านการพิจารณารับประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ดร. รุจิระ บุนนาค กรรมการผู้จัดการ สำนักกฎหมาย มารุต บุนนาค อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ ออฟฟิศ และ Mr. Gerard Roy Sharma, LLB (Hons) (London), CLP Principal Officer and Managing Director of Asia Reinsurance Brokers

t1

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้วงการประกันภัยยังไม่ได้รับรายงานว่าเสียหายจากการถูกคุกคามทางไซเบอร์ แต่ทุกฝ่ายก็ต้องร่วมมือป้องกันจะแก้ไขอย่างไร ต้องใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาป้องกันการจู่โจมและเยียวยา หรือหากป้องกันแล้วภัยเกิดขึ้นจะบริหารความเสี่ยงอย่างไร ดังนั้นจำเป้นต้องมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยง กรมธรรม์ไซเบอร์ ถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก การอบรมวันนี้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เรื่องภัยเสี่ยงต่างๆ ทางไซเบอร์ อันตรายที่เกิดขึ้น รวมทั้งประกันภัยไซเบอร์ เป็นอย่างไร มีปัญหาอย่างไรและจะช่วยลดความเสี่ยงอย่างไร

t2

สำหรับประกันภัยไซเบอร์ ขณะนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ อาจจะยังไกลตัว แต่ในอนาคตจะเป็นเรื่องปกติ แม้กระทั่งประกันภัยไซเบอร์ ยังมีข้อจำกัดเฉพาะบริษัท ผู้ผลิต ผู้ให้บริการซึ่งมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน ยังไม่มีประกันภัยไซเบอร์ สำหรับบุคคล คาดว่าในอนาคตอาจจะมีการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะอนาคตกรมธรรม์นี้จะเติบโตได้อีกมาก

ปัจจุบันมีบริษัทประกันที่ขายกรมธรรม์ไซเบอร์แล้ว 7 บริษัท คาดว่าจะเพิ่มอีกเป็น 3 บริษัท เป็น 10 บริษัท คาดว่าการแข่งขันสูง หลายบริษัทที่เป็นต่างชาติที่มาเปิดในประเทศไทย เขาจะมีโนฮาวทางด้านนี้ แข่งขันกันนำเสนอสิ่งที่แตกต่างและมีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด นับเป็นโอกาสของบริษัทต่างๆ ในประเทศไทย

t3

t4

ทางด้าน นายทัตเทพ สุจิตจร กรรมการและผู้อำนวยการ สถาบันประกันภัยไทย กล่าวว่า ไซเบอร์เป็นภัยคุกคามของอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพวกเราคือบริหารความเสี่ยงภัย เพราะมีแนวโน้มว่าจะมีความเสี่ยงสูง และต้นทุนแพงมาก ลอสสูง จึงอยากให้ประกันภัยไทย มีความพร้อม ตื่นตัว การจัดสัมมนาครั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้เห็นว่าสำคัญอย่างไร จะป้องกันความเสี่ยงได้อย่างไร

t5

t6

อย่างไรก็กี บริษัทประกันภัยควรแบ่งไซด์ เป็นขนาดกลาง ขนาดเล็ก เพราะความเสี่ยงของแต่และธุรกิจมีความแตกต่างกัน สำคัญที่สุด คาดหวังว่า ประเทศไทยจะสามารถก้าวเป็นผู้นำในประเทศCLMV (คัมโบเดีย ลาว เมียนม่า เวียดนาม) ซึ่งเหตุผลที่มีความเป็นไปได้นั้นประกอบด้วย 1.ประเทศไทยมีโปรดักส์ที่หลากหลายทำให้ลูกค้าเชื่อมั่น 2. ประเทศไทยได้เปรียบด้านภูมิประเทศ

3. การยอมรับด้านฐานะการเงินในแถบประเทศ CLMV ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสถียรภาพของค่าเงิน หรือ ด้านไฟแนนซ์เชียล นับว่ายังโดดเด่นที่สุด 4.บุคลากร ทางด้านประกันภัยมีศักยภาพ และ 5. ภาครัฐเข้ามารองรับ ทั้งหมด 5 สิ่งไทยสามารถเป็นผู้นำด้านการประกันภัยทั้งระบบใน CLMV ได้ไม่ยาก ขึ้นอยู่กับว่า บริษัทประกันภัยจะยกมาตรฐานของตนเองอย่างไร logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

ประกันภัย ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP