19 มิถุนายน 2560 : ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ KTBST ประเมินตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ (19-23 มิ.ย.) ว่าแม้ปัจจัยบวกของตลาดจะเป็นแรงกระตุ้นการลงทุนจากภาครัฐฯ และการเข้าซื้อหุ้นที่ถูกคาดว่าผลประกอบการจะยังคงดี รวมทั้ง fund flow ของเงินลงทุนจะยังคงอยู่ในตลาดหุ้นเอเชีย แต่ตลาดจะมีความผันผวนจากการปรับชื่อหุ้นในการคำนวณ SET50-SET100-sSET ให้เห็นในช่วงต้นสัปดาห์ อีกทั้งปัจจัยในต่างประเทศ อาจมีความคลุมเครือในเรื่องของทิศทางตลาดหลัง Fed ปรับนโยบายการเงิน จึงทำให้ยังไม่เห็นแรงซื้อหุ้นอย่างจริงจังหรือรุนแรง ในสัปดาห์นี้ KTBST จึงประเมินดัชนีสัปดาห์นี้จะแกว่งตัวในลักษณะของ sideway กรอบการเคลื่อนไหว ให้ไว้ที่ 1,566-1,596 จุด
โดยกลยุทธ์การลงทุนในสัปดาห์นี้ ยังคงคำแนะนำ “เลือกขายทำกำไร” หุ้นที่ขึ้นมามากและขาดแรงสนับสนุนให้ไปต่อ ตามที่ให้ไว้ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และคงเงินสดในพอร์ตไว้ 30% การเข้าลงทุนควรเป็น Selective buy เน้นหุ้นเสี่ยงต่ำ หุ้นอิงรายได้จากการลงทุนภาครัฐฯ และหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว สำหรับหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ได้แก่ PTTGC , PYLON , CK , UV , BJC , ALT, AMANAH , SCN , CPF หุ้นแนะนำเชิงเทคนิค ได้แก่ VIH , KCE
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ควรติดตามได้แก่ ผลจากการประชุม FOMC การปรับดอกเบี้ยและการลดขนาดสินทรัพย์ จาก $4.5 ล้านล้านเหรียญ เริ่มต้น $1 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน แต่ยังไม่ระบุวัน-เวลา ที่จะเริ่มทำการดังกล่าว ทาง KTBST ประเมินเบื้องต้นว่า ใช้เวลาประมาณ 5 ปี ในการที่สินทรัพย์ของ Fed จะกลับมาก่อนที่จะมีการใช้ QE1-3 ในปี 2008 ผลลบต่อตลาดหุ้นสัปดาห์ก่อนและสัปดาห์นี้ ไม่ชัดเจนนัก หรือไม่ลบมากเพราะตลาดมีปัจจัยอื่นๆอยู่ โดย event สำคัญของสัปดาห์ จะเป็นการหารือ Brexit ระหว่างอังกฤษและอียู (19 มิ.ย.) และการประกาศหุ้นจีนที่คำนวณดัชนี MSCI (20 มิ.ย.)
ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าปกติจากต้นปีถึงเดือน มี.ค.เงินบาทแข็งค่า 4.1% ขณะที่ DollarIndex อ่อนค่าลงเพียง 1.8% อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ เดือน เม.ย. เป็นต้นมา ค่าเงินบาทเริ่มเกาะกลุ่มกับเงินสกุลเอเชียอื่นๆ และผันแปรไปตามดอลล่าร์มากขึ้น ทำให้มองว่าความกังวลต่อเงินบาทว่าจะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ น่าจะลดลง ตัวแปร จะไปอยู่ที่ว่าจะยังมีเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่องหรือไม่
ส่วนทิศทางราคาน้ำมัน ยังถูกกดดันจากภาวะ over supply ที่จะไปสมดุลในช่วง 1Q-18 จากเดิม 3Q-17 เป็นส่วนหนึ่งที่กดราคาน้ำมันดิบ WTI ให้ลงมาต่ากว่า $45 เหรียญ ด้วยกรอบบนของราคาน้ำมันที่อาจถูกจากัดไว้ที่ $50เหรียญ จะเป็นลบต่อผู้ผลิตน้ำมัน แต่จะดีต่อผู้ผลิตปิโตรเคมี หรือผู้ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบอ้างอิง
ด้านปัจจัยในประเทศ ปัจจัยบวกจากการทยอยอนุมัติ-เซ็นสัญญา-ประมูล งานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ฯ โดยจะส่งผลบวกด้านจิตวิทยาการลงทุน ต่อตลาดหุ้นไทย หุ้นที่เป็นบวกโดยตรง จะเป็นกลุ่มผู้รับเหมาฯ หรือผู้รับงานต่อเนื่อง รวมไปถึงเรื่อง หุ้น SET50-SET100-sSET มีการเปลี่ยนแปลงหุ้นที่ใช้ในการคำนวณหลายตัว คาดจว่าะมีผลต่อราคาหุ้นที่ผลออกมาแล้วต่างจากที่คาดการณ์กันหรือยังไม่ตอบรับต่อข่าวดังกล่าว อย่างไรก็ตามหุ้นที่ราคาปรับขึ้นมามากๆ จากการเก็งในเรื่องนี้ ก็อาจมีแรงขายทำกำไรเข้ามาเช่นกัน