@@##@@ เรื่องเงินๆทองๆไม่มีใครว่าไม่สำคัญ ยิ่งตลาดเงินโลกผันผวนเท่าไหร่ ความวิตกกังวลก็มีมากเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ ที่แห่มาซื้อประกันความเสี่ยงค่าเงินกันยกใหญ่ จากอดีตที่ไม่คาดคิดว่า ความเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน เพียงแค่เสี่ยวนาทีก็จะส่งผลกระทบให้กับธุรกิจพอสมควร และความผันผวนค่าเงินในอดีตจึงกลายเป็นบทเรียนชั้นดีของนักลงทุนและผู้ประกอบการ
ล่าสุด เรื่องค่าเงินผันผวนดูเหมือนจะไม่ลดละไปเหมือนเช่นในอดีต ตอนนี้กลับมามีบทบาทอีกครั้งทำให้ใครต่อหลายคนต่างบอกว่า “มาเถอะไงก็รับไหว” เพราะต่างเรียนรู้ปัญหาจนสามารถรับมือกับเรื่องที่มักวนกลับมาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในที่สุด เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพที่ดีให้กับอุตสาหกรรม
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศ “เกณฑ์ใหม่” สำหรับการควบคุมการเปลี่ยนเงิน จนหลายคนมองว่า กฎเกณฑ์ดังกล่าวดีขนาดนั้นเชียวหรือ? ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เนื้อหาโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธปท. เพื่อให้เท่าทันสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงิน และเพิ่มความสะดวกให้กับการโอนเงินและการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยแนวทางการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินล่าสุด จะแบ่งออกเป็น 4 เรื่องหลัก ได้แก่
1. การลดขั้นตอนและเอกสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจเกณฑ์ใหม่ 1.1 ลดเอกสารประกอบการโอนเงินออกนอกประเทศ 1.2 เปิดทางเลือกให้สามารถยื่นเอกสารเป็น electronics หรือ email ได้เกณฑ์เดิม ทั้งนี้ การโอนเงินออกนอกประเทศวงเงินตั้งแต่ 50,000 ดอลลาร์ฯ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธปท. กำหนด และลูกค้าจะต้องยื่นเอกสารเป็น Hard Copy กับ ธนาคารพาณิชย์
2. การเพิ่มความคล่องตัวให้กับภาคเอกชนในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ โดย 2.1 อนุญาตให้ยกเลิกสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ทุกกรณี 2.2 อนุญาตให้บริษัทในเครือเดียวกัน สามารถทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแทนกันได้ 2.3 อนุญาตให้ pilot company สามารถทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศและโอนเงินออกนอกประเทศกับธนาคารพาณิชย์ได้ โดยไม่ต้องแสดงเอกสารประกอบ เกณฑ์เดิม คือ กรณีค่าสินค้า/บริการ เงินลงทุนโดยตรง เงินกู้ และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตปท. ทำได้เสรี แต่กรณีลงทุนในอสังหาริมทรัพยตปท. ยกเลิกได้เฉพาะวงเงินต่ำว่า 20,000 ดอลลาร์ฯ การทำแทนบริษัทในเครือเดียวกัน จะต้องยื่นขออนุญาตเป็นรายกรณี ต้องยื่นเอกสารหลักฐานกับธพ.
3. การเพิ่มทางเลือกซื้อขายโอนเงินรายย่อย และหนุนการเชื่อมโยงการค้า-การลงทุนกับภูมิภาคเกณฑ์ใหม่ ซึ่ง MT สามารถให้บริการโอนเงินออกนอกประเทศเพื่อชำระค่าสินค้า / เพิ่มวงเงินต่อรายลูกค้า/วัน และมีการผ่อนคลายคุณสมบัติผู้ยื่นขออนุญาต MT 3.1 MC ซื้อขายธนบัตรเงินตราต่างประเทศกับธพ. หรือ MC ในต่างประเทศได้ 3.2 ธพ. ปล่อยสินเชื่อสกุลบาทให้ NR เพื่อการลงทุนในไทย หรือเป็นโครงการใน GMS ที่เป็นประโยชน์ต่อไทย
โดยเกณฑ์เดิม 1. MT ให้บริการโอนเงินออกนอกประเทศ เฉพาะการชำระค่าเลี้ยงดูครอบครัว การท่องเที่ยว การศึกษา ค่าบริการรายย่อย และทำได้ในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท/รายลูกค้า/วัน 1.2 MC สามารถซื้อขายธนบัตรเงินตราต่างประเทศกับเฉพาะธพ. หรือ MC ในประเทศ 1.4 ธพ. ปล่อยกู้ direct loan สกุลบาทแก่ NR ต้องยื่นขออนุญาตเป็นรายกรณี
4. เพิ่มทางเลือกให้รายย่อยในการลงทุน และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อเพิ่มการแข่งขัน เกณฑ์ใหม่ 4.1 บุคคลรายย่อยที่มีสินทรัพย์ทางการเงินตั้งแต่ 50 ล้านบาท สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องผ่านตัวแทนการลงทุนในประเทศ 4.2 ให้ FX license แก่บริษัทหลักทรัพย์ 4.3 ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสัญญาล่วงหน้าในตลาด TFEX สามารถยื่นขอใบอนุญาตเป็น broker currency futures ได้
เกณฑ์เดิม 1.บุคคลรายย่อยสินทรัพย์ทางการเงินต่ำกว่า 100 ล้านบาท ต้องลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ผ่านตัวแทน 2.การซื้อ-ขาย FX เพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ต้องทำกับธพ. เท่านั้น 3.ไม่สามารถยื่นขอใบอนุญาตเป็น broker currency futures ได้
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวทางผ่อนคลายตามเกณฑ์ใหม่ของธปท. ดังกล่าวข้างต้น มีประเด็นสำคัญอยู่ที่การเสริมบทบาทของผู้เล่นหน้าใหม่ ทั้ง Money Transfer Agent และ Money Changer เข้ามาทำการแข่งขันให้บริการทางการเงิน ทั้งเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ การโอนเงินระหว่างประเทศ กับประชาชนรายย่อยและผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์ต่อการขยายโอกาสธุรกรรมการค้าการลงทุนตามชายแดน และข้ามพรมแดน มากขึ้น ขณะที่ การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถทำการซื้อ-ขายเงินต่างประเทศได้เอง ก็น่าจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการให้บริการลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนไทยและลูกค้าต่างประเทศได้มากขึ้น
การปรับเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินล่าสุดของธปท. น่าจะมีส่วนช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจไทย อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า แรงกดดันของเงินดอลลาร์ฯ อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา (โดยเฉพาะจากเรื่องความไม่แน่นอนในจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในช่วงครึ่งปีหลัง) ยังคงหนุนให้เงินบาททำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 23 เดือนที่ระดับ 33.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแม้ว่า ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทจะเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค แต่ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อผู้ประกอบการแต่ละรายในแต่ละอุตสาหกรรมอาจจะมีภาพที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ที่มี Exposure ในเงินตราต่างประเทศ ยังมีความจำเป็นต้องพิจารณาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อรายได้หลังจากการแลกกลับมาเป็นสกุลเงินบาทด้วย