1 พฤษภาคม 2560 : ความรู้สึกจบปี 59 ไปไม่นาน นี่เผลอแพล็บเดียวก็เข้าสู่เดือนที่ 5 ของปี 60 กันแล้ว…หากจะพูดว่า “ไวเหมือนโกหก” ก็คงไม่ผิดอะไร เพราะกาลเวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วแบบไม่ทันตั้งหลักเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่ภาคประชาชนทั่วๆไปจะตั้งหลักกับชีวิตไม่ทันกับวันเวลาที่เคลื่อนตัวเร็ว ภาคธุรกิจเองแม้หลายๆที่ตั้งหลักไว้ล่วงหน้าก็ยังสับลางเป็นทิศกันแทบไม่ทัน ถามว่าทำไมนะเหรอ ก็ความผันผวนของเศรษฐไทยเศรษฐกิจโลกมีอย่างต่อเนื่อง มีทั้งดีบ้างไม่ดีบ้างก็คละๆกันไป เรื่องแบบนี้ก็ต้องทำใจกันไป
มาย้อนดูภาคธนาคารพาณิชย์ของไทยกันบ้างดีกว่า พึ่งจะจบไตรมาสแรกของปี 60 ไปได้เดือนเดียว แต่ภาพการปล่อยสินเชื่อของกลุ่มธนาคารก็สามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง โดยเฉพาะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทย โดยก่อนจบปี 59 หลายต่อหลายธนาคารต่างดูมีความหวังต่อเศรษฐกิจไทยไม่น้อย ต่างเชื่อมั่นว่ายอดปล่อยสินเชื่อช่วงปีนี้จะกลับมาฟื้นตัวกว่าหลายปีที่ผ่านมา และด้วยปัจจับหลายอย่างในช่วงปลายปี 59 ต่างบ่งชี้ชัดว่าแนวโน้มสินเชื่อจะกลับมาดีขึ้น แต่กระนั้นภาคธนาคารก็ไม่ไว้ใจ 100% นัก และคงมีแผนตั้งสำรองหนี้เสียอสู่ในระดับสูง พยายามที่จะรักษาอัตราส่วนสำรองต่อหนี้สงสัยจะสูญ(coverate ratiocoverate ratio)ในระดับสูงๆเกินเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยวางไว้ และอีกปัจจัยที่สำคัญลูกค้าหันมาออกตราสารหนี้เพื่อระดมทุนแทนการกู้ยืมกับธนาคารมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า ลดลง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า สินเชื่อสุทธิเดือน มี.ค. 60 ลดลงตามการคืนหนี้ของลูกค้าธุรกิจ ขณะที่ เงินฝากยังทรงตัว โดยมองว่าภาพรวมสินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทยในเดือน มี.ค. 2560 กลับมาชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ตามการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อภาคธุรกิจทั้งในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่และลูกค้าเอสเอ็มอี
โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนรูปแบบการระดมทุนของลูกค้ารายใหญ่ ที่หันไปออกหุ้นกู้ระดมทุนด้วยตนเอง ขณะที่การอนุมัติและเบิกใช้สินเชื่อใหม่ทั้งกลุ่มลูกค้าธุรกิจและรายย่อยเพิ่มขึ้นช้ากว่า สำหรับภาพรวมเงินฝากยังทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากเงินฝากออมทรัพย์ในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ชะลอตัว แม้ว่าเงินฝากในกลุ่มธนาคารขนาดกลางและเล็กยังขยับขึ้นได้เล็กน้อย ตามการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษใหม่เพื่อชดเชยเงินฝากที่ครบกำหนด
รเติบโตของสินเชื่อในลักษณะเดือนต่อเดือน (MoM) แล้ว ยังถือว่าสินเชื่อยังไม่มีโมเมนตัมการเติบโตที่ชัดเจนนัก ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่คงเห็นต่อเนื่องในไตรมาส 2/2560 เช่นกัน
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การเติบโตของสินเชื่อน่าจะทยอยมีภาพที่ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อกิจกรรมการลงทุนและเบิกจ่ายงบประมาณเดินหน้าลงสู่ท้องถิ่นและระบบเศรษฐกิจมากขึ้นตามลำดับ ตลอดจนอานิสงส์จากการค้าระหว่างประเทศที่ให้ภาพเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งน่าจะหนุนความต้องการสินเชื่อจากภาคธุรกิจ ทั้งจากสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในประเทศ Trade Finance ตลอดจนสินเชื่อเพื่อการลงทุน อาทิ ในธุรกิจก่อสร้าง
“สำหรับสถานการณ์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยในปีนี้ คงขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุน ทั้งธนาคารผู้ให้สินเชื่อที่ยังเผชิญภาวะหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่ยังมีทิศทางเสื่อมลงจากการหวนกลับมาเป็นหนี้ NPL อีกครั้งของลูกหนี้ ขณะเดียวกัน ในด้านความต้องการสินเชื่อของลูกหนี้ผู้กู้ยืมอาจไม่เพิ่มเท่าที่ควร ทั้งจากลูกหนี้รายใหญ่ที่หันหาช่องทางระดมทุนด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ได้เงินทุนระยะยาวขึ้นในต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำลง และลูกหนี้รายย่อยที่ยังอยู่ใต้แรงกดดันของภาวะหนี้ครัวเรือน ” ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ
ส่วนภาพรวมสภาพคล่องของธนาคารทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยสัดส่วนเงินให้สินเชื่อรวมต่อเงินฝากรวมกับตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม (LTD+Borrowing Ratio) ในเดือน มี.ค. 2560 ยืนที่ระดับ 90.64% เท่ากับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อสินทรัพย์รวมยังสะท้อนภาพที่ผ่อนคลายลงมาที่ระดับ 21.60% จาก 21.24% ในเดือนก่อนหน้า คาดสินเชื่อ-เงินฝาก-สภาพคล่องของธนาคารไทยในไตรมาส 2/2560 ยังให้ภาพใกล้เคียงกับไตรมาสแรก
แม้สินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทยจะจบไตรมาส 1/2560 ด้วยอัตราการเติบโตที่ 1.75%YoY ซึ่งใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย แต่ถ้ามองมิติการเติบโตของสินเชื่อในลักษณะเดือนต่อเดือน (MoM) แล้ว ยังถือว่าสินเชื่อยังไม่มีโมเมนตัมการเติบโตที่ชัดเจนนัก ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่คงเห็นต่อเนื่องในไตรมาส 2/2560 เช่นกัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การเติบโตของสินเชื่อน่าจะทยอยมีภาพที่ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อกิจกรรมการลงทุนและเบิกจ่ายงบประมาณเดินหน้าลงสู่ท้องถิ่นและระบบเศรษฐกิจมากขึ้นตามลำดับ ตลอดจนอานิสงส์จากการค้าระหว่างประเทศที่ให้ภาพเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งน่าจะหนุนความต้องการสินเชื่อจากภาคธุรกิจ ทั้งจากสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในประเทศ Trade Finance ตลอดจนสินเชื่อเพื่อการลงทุน อาทิ ในธุรกิจก่อสร้าง
ทั้งนี้ ด้วยทิศทางการเติบโตของสินเชื่อในช่วงไตรมาส 2/2560 ที่คงจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้คาดว่า แคมเปญเงินฝากพิเศษที่ออกใหม่จะยังคงมุ่งชดเชยรุ่นที่ครบกำหนดเป็นหลัก ควบคู่กับสะท้อนความพยายามในการบริหารจัดการโครงสร้างต้นทุนของธนาคารพาณิชย์ (ท่ามกลางข้อจำกัดในการเติบโตรายได้สินเชื่อและค่าธรรมเนียม) ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีระยะยาวขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
แม้ว่าอาจมีการปรับอัตราผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์เงินฝากขึ้นบ้างให้สอดคล้องกับทิศทางอัตราผลตอบแทนของตลาดก็ตาม ด้านการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2560 นั้น อาจมีผลในการดึงเงินฝากบ้าง แต่คงไม่มากนัก เพราะมีวงเงินที่จำกัดไว้ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท