WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
โรคฮิตมนุษย์เงินเดือน…นั่งติดจอนานๆ…พอรู้ตัวอีกทีถึงกับเงิบ!!!

เรื่องนี้เป็นประสบการณ์ตรงของสาวออฟฟิส ที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานๆ ต่อวันอาจจะมี 5-8 ชั่วโมง ดังนั้น เมื่อทำเป็นประจำต่อเนื่องหลายปีก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยตัวคุณเองอาจจะไม่ทันตั้งตัว “โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท” ถามหาเสียแล้ว!!! ติดตามเรื่องที่น่าสนใจนี้ได้เลยว่า ผู้ที่ถ่ายทอดเขา เจอ…เจ็บ…จบ…อย่างไร!!!

ตอนที่ 1: เริ่มป่วย อาการเริ่มต้นของหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
March 29, 2017 by…AmpAmp

เมื่อประมาณสัปดาห์สุดท้ายของปี 2016 ตัวเองเริ่มมีอาการป่วย โดยมีการเจ็บที่บ่า คือตื่นมาเหมือนมีอาการคอเคล็ด แต่ปรากฏว่าตอนเย็น บ่าด้านซ้ายที่ว่าปวดตอนเช้านั้น ตอนเย็นกลับมีอาการบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงเดินทางไปพบแพทย์แถวถ.คอนแวนต์ คุณหมอให้ทานยาแก้ปวด และแก้อักเสบ
ก็ถามหมอไปว่าเราเป็นอะไร หมอก็ให้ยกมือ เคาะมือ จับบ่า ก็บอกเราว่า คุณน่าจะเป็น office syndrome น่ะแหล่ะ หัดยืดกล้ามเนื้อบ้าง ทานยา เดี๋ยวก็ดีขึ้น

กลับบ้านมาด้วยอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น คือเมื่อยไปทั้งกล้ามเนื้อด้านหลังด้านซ้าย บ่า สะบัก หัวไหล่ แขนซ้าย แต่ยังไม่มีอาการชาเกิดขึ้น ก็เลยใช้ยาคลายกล้ามเนื้อนวดๆๆๆๆ ดีขึ้นบ้างนิดหน่อยแต่ไม่ทั้งหมด ใจก็เริ่มคิดละ ว่าเอ้อ นี่กุแก่มาแล้วใช่มั้ย เคล็ดทีนึงนี่หลายวันเลยกว่าจะหาย โดยตอนนั้นไม่ได้คิดเลยว่าอาการปวดที่เริ่มต้นในวันที่ 25 มกราคม 2559 จะเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตมากมายตามมาจนทำให้อึ้ง และตกใจ พร้อมกับกลัวมากๆในภายหลังจนถึงตอนนี้

mv2
เครดิตภาพ จากโรงพยาบาลเปาโล

หลังจากที่ได้พบคุณหมอเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมปี 2559 นั้น ก็ทานยาครบตามที่หมอให้ แต่ก็ที่รู้อยู่การทายาคลายกล้ามเนื้อ ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่ อาการที่ปวดบริเวณสะบัก บ่า คอ หัวไหล่ แขน มันล้าดีจริงๆ อาการเริ่มมีมาจริงจังวันที่ 28 ธันวาคม 2559 เนื่องจากในแต่ละปี เราก็จะมีแพลนว่าปีนี้เราจะทำอะไรดี เช่นเรียนรู้อะไรใหม่ๆ มีกิจกรรมใหม่ๆ ให้กับตัวเอง ซึ่ง อันสุดท้ายของปี 2559 ที่ตั้งใจไว้ก็คือ ไปปฏิบัติธรรม คือเรื่องของเรื่องป่วยอยู่ใช่ไหมวันที่ 25 ธค. 59 แต่อาการยังไม่ออกเยอะงัย ก็เลยตั้งใจเลย เพราะชุดขาวที่สำหรับบวชชีเพื่อไปปฏิบัติธรรมพร้อมแล้ว จะช้าอยู่ใย ก็ได้ไปอยู่วัดป่า 3-4 วัน เอาไว้เรื่องการไปวิปัสนา บวช ถือศีล จะเล่าในหัวข้ออื่นๆ นะ จะได้ไม่สับสนกัน

เรื่องเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อวันที่เราไปวัดป่า วันใกล้วันสุดท้ายแล้วที่จะต้องทำวัตรเย็น ปรากฏว่าไม่สามารถตั้งคอถือหนังสือสวดมนต์ สวดตามหลวงพ่อได้ ทำให้ต้องกลับไปที่ใต้ถุนที่เรานอน ก็นอนราบแบบมีสติ เพราะไม่สามารถนั่งและตั้งคอ พอนอนราบกลับรู้สึกสบาย และทุเลาอาการปวดได้มาก พอรุ่งขึ้น ก็ได้เวลาลาบวช ก็กราบลาหลวงพ่อ และขับรถกลับจากวัดป่ามาที่บ้าน

วันที่ 31 ธค. 59 ได้เดินทางไปที่วัดป่าอีกครั้ง เพื่อเตรียมตัวสวดมนต์ข้ามปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว แต่ ไม่สามารถสวดมนต์ข้ามปีจนจบได้ ต้องนั่งพิงเสาร์ (ใจจริงอยากนอนราบที่เสื่อที่เขารอสวดมนต์กันด้วยซ้ำ) เวลาประมาณ 22:30 น. สามีก็พาขึ้นรถและกลับมานอนพักที่บ้าน เมื่อนอนราบก็ทำให้รู้สึกดีขึ้น

พูดถึงว่าอาการปวดเป็นอย่างไร คือ ก็จะปวดที่ กล้ามเนื้อ คอ บ่า สะบัก แขน หัวไหล่ ไปมา สลับไปสลับมาแบบนี้เสมอ บางครั้งจะจับความรู้สึกได้ว่ามีความชาร่วมด้วยที่แขนจนถึงปลายนิ้วคือช่วงระยะนี้ เป็นช่วงที่เรามียาหม่องในสต๊อกหลายรุ่นมากๆ จากคนที่ไม่ชอบยาหม่อง ครีมนวดตัวใดๆ พบว่าระยะช่วงวีคนี้ มียาหม่องในสต๊อคมากมาย ว่าแล้วก็ขอเขียนเชียร์ยาหม่องไทยหน่อยละกัน เพราะอยากบอกว่า ของฝรั่งนี่ไม่อาจต้านทานอาการเคล็ดปวดของเราได้เลย

แนะนำยา/ ครีม นวดเมื่อเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

1.ยาหม่องไพลสดหอม (ของตำนานไพร)– ใช้เมื่อมีการปวดมากๆ เนื้อครีมเป็นสีเหลือง แต่มีความร้อน เย็นทำให้ทาตรงที่ปวดเมื่อย เวลาเป็นมากๆ ทาแล้วสบายมาก เพราะตอนกลางคือจะปวดมาก จะใช้อันนี้ทาก่อนนอน อยากบอกว่าห้องกลิ่นตลบ จากไม่ชอบก็ต้องชอบเลย เพราะมันทำให้หลับลง คือซื้อขวดใหญ่มา 3 กระปุก ใช้อย่างเมามัน ราคาประมาณ 100 บาท

5-mv2

2. ครีมไพล สมุนไพรอภัยภูเบศร – ใช้ทาหลังอาบน้ำทุกเช้าเพราะกลิ่นไม่แรง ไม่ติดเสื้อผ้า ซึมเข้าผิวดี ใช้ระหว่างวันได้เป็นอย่างดี อันนี้ชอบมาก กลิ่นอ่อนๆ ดี สรุปคือใช้เป็นโหลมากๆ หลอดละประมาณ 30 บาท ซื้อทีละเยอะมาก เพราะทาตัวแล้วรู้สึกทุเลาการปวดระหว่างวันได้ดี และไม่เลอะเสื้อขาวเวลาใส่ด้วย

9c-mv2

(เริ่มขำตัวเอง มาถึงจุดที่ต้องมารีวิวยาหม่องแล้ว ฮ่าๆๆ) จริงๆที่แอบชอบมีหลายตัวนะ อย่างซาลอนพาสก็ดีมาก
ใช้แปะตามกล้ามเนื้อที่ปวด

36-mv2

สรุปปี 2559 คืนวันที่ 31 ธันวาคม เราไม่สามารถสวดมนต์ข้ามปีได้ เพราะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ คอ ความรู้สึกคือ เหมือนจะตั้งคอไม่ไหว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่าตัวด้านซ้ายไปหมด แต่ก็ยังทานยาที่ไปพบแพทย์ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคมอยู่ต่อ แต่ก็ไม่ดีเท่าที่ควร เหมือนกับยาคลายกล้ามเนื้อกับแก้อักเสบจะไม่ช่วยอะไรเลย

http://www.paolohospital.com/home/bonejoint/neck-pain/

ได้อ่านข้อมูลจากเวป GQ ที่ได้ข้อมูลจากคุณหมอที่ รพ.สมิติเวชเขียนไว้ได้ดีมากๆอยากให้ทุกคนได้อ่่านกันนะคะ 2fbc-mv2

กล้ามเนื้อคอหดเกร็งอันตรายร้ายกว่าที่คิด
“อาการปวดคอ เมื่อยคอ เป็นปัญหาสุขภาพ การทำงานที่แสนคลาสสิกสำหรับมนุษย์เงินเดือน เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยอันดับต้นๆ สำหรับคนที่นั่งทำงานอยู่กับที่เป็น เวลานานๆ และอาจลุกลามร้ายแรงเกินกว่าที่เราคาดไว้

จากประสบการณ์ตรงของทุกคน ใครๆ ก็รู้ว่า การก้มหน้าทำงานนานๆ ไม่ว่าจะเป็นเขียนแบบ พิมพ์งาน ทำงานวิจัยในห้องแล็บ หรือกำลังก้มต่อจิ๊กซอว์ที่ค้างไว้ราวครึ่ง ศตวรรษ ต่างก็ทำให้เรารู้สึกเมื่อยบริเวณต้นคอ อาการปวดเมื่อยจากท่าทางเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นโรคที่เรียกว่า กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง (Myofascial Pain Syndrome)

นายแพทย์วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการป้องกันและรักษา กลุ่มอาการต่างๆ ที่เกิดจากการทำงานในสำนักงานเป็นเวลานานๆ ให้ความกระจ่างกับเราว่า โรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง เกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อคอจนเป็นก้อน เล็กๆ มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อซึ่งระดับความรุนแรงของการปวดมีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ ไปจนถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ และหากฝืนทำต่อไป ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือท่าทาง นานสัก 5 ปี 10 ปี อาจพบภาวะของหมอนรองกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) ร่วมด้วย

คุณหมอแนะนำว่า หากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ควรจัดท่าทางการนั่งให้ เหมาะสม เช่น นั่งทำงานในท่าคอและหลังตั้งตรง และควรให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์สำนัก-งานที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของมนุษย์ รวมไปถึงการจัดวางอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการทำงาน
ความเครียดนั่นก็เป็นปัญหาไม่แพ้กันครับ และสุดท้ายคือ เราควรรู้เท่าทันอาการปวดเมื่อยและป้องกันไว้ ด้วยการลุกขึ้นมาบริหารต้นคอ คุณหมอทิ้งท้ายไว้ พร้อมบอกว่า การบริหารต้นคอ ไม่ต้องลุกไปไหนไกล ขอแค่พื้นที่เล็กๆ ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณก็พอแล้ว

4 ขั้นตอนคลายอาการปวดเมื่อยคอ

1.ท่าก้มศรีษะ ศรีษะตั้งตรงอยู่ในท่าอกผายไหล่ผงึ่ จากนั้นค่อยๆ ก้มคอลงช้าๆ โดยก้มให้มากสุด เท่าที่จะทำได้ หรือก้มจนรู้สึกตึงพอดี ไม่ควรฝืนมาก จากนั้นนับ 1-8 ค้างไว้ ก่อนกลับมาท่าเดิม

2.ท่าเงยหน้า นี่คือท่าออกกำลังคอที่ทำในลักษณะตรงกันข้ามกับท่าแรก เริ่มด้วยการจัดศีรษะตั้งตรง ปิดปาก ค่อยๆ เงยหน้าช้าๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม แต่ถ้ามีอาการเจ็บหรือเจ็บร้าว ต้องหยุดทันที

3.ท่าเอียงคอซ้าย-ขวา ศีรษะตั้งตรง ค่อยๆเอียงศรีษะให้หูอยู่ในแนวเดียวกับไหล่จนรู้สึกตึง เปลี่ยนอีกข้างในลักษณะเดียวกัน อย่าให้คอบิด ให้อยู่ระนาบเดียวกับไหล่

4.ท่าหันศีรษะซ้าย-ขวา หันหน้าให้คางไปทางไหล่ จนสุด ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม เปลี่ยนอีกข้างในลักษณะเดียวกัน แต่ละท่าควรค้างไว้โดยนับ 1-8 หรือ 5-10 วินาที แล้วทำซ้ำ 5-10 ครั้ง อย่างน้อยวันละ 1 เซต หรือ 3-4 วันต่อสัปดาห์

วิตามินกับอาการปวดเมื่อย ระดับวิตามินดีที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Clinical Rheumatology ปี 2010 มีผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังซึ่งเป็น มังสวิรัติเข้ารับการรักษาด้วยการรับ วิตามินดีเสริม พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นในเวลาต่อมา www.livestrong.com

ขอขอบคุณ :
นายแพทย์วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา และข้อมูลสุขภาพ จากโรงพยาบาลสมิติเวช ”

ติดตามอ่านตอนที่ 2-4 ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยคะ….

ตอนที่ 2: เมื่อต้องใช้มอร์ฟีนระงับความเจ็บปวด

https://oravadee.wixsite.com/mysite/single-post/2017/03/29/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2 %E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%87%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94

ตอนที่ 3: ใช้ชีวิตต่อไปเมื่อองศาคอเปลี่ยน
https://oravadee.wixsite.com/mysite/single-post/2017/03/29/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99

ตอนที่ 4: การรักษากับการแพทย์ทางเลือก
https://oravadee.wixsite.com/mysite/single-post/2017/03/29/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93

ไลฟสไตล์ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP