WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
เมื่อเสืออยากเป็นใหญ่##

23 เมษายน 2560 : สถานการณ์โลกนับวันยิ่งคุกรุ่นขึ้น เพราะผู้มีอำนาจของโลกต่างไม่ลดราวาศอกซึ่งกันและกัน ออกอาการเขม่น!!…ใช้ข้ออ้างนานับประการในการจะก่อสงครามสงคราม เริ่มจากปัญหาเล็กๆ แล้วค่อยๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายสิบปีก่อน จะเห็นความสูญเสียมากมายไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรประเทศ ทรัพยากรคน ทรัพยากรธรรมชาติ และหลายๆทรัพยากรอื่นๆอีกมากมาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นในหลายๆเหตุการณ์ ดูเหมือนไม่ได้เป็นบทเรียนให้ได้คิดแม้แต่นิดเดียว ล่าสุด สงครามเริ่มส่อแววว่าจะปะทุขึ้นมาอีกครั้ง

ส่วนมุมมองสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีล่าสุด กูรูอย่าง นายวิน พรหมแพทย์ ประธาน เจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการ กองทุนซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจว่า สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี 1. จากประวัติศาสตร์โลก สงครามมักไม่เกิดจากความตั้งใจของ 2 ประเทศจะลุกขึ้นมาสู้กัน แต่เกิดจาก “เหตุการณ์จุดชนวน” เช่น การลอบปลงพระชนม์ ดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งราชบังลังออสเตรีย-ฮังการี เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ดังนั้น จึงห่วงที่เกาหลีเหนือจะทำอะไรแผลงๆ เพื่อจุดชนวนให้เกิดสงคราม

15

2. ประเทศที่น่าห่วงที่สุดคือ เกาหลีใต้ หากเกาหลีเหนือ “ลงมือ” กับเกาหลีใต้เมื่อใด ก็จะเป็นการดึงสหรัฐฯ เข้าสงครามทันที ในแง่ภูมิศาสตร์ เกาหลีใต้มีความเปราะบางมาก เพราะกรุงโซลและบริเวณโดยรอบมีประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ อยู่ห่างจากชายแดนเพียง 56 กิโลเมตร จึงอยู่ในระยะที่เกาหลีเหนือจะยิงจรวดพิสัยใกล้ได้ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือยังมีศักยภาพโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในคาบสมุทรเกาหลี เลยไปถึงญี่ปุ่นด้วย

3. การเกิดสงครามในวันที่เศรษฐกิจและการค้าโลกมีความเชื่อมโยงกันจะส่งผลกระทบมาก เกาหลีใต้นับเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 9 ของโลก มีส่วนแบ่ง 3% ของการค้าโลก และมีส่วนแบ่ง 17% ของการผลิต Semiconductor หากเกาหลีใต้ถูกโจมตี การผลิตและการค้าโลกจะได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่

4. ในทางตรงข้าม มีหลายคนแอบหวังว่า “คิม จอง อึน” จะถูกโค่นล้ม และเกาหลีทั้งสองก็จะรวมเป็นหนึ่งได้เสียที ซึ่งหากรวมประเทศได้ จะมีประโยชน์ต่อเกาหลีใต้ในระยะยาว เนื่องจากลูกพี่ทางเหนือมีประชากรเด็กกว่า กลายเป็นแรงงานชั้นดี และมีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า แต่การรวมประเทศต้องใช้ “ทุนทรัพย์” มหาศาล คาดกันว่าอาจสูงถึง 1 ล้านล้านดอลล่าร์ พอๆ กับ GDP ของเกาหลีใต้และนับเป็น 3 เท่าของการรวมประเทศเยอรมนี

5. ผลกระทบต่อตลาดการเงิน – เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ตลาดทุนเข้าสู่โหมด Risk Off อีกครั้ง โดยแรงซื้อพันธบัตรทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับลดลงจาก 2.60% เหลือ 2.25% และราคาทองคำปรับขึ้นจาก $1,129 เมื่อปลายปีที่แล้วมาอยู่ที่ $1,288 แต่น่าแปลกว่า ตลาดหุ้นดูจะไม่แสดงความกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากนัก โดยดัชนี S&P500 ยังยืนเหนือ 2,300 จุดได้ ส่วนค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่า 5% จากต้นปี หุ้นเกาหลีในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 4% แต่นับจากต้นปีถึงปัจจุบันยังบวกอยู่กว่า 8%

1114

6. คำแนะนำ – สงครามจะเกิดขึ้นหรือไม่ เป็นสิ่งที่คาดได้ยาก สิ่งที่พอจะทำได้คือ Stay Diversified and Stay Invested นั่นคือ เน้นการกระจายลงทุนให้หลากหลาย เพราะเราไม่อาจเดาได้ว่าทิศทางของตลาดจะไปทางไหน โดยในพอร์ตควรมีทั้ง หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ และทองคำ

7. ในส่วนของหุ้น อาจลดสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ และเกาหลี แล้วถือเงินสดมากขึ้น หากมีการลงทุนในพันธบัตรและอสังหาริมทรัพย์ (อาทิ กองทุน CIMB-Principal iFIXED, iPROP, SIF) และทองคำ (iGOLD) แนะนำให้ถือต่อเพราะได้ประโยชน์จากการเข้าโหมด Risk Off สำหรับกองทุนหุ้นไทย (iDIV, TDIF) ควรปรับสัดส่วนโดยเพิ่มการถือเงินสดมากและเน้นหุ้นกลุ่มที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศมากขึ้น logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

เศรษฐกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP