WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ส.ประกันวินาศภัยไทย สัมมนาเปิดวิสัยทัศน์ธุรกิจ พร้อมเร่งควบรวม IPRB+TRD = TIRD องค์กรอิสระ ยกมาตรฐานสู่สากล##

21 มีนาคม 2560 : ดร.จุฑาทอง จารุมิลินท เลขาธิการสำนักดงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (IPRB) เปิดเผยว่า ปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ข้อมูลประกันภัยและการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยแห่งเอเชีย 2017 (Insurance Information and Ratemaking Forum of Asia – IIRFA 2017) โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 และเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีโกาสเป็นเจ้าภาพการประชุม โดยมี 8 ประเทศสมาชิก และธุรกิจประกันชีวิต ประกันวินาศภัย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน

การประชุม IIRFA 2017 มีการกำหนดจัดงานรวม 2 วัน คือ 20-21 มีนาคม 2560 โดยวันแรกเป็นการประชุม IIRFA Member Forum เพื่อแลกเปลี่ยนภาพรวมข้อมูลตลาดประกันภัยของประเทศสมาชิก 8 ประเทศ ซึ่งมีมูลค่าเบี้ยประกันชีวิตและวินาศภัยรวมกันประมาณ 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 89 ของตลาดประกันภัยในภาคพื้นเอเชีย หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของตลาดประกันภัยโลก และปีนี้ IPRB ได้เชิญสมาคมประกันภัยแห่งประเทศกัมพูชา มาร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ เพื่อเตรียมการเข้าเป็นสมาชิก IIRFA ในอนาคต

IMG20170321120837

โดยที่ประชุมประเทศสมาชิก IIRFA Member Forum ได้มีมติเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลตลาดประกันภัย และแนวโน้มที่สำคัญผ่านทาง IIRFA Newsletter อีกช่องทางหนึ่ง นอกเหนือจากการเผยแพร่บนเว็บไซต์ขององค์กรสมาชิกแต่ละประเทศ โดย IPRB จะเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการจัดทำ IIRFA Newsletter ขึ้นในฉบับแรก

สำหรับการประชุมช่วงเช้าเป็นหัวข้อ “Health and Life Insurance” ซึ่งทางต่างประเทศมีการพูดถึงการเก็บออมเพื่อรองรับการเกษียณอายุ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่ยุคผู้สูงวัยด้วยความรวดเร็ว ซึ่งมีแนวโน้มเป็นไปได้ว่าประชากรของประเทศไทยอีก 20 ปี อาจจะลดลงเหลือ 50 ล้านคนจาก 70 ล้านคนในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนประชากรเด็กเกิดน้อยลง ขณะที่ผู้ใหญ่แก่รวดเร็วขึ้น และอายุยืนยาวขึ้น แต่มีรายได้น้อยลง ยกตัวอย่าง ประเทศเกาหลี-ไต้หวัน มีการพิจารณาถึงโรคร้ายแรงว่าจะต้องมีความคุ้มครองอย่างไร อัตราเบี้ยประกันอยู่ในระดับใด ซึ่งมีโมเดลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ส่วนช่วงบ่าย สัมมนาภายใต้หัวข้อ “Big Data and Analytics” ที่นำมาใช้ในการป้องกันการฉ้อฉลประกันภัย และการจัดกลุ่มให้เหมาะสมกับความเสี่ยงภัย

IMG20170321092038

พร้อมกันนี้ นายกีเดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า สิ่งที่สมาคมฯ พิจารณาจากโมเดลของประเทศเกาหลีที่ประสบความสำเร็จ และมีแนวคิดที่จะนำมาต่อยอด คือการจัดตั้ง “กองทุนประกันภัยต่อภาคการเกษตรของรัฐ” เป็นการรวบรวมข้อมูลเป็นพัฒนาโมเดลของภาคการเกษตร เพื่อจัดทำต้นทุนความเสียหายของภาคการเกษตรทั้งระบบ ในการกำหนดราคาเบี้ยประกันที่ยุติธรรม โดยให้ภาครัฐเข้ามาดำเนินการ

ทั้งนี้ ทางประเทศเกาหลี มีการจัดทำเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ซึ่งเกษตรกร มีความเข้าใจด้านการทำประกันภัย และทำประกันภัยอย่างทั่วถึง เบี้ยประกันภัยรับทางด้านการเกษตรในปีที่ผ่านมามีประมาณ 20,000 ล้านบาท รวมถึงมีพนักงานสำรวจภัยภาคสมัครใจเกี่ยวกับประกันภัยทางการเกษตรโดยเฉพาะประมาณ 500 คน โดยทำหน้าที่พิจารณาสินไหมถึงจุดเกิดเหตุ ทำให้ได้ทราบความเสียหายที่แท้จริง ควบคุมปัญหาการรั่วไหลของสินไหมทดแทนได้

ขณะที่ประเทศไทย มีการศึกษาด้านพืชเกษตรหลายประเภท เช่น ข้าว ข้าวโพด แต่ขณะนี้มีการทำประกันภัยนาข้าวเพียงประเภทเดียว โดยภาครัฐให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้น แต่ปีแรกๆ นั้นก็ไม่ส่งผลตอบรับเท่าที่ควร จนมาปี 2559 เบี้ยประกันภัยก้าวกระโดดไปถึง 2,700 ล้านบาท ในขณะที่วิธีการตรวจสอบความเสียหายของไทย ไม่ได้ว่าจ้างเจ้าหน้าที่ แต่ให้ทางคณะกรรมการช่วยเหลือภัยพิบัติระดับอำเภอ หรือ กชพอ.ช่วยกันตรวจสอบ

“ความเสียหายของประกันภัยนาข้าวสำหรับในปี 59 กรณีน้ำท่วม 11 จังหวัดภาคใต้ทำให้ข้าวที่ทำประกันภัยเสียหาย และคิดเป็นค่าสินไหมทดแทน 131 ล้านบาท หรือสัดส่วน 1,100% จากจำนวนนาข้าวที่ทำประกัน 1.18 แสนไร่ ซึ่งในภาคใต้มีการทำนาทั้งสิ้น 4 แสนไร่” นายกี่เดชกล่่าว

IMG20170321092521

อย่างไรก็ดี การประชุม IIRFA 2017 เน้นถึงความสำคัญของการมีฐานข้อมูลกลางของอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งในส่วนของธุรกิจประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันวินาศภัย และสำนักอัตราเบี้ยประกันภัย ได้ร่วมมือกับสำนักงาน คปภ. ในการผลักดันให้เกิดโครงการ Insrance Bureau System ขึ้นภายในปีนี้ เพื่อให้มีมาตรฐานของข้อมูลธุรกิจสมบูรณ์ เช่นเดียวกับในต่างประเทศ

โดย สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัยมีแผนในการจัดทำความร่วมมือ เรื่อง เทคนิคการทำแบบจำลองความเสี่ยงภัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยภาคการเกษตรกับประเทศสมาชิก IIRFA รวมทั้งแนวทางการจัดตั้งกองทุนประกันภัยต่อภาคการเกษตร ที่ได้เสนอไว้ในคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล

พร้อมกันนี้ จะมีการควบรวมกิจการของ สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย The Insurance Premium Rating Bureau – IPRB) และ Thai Insurers Datanet :TRD เป็นศูนย์ข้อมูลประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคบังคับ (พ.ร.บ.)และภาคสมัครใจ เพื่อแยกออกมาเป็นหน่วยงานอิสระ ที่ใช้ชื่อว่า Thailand Insurance Research and Development : TIRD) โดยจะมีสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ปุณณวิถี สุขุมวิท คาดว่าจะดำเนินการควบรวมกิจการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับจากนี้ไป เพื่อความคล่องตัวต่อการดำเนินงาน

IMG20170321095617

อนึ่ง : IIRFA มีประเทศสมาชิกที่เป็นหน่วยงานกลางของภาคอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย และมีบางหน่วยงานครอบคลุมอุตสาหกรรมประกันชีวิตด้วย มีจำนวน 8 องค์กร ได้แก่ 1. General Insurance Rating Organization of Japan (GIROJ) 2. Insurance Association of Chaina (IAC) 3. Insurance Information Bureau of India (IIB) 4. ISM Insurance Services Malaysia Berhad (ISM) 5. Korea Insurance Development Institute (KIDI) 6. Otoritas Jasa Keuangan (OJK Indonesia)

7. Taiwan Insurance Institute (TII) และ 8. Insurance Premium Rating Bureau (IPRB – Thailand) องค์กรสมชิก IIRFA ทำหน้าที่รวบรวมสถิติข้อมูลสารสนเทศ การวิจัยและการคำนวณต้นทุนความเสียหายlogo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

ประกันภัย ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP