WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
CLMV บ่อทองของนักลงทุน!!

13 กุมภาพันธ์ 2560 : ช่วงนี้สถาบันการเงินทั้งนอนแบงก์และแบงก์ไทย ร่วมไปถึงธุรกิจต่างๆ ต่างพากันขยายกิจการไปยังต่างประเทศในกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น การรุกภูมิภาคดังกล่าวไม่ใช่แค่พึ่งเกิดขึ้นหนึ่งหรือสองปีนี้ แต่ทว่าได้มีการบุกเบิกมาหลายปีแล้ว เพราะผู้ประกอบการต่างเห็นว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่ม CLMV ที่ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มีช่องว่างในการทำธุรกิจอีกมาก ด้วยปัจจัยเด่นในประเทศนั้น อย่างเวียดนามก็มาฐานการกำผลิตที่ต้นทุนต่ำ ความต้องการสินค้าของไทยในกัมพูชาและลาวมีจำนวนมาก ส่วนพม่าได้เปิดประเทศและขยายประเทศให้เติบโต ขณะที่เวียดนามถือเป็นแหล่งประชากรจำนวนมาก ทำให้ CLMV เป็นบ่อทองสำหรับผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ

ทั้งนี้ หากมองเศรษฐกิจของ CLMV ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เศรษฐกิจของ CLMV ยังคงเป็นดาวเด่นของอาเซียนที่คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 6.5 ในปี 2559 โดยแรงส่งหลักมา จากการลงทุนที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังเติบโตได้ดี อันสะท้อนถึงอุปสงค์สินค้าที่น่าจะยังอยู่ใน ระดับสูง และโมเมนตัมการขยายตัวยังดีต่อเนื่องในปี 2560 ที่คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 6.8

ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยัง CLMV ในปี 2560 น่าจะสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้ ร้อยละ 3.8 บนปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ดี การพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ มีความผันผวนทางด้านราคาสูง บวกกับการออกไปลงทุนตั้งฐานการผลิตใน CLMV ของนักลงทุนไทย และการไม่สามารถเชื่อมกับห่วงโซ่อุปทานของ CLMV ได้ อาจส่งผลต่อความยั่งยืนของการส่งออกของไทยในระยะยาว ทำให้ไทยต้องปรับตัวโดยเพิ่มการส่งออก สินค้าอุตสาหกรรมให้มากขึ้นเพื่อเชื่อมกับห่วงโซ่อุปทานของ CLMV อันจะช่วยลดความผันผวนด้านราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ได้ รวมไปถึงการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลให้การส่งออกของไทยไป CLMV เติบโตได้อย่างยั่งยืน

p1

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การส่งออกจากไทยไป CLMV ปี 2560 น่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ในกรอบร้อยละ 3.3-4.3 (ค่า กลางร้อยละ 3.8) จากแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น การพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวนทางด้านราคาสูง การออกไปลงทุนตั้งฐานการผลิตใน CLMV ของนักลงทุนไทย และการมีบทบาทมากขึ้นของประเทศอื่นในภูมิภาคในตลาด CLMV อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของการส่งออกของ ไทยไปยัง CLMV ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจำต้องปรับตัวโดยเพิ่มการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมกับห่วงโซ่อุปทาน และสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมใน CLMV รวมไปถึงเพิ่มการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะสินค้าที่มี มูลค่าเพิ่มสูง เพื่อตอบโจทย์กำลังซื้อในเขตเมืองของ CLMV ที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนชนชั้นกลางที่ขยายตัว อันจะช่วยรักษา เสถียรภาพของการส่งออกของไทยไป CLMV ในระยะยาว

ประเด็นสำคัญ คือ CLMV นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวอย่างโดดเด่น โดยในปี 2559 ที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้ราวร้อยละ 6.5 จากกำลังซื้อของประชาชนใน CLMV ที่ขยายตัวได้ตามการพัฒนาเศรษฐกิจ 1 และจากการลงทุนยกระดับและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของทางภาครัฐ รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งมีส่วนช่วยให้การส่งออกจาก CLMV ขยายตัวดีด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนโมเมนตัมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ CLMV ในปี 2560 คาดว่ายังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องราวร้อยละ 6.8

ทั้งนี้ ด้วยพัฒนาการเศรษฐกิจที่โดดเด่น ประกอบกับการมี พรมแดนที่ตั้งติดกับไทย รวมถึงการมีเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา CLMV ได้ก้าวขึ้นมาเป็นตลาด ส่งออกสำคัญของไทย ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยัง CLMV ที่เพิ่มขึ้นสูงจากเดิมเพียงร้อยละ 6.9 ของ การส่งออกทั้งหมดในปี 2554 ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 10.3 ในปี 2559

1. เมียนมาและกัมพูชาได้ขยับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางขั้นต่ำ (Lower middle income countries) เมื่อปี 2558 และ 2559 ตามลำดับ ตามหลังเวียดนามและ

2.CURRENT ISSUE การส่งออกไทยไปยัง CLMV ปรับตัวลดลงอย่างมากในปี 2559 ทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะยังคงใกล้เคียงกับปี 2558 ซึ่งวัฏจักรของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความผันผวน ทำให้การส่งออกของไทย ไป CLMV มีความผันผวนตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับโครงสร้างการส่งออกโดยรวมของไทยที่มีสัดส่วน สินค้าโภคภัณฑ์เพียงร้อยละ 19

นอกจากนี้ การเข้าไปลงทุนตั้งฐานการผลิตใน CLMV เพื่อผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค พื้นฐานของนักลงทุนไทยและต่างชาติ เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และวัสดุก่อสร้าง อาทิ ปูนซีเมนต์ ก็เป็น อีกหนึ่งปัจจัยที่ท าให้การส่งออกจากไทยไป CLMV ลดลงเช่นเดียวกัน
การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยไป CLMV

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าร้อยละ 20 จากปี 2559 และจะยัง ทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องในปี 2560 นี้ จะเป็นปัจจัยหลักที่ ทำให้การส่งออกของไทยไป CLMV กลับมาฟื้นตัวได้ที่ร้อยละ 3.8 ในปี 2560 ด้วยมูลค่าการส่งออกราว 23,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของการส่งออกในปีนี้ที่เกิดจากการ ปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก อาจจะไม่ยั่งยืนหากราคา สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงในอนาคต และนักลงทุนเข้าไปตั้งฐาน การผลิตใน CLMV เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ส่วนในระยะข้างหน้า การส่งออกของไทยไปยัง CLMV นอกจากจะต้องเผชิญกับวัฏจักรราคาสินค้า โภคภัณฑ์แล้ว ยังจะต้องเผชิญกับความท้าทายอื่น ๆ ซึ่งจะกลายเป็นโจทย์สำคัญมากขึ้น และสะท้อนกลับมาที่ ปัญหาเชิงโครงสร้างการส่งออกของไทยไปยังตลาด CLMV ดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า แนวโน้มการชะลอตัว ของการส่งออกของไทยไป CLMV ในอนาคต

จะมีสาเหตุหลักจากการเข้าไปลงทุนตั้งฐานการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคใน CLMV ของทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยไป CLMV ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 24 ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนผลิตเครื่องดื่มในเมียนมาของนักลงทุนต่างชาติจนส่งผลให้การส่งออกเครื่องดื่มซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยไปยังเมียนมา หดตัวลงตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา หรือแม้แต่วัสดุก่อสร้างอย่างปูนซีเมนต์ที่มีนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนใน CLMV ก็อาจท า ให้การส่งออกปูนซีเมนต์จากไทยไปยัง CLMV ในปี 2560 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่สอง logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว)

เศรษฐกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP