30 มกราคม 2560 : “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ในหลายภูมิภาค สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี”
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิ ภาคประจำเดือนธันวาคม ปี 2559 “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ในหลายภูมิภาค สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิ ภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างชัดเจน จากการบริโภค ภาคเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่าย และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 2.3 และ 6.0 ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 และ 9.4 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 36.2 ต่อปี เช่นเดียวกันกับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวในระดับสูง โดยในเดือนธันวาคม 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 36.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 38.6 ต่อปี
ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวในภูมิภาค ในขณะที่ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 12.9 และ 25.8 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ13.5 และ 20.1 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวา 2559 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออก เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัวได้ดี โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐและเอกชน และการท่องเที่ยว เป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2559 ขยายตัวร้อยละ 34.1 และ 301.2 ต่อปี ตามลำดับ และในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 และ 77.9 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย ที่สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุน
นอกจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 ต่อปี ตามผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ ปรับตัวดีขึ้น สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคในเดือนธันวาคม 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.0 ต่อปี ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 17.7 ต่อปี สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 44.4 และ 84.1 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 37.8 และ 76.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2559 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการบริโภค การลงทุนภาครัฐ และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่าย และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 7.4 และ 1.1 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 0.3 ต่อปี ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ที่ ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี
เช่นเดียวกันกับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคในเดือนธันวาคมขยายตัวที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ21.5 ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวภายในภูมิภาค ในขณะที่ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้ งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยื อนที่ร้อยละ 2.7 และ 5.3 ต่อปี ตามลำดับ และในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 และ 2.4 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2559 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิ กายน อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจภูมิภาคยังฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มี รายได้น้อย และการลงทุนภาครัฐเป็นสำคัญ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อยยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ ขยายตัวร้อยละ 58.5 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.6 ต่อปี สอดคล้องกับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคในเดือนธันวาคมขยายตัวที่ร้อยละ 103.0 ต่อปี
ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 80.9 ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวภายในภูมิภาค ในขณะที่ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวจากจำนวนและรายได้ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่ขยายตัวได้ร้อยละ 24.1 และ 32.3 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2559 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวค่ อยเป็นค่อยไป จากการลงทุนภาครัฐและเอกชน และการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้ านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ส่ งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น จากเม็ดเงินลงในโรงงานอุ ตสาหกรรมในเดือนธันวาคม ขยายตัวในอัตราเร่งร้อยละ 1,230.8 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 82.2 ต่อปี ตามการลงทุนในโรงงานอุ ตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน้ำ สอดคล้องกับการลงทุนภาครัฐในภู มิภาคในเดือนธันวาคม ยังขยายตัวที่ร้อยละ 53.0 ต่อปี และไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 38.9 ต่อปี
ขณะที่ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจำนวนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนที่ขยายตัวร้อยละ 17.5 และ 14.5 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 และ 5.5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่ วไปในเดือนธนวาคม อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริ โภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิ กายนอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคเหนือ เศรษฐกิจภูมิภาคยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ ยวยังเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคั ญ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้ านอุปสงค์ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนของรั ฐบาลในภูมิภาคในเดือนธันวาคม ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 66.0 ต่อปี และในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 42.0 ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุ นการขยายตัวภายในภูมิภาค อีกทั้งการลงทุนในหมวดเครื่องมื อเครื่องจักรขนาดใหญ่ส่งสั ญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเม็ดเงิ นลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในเดื อนธันวาคม ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 432.4 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 58.7 ต่อปี
สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่ อง จากรายได้ของผู้เยี่ยมเยือนที่ ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี และสอดคล้องกับผลผลิตภาคเกษตรที่ ขยายตัวร้อยละ 10.0 ต่อปี ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยั งอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่ วไปในเดือนธันวาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิ กายนอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันตก เศรษฐกิจภูมิภาคยังคงทรงตัว แต่การลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ ยวยังคงขยายตัวได้ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้ านอุปสงค์ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนของรั ฐบาลในภูมิภาคในเดือนธันวาคม ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 118.4 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 112.7 ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุ นการขยายตัวภายในภูมิภาค ส่วนด้านอุปทาน การท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้ งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยื อนที่ร้อยละ 6.6 และ 19.0 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 และ 18.8 ต่อปี ตามลำดับ
ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยั งอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่ วไปในเดือนธันวาคมที่ยังอยู่ ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคอยู่ ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิ กายนอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค