25 พฤศจิกายน 2567 : ใกล้ท้ายปี 2567 หลายคนเริ่มว่างแผนภาษีกันแล้ว โดยทางเลือกในการประหยัดภาษีที่ดีที่สุดคือ การลงทุนผ่านกองทุนรวม อย่างกองทุนเพื่อการออมระยะยาว (SSF) ที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้ในประเทศและต่างประเทศ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งในประเทศและต่างประเทศเช่นกัน ส่วนกองทุนสุดท้ายน้องใหม่ คือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ที่ได้ไฟเขียวในการจัดตั้งเมื่อช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา พร้อมกับเปลี่ยนเกณฑ์การลงทุนใหม่ให้มีความจูงใจมากขึ้น
รายชื่อกองทุนรวม Thai ESG รวม 42 กองทุน (ณ 31 ต.ค.67)
ความน่าสนใจของกองทุนดังกล่าว นอกจากเชฟภาษีประจำปีได้แล้ว ยังช่วยออมเงินเพื่อรองรับเกษียณได้อีกทางหนึ่ง เพราะการถือครองกองทุนมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนตั้งแต่ 5-10ปี ขึ้นอยู่แต่ละประเภทกองทุนฯ ในที่นี้อยากจะกล่าวถึงกองทุน Thai ESG สักนิด เพราะโลกขณะนี้กำลังเดินหน้าสู่ความยั่งยืน ผ่านการรักษาสิ่งแวดล้อม (Environmental), ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และการบริหารจัดการที่ดี (Governance) หรือที่เรียกว่า หลักการ ESG อย่างเต็มรูปแบบ ทุกประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับหนึ่ง เพราะต่างมั่นใจว่าธุรกิจใดที่มุ่งเน้น ESG จะส่งประโยชน์เชิงบวกต่อธุรกิจค่อยข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความแข็งแกร่งด้านผลประกอบการ ขณะเดียวกันช่วยให้ประเทศและโลกใบนี้สดใสมากขึ้น
ส่วนข้อดีของการลงทุนในกองทุนยั่งยืน คือ 1. ผลตอบแทนระยะยาว เพราะบริษัทที่ดำเนินงานตาม ESG มักมีความมั่นคงและความยั่งยืนมากกว่า 2. สนับสนุนการพัฒนาสังคม โดยการลงทุนในกองทุนนี้ช่วยสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลกและชุมชน 3.สอดคล้องกับเทรนด์โลก โดยการลงทุนแบบยั่งยืนกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อช่วยประเทศ ธุรกิจ และโลกสู่ความยั่งยืน พร้อมประหยัดภาษีประจำปีด้วย การลงทุนผ่านกองทุนThai ESG ก็น่าสนใจไม่น้อย ประกอบกับกองทุน Thai ESG ที่ปรับเกณฑ์ลงทุนใหม่ยิ่งทำให้น่าสนใจขึ้น
สำหรับเกณฑ์ใหม่กองทุน Thai ESG โดยในปี 2567 กองทุนฯได้รับการปรับปรุงจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อสนับสนุนการลงทุนที่มุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์และความยืดหยุ่นสำหรับนักลงทุน คือ 1. การลดหย่อนภาษี นักลงทุนสามารถนำการลงทุนในกองทุน Thai ESG มาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้พึงประเมินต่อปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และสามารถลงทุนได้ระหว่างปี 2567–2569
2. ขอบเขตการลงทุนที่หลากหลายขึ้น โดยกองทุนสามารถลงทุนในหุ้นหรือบริษัทที่ได้รับการประเมินด้าน ESG จากสถาบันอิสระที่น่าเชื่อถือ รวมถึงตราสารหนี้ประเภท Green Bond, Sustainability Bond และ Sustainability-Linked Bond 3. มาตรฐานการบริหารจัดการที่เข้มงวดขึ้น โดยผู้จัดการกองทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ (Fiduciary Duty) และมุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ESG โดยจะต้องเปิดเผยข้อมูลการลงทุนด้านความยั่งยืนตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และ4.เพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุน โดยการลงทุนแบบ Active Management ช่วยให้กองทุนสามารถเน้นหุ้นหรือสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในด้าน ESG สูงกว่าเกณฑ์ทั่วไป และผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคธุรกิจไทย
ขณะเดียวกันสมาคมบริษัทจัดการลงทุน(AIMC) และสมาชิกบริษัทจัดการลงทุน 16 แห่ง ร่วมโชว์ความพร้อมในช่วงเทศกาลภาษีส่งท้ายปี ในการสนับสนุนกิจการที่มุ่งสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ พร้อมนำเสนอ 42 กองทุนThaiESG ให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ทำงานประจำ ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือผู้มีอาชีพอิสระ (Freelance) ที่ต้องการการลงทุนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในวงเงินที่เพิ่มขึ้น (สูงสุดสามแสนบาท)
พร้อมกับร่วมกันสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยตั้งเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนผู้ซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ให้ได้รวมกันกว่า 200,000 คน ยอดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาท
ด้านนางชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ในฐานะตัวแทนบริษัทจัดการลงทุนในประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากกระทรวงการคลังและกรมสรรพากรได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มในการจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) พร้อมปรับเกณฑ์การลงทุนภายใต้เงื่อนไขใหม่ โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ลงทุน ด้วบการลดระยะเวลาการถือครองที่ลดลงเหลือเพียง 5 ปี และวงเงินลดหย่อนที่เพิ่มเป็น 300,000 บาท
ในฐานะผู้บริหารและจัดการลงทุนจึงตั้งใจและพร้อมใจกันที่จะแสดงถึง commitment ของเราเพื่อให้ผู้ลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าการลงทุนของตนจะมีประสิทธิภาพในระยะยาวและมีส่วนช่วยผลักดันบริษัทจดทะเบียนไทย และบริษัทผู้ออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืนให้มุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality, Net Zero การใส่ใจสังคมและการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยมีความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ปัจจุบันมีกองทุน Thai ESG ในอุตสาหกรรมที่นำเสนอรวมทั้งสิ้น 42 กองทุนจาก 16 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) คอดเป็นสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร(AUM)ประมาณ 12,000 ล้านบาท โเยเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเที่ยบกับสิ้นปี 2566 ที่ AUM อยู่ที่ระดับ 6,400 ล้านบาท จาก 22 กองทุนฯ มั่นใจ หลังจากสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อทุกช่องทางอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างความตระหนักถึง สิ่งแวดล้ม สังคม ธรรมาภิบาล (ESG) พร้อมกับสร้างความมั่นใจต่อตลาดทุนไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้
ส่งผลให้เงินลงทุนจาก Thai ESG จะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20,000 ล้านบาทจากยอดเงินลงทุนในปัจจุบันที่ 12,000 ล้านบาท ได้แน่นอน โดยมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเห็นตัวเลขเงินลงทุนในระดับสูงถึง 25,000 ล้านบาท ส่งผลให้เงินลงทุนใน Thai ESG รวมสิ้นปีนี้มีโอกาสแตะสูงถึง 40,000 ล้านบาท
นางชวินดา กล่าวอีกว่า การรุกตลาดของ Thai ESG ครั้งนี้หนุนตลาดหุ้นไทยคึกคัก โดยภาพรวมตลาดหุ้นไทย ด้านราคาถือว่าไม่ถูกและไม่แพงสามารถทยอยสะสมได้ ด้วยภาพชัดเจนในหลายๆเรื่องในการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตที่ยังมีผลไปถึง2568 เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นไทย ขณะที่ปีนี้กลุ่มหลักทรัพย์หลายกลุ่มเติบโตโดดเด่น ทั่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มคอมซูเมอร์ ที่ยังเติบโตต่อได้ถึงปี 2568 อย่างไรก็ตาม ตลากดหุ้นไทยจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อน
ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจกองทุน Thai ESG ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนและเป้าหมายความยั่งยืนของแต่ละกองทุนก่อนการลงทุน และสามารถตรวจสอบรายชื่อกองทุนได้จากเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. หรือผู้จัดการกองทุนที่เกี่ยวข้องได้ตลอด