27 มกราคม 2560 : ในปีที่ผ่านมานโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล Thailand ๔.๐ เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง โดยหนึ่งในโครงการที่ช่วยส่งเสริมนโยบายดังกล่าว คือ โครงการส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Smart City ซึ่งจะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้เกิดการเชื่อมต่อ ปรับเปลี่ยน แก้ไข ระเบียบ ข้อบังคับ อันเป็นการจำกัดโอกาสในการลงทุน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้เทคโนโลยี การให้คำปรึกษาธุรกิจในพื้นที่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล Thailand ๔.๐ ผ่านโครงการ Smart City นั้น ทางกระทรวงดีอีได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ การจัดทำโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ขยายจุดให้บริการฟรีไวไฟ ซึ่งตรงนี้คือจุดเริ่มต้น แต่การจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต้องอาศัยพลังประชารัฐหรือการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชนที่เป็นคนในพื้นที่
เนื่องจากแนวคิดหลักของ Smart City คือ การกระจายอำนาจและสร้างความสามารถในการบริหารจัดการเมืองของแต่ละท้องถิ่น การสร้างอำนาจให้กับประชาชน และชุมชนในการร่วมกำหนดทิศทาง รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในการบริหารจัดการเมือง เช่น การมีระบบแจ้งเหตุร้ายหรือความเสียหายของเมืองจากประชาชนผ่านระบบแอปพลิเคชัน โดยหากมีการใช้อย่างต่อเนื่องและมีการแสดงความคิดเห็นเข้ามา ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาและความชัดเจนด้านต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นสัญญาณให้เกิดการผลิกโฉมเมืองได้จริง
อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงภาพที่หลายฝ่ายมอง แต่เรื่องเหล่านี้ยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมาก โดยเฉพาะความท้าทายในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเมือง การบริหาร การจัดทำงบประมาณ รวมถึงการบริหารราชการแผ่นดินในภาพรวมและที่สำคัญ คือ หัวใจหลักของการเรียนรู้และพัฒนาทั้งคน สังคม เมือง ต้องร่วมมือกัน
ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) (ซิป้า) เดิม ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ Phuket Smart City ทำให้พบปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้น สำหรับการพัฒนา Smart City แบบยั่งยืน อาทิ ปัญหาด้านงบประมาณในการขับเคลื่อนที่ไม่ต่อเนื่อง การขาดผู้ดำเนินงานในระยะยาว
ดังนั้นหากต้องการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วย ซึ่งหลาย ๆ บริการสามารถสร้างรายได้จากการให้บริการ หากมีรูปแบบธุรกิจที่ดี จึงเชื่อว่าภาคเอกชนจำนวนมากต้องการเข้ามาดำเนินการตรงนี้ ดังนั้นภาครัฐเองจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง แต่ให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ร่วมดำเนินงาน
จุดนี้เองเป็นข้อต่อที่สำคัญในการเชื่อมประสานการลงทุน และเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัทพัฒนาเมือง หรือการรวมตัวของนักธุรกิจท้องถิ่น เพื่อจัดตั้งเป็นบริษัทในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ของตนเองไปข้างหน้า และไม่ได้หวังพึ่งพารัฐบาลอย่างเดียว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากนักธุรกิจขอนแก่นที่ได้รวมตัวกันจดทะเบียนในชื่อว่าบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) ที่มีแนวคิดต้องการพัฒนาขอนแก่นให้หลุดพ้นจากกับดักของประเทศไทยในเรื่องของรายได้ระดับปานกลางและการรอคอยการพึ่งพาจากผู้อื่น โดยไม่ได้ลุกขึ้นมาทำอะไรด้วยตนเอง
ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองของขอนแก่น ก็เป็นที่มาให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดภูเก็ตพัฒนาตาม
ดังนั้น หากต้องการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วย ซึ่งหลาย ๆ บริการสามารถสร้างรายได้จากการให้บริการ หากมีรูปแบบธุรกิจที่ดี จึงเชื่อว่าภาคเอกชนจำนวนมากต้องการเข้ามาดำเนินการตรงนี้ ภาครัฐเองจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง แต่ให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ร่วมดำเนินงาน
จุดนี้เองเป็นข้อต่อที่สำคัญ ในการเชื่อมประสานการลงทุน และเป็นที่มาของการก่อตั้ง บริษัทพัฒนาเมือง หรือการรวมตัวของนักธุรกิจท้องถิ่น เพื่อจัดตั้งเป็นบริษัทในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ของตนเองไปข้างหน้าและไม่ได้หวังพึ่งพารัฐบาลอย่างเดียว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากนักธุรกิจขอนแก่น ที่ได้รวมตัวกันจดทะเบียนในชื่อว่า บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) ที่มีแนวคิดต้องการพัฒนาขอนแก่นให้หลุดพ้นจากกับดักของประเทศไทยในเรื่องของรายได้ระดับปานกลางและการรอคอยการพึ่งพาจากผู้อื่น โดยไม่ได้ลุกขึ้นมาทำอะไรด้วยตนเอง
ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองของขอนแก่น ก็เป็นที่มาให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดภูเก็ตพัฒนาตาม
คาดว่าการดำเนินการจะได้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน โดยการเปิดตัวแอปพลิเคชันที่จะทำให้นักท่องเที่ยววางแผนการเดินทางได้สะดวกมากขึ้น โดยจะมีการลงทุนเรื่องรถขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวคำนวณเวลาการเดินทางและรู้ว่าควรเดินทางเช่นไรได้ และการพัฒนาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการลงทุน นอกจากนี้ ในช่วงระยะ ๓ ปีขึ้นไป จะมีการศึกษาพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน อาทิ การพัฒนาความปลอดภัยเมือง การดูแลสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชน พลังงานลม และคลื่นในทะเล
อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าความต้องการของเมืองนั้นมีไม่สิ้นสุด และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่การลงทุนเพียง ๑ ปีแล้วเลิกไป แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ จะนำงบประมาณจากที่ไหนมาลงทุน ดังนั้นงบประมาณจากภาคเอกชนจึงเป็นคำตอบที่จะทำให้กงล้อทั้งหมดหมุน ซึ่งที่ผ่านมามีนักลงทุนจำนวนมากต้องการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพะจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ซึ่งมีความพร้อมหลายด้าน แต่ติดปัญหาด้วยวิธีปฏิบัติ การหาเจ้าภาพจากหน่วยงานภาครัฐที่ชัดเจน ดังนั้น การมีบริษัทพัฒนาเมืองจะเป็นตัวกลางในการจัดการเรื่องการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะทำให้ง่ายขึ้น และยั่งยืน