4 พฤศจิกายน 2567 : นายเทรเวอร์ ล็อค CEO เฟอมิออน เมอริเมน (ยืนกลาง), นายเซบาสเตียน ทัน ผู้อำนวยการระดับภูมิภาค เฟอมิออน เมอริเมน และ นายจิตรภณ องค์สุนทรชัย ผู้อำนวยการสาขาประเทศไทย เมอริเมน ไทยแลนด์ ประกาศเปิดตัว บริษัทแห่งแรกในเอเชียที่พัฒนาระบบ Software as a Service (SaaS) คือ บริการซอฟต์แวร์พร้อมใช้งานที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถที่จะใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต นี่เป็นคอนเซ็ปต์ของ Software as a Service ที่แตกต่าง
โดยเมอริเมน ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 (2543) ประเทศมาเลเซีย จุดแข็งบริษัทพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เป็น Software as a Service (SaaS) ที่ใช้งานง่าย และมีบริการสร้างระบบ Eco System ให้กับบริษัทประกันภัยด้วย มุ่งเน้นนำระบบดิจิทัลเข้ามาดำเนินการเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยให้กับบริษัทประกันภัยในประเทศไทย
ปัจจุบัน เฟมิออน (บริษัทแม่ของเมอริเมน) มีรายได้โดยรวมทุกประเทศประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยปีนี้ตั้งเป้าโต 20% แบ่งเป็นประเทศมาเลเซีย มีฐานลูกค้าประกันภัย 100% รองลงมาคือ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่มีบริษัทประกันภัยเป็นลูกค้าประมาณ 80% ของทั้งหมด สิงคโปร์มีบริษัทประกันภัย 26 แห่ง ขาดอีกเพียง 6 แห่งที่ไม่ได้เป็นลูกค้าเมอริเมน
ส่วนทางด้าน เมอริเมนประสบความสำเร็จในการขยายสาขาไป 9 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ฮ่องกง ญี่ปุ่น และบรูไน โดยมีลูกค้าบริษัทประกันภัยกว่า 160 บริษัททั่วเอเชีย และยังมี Eco System Partner ของบริษัทประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นอู่ซ่อม ร้านอะไหล่ เซอร์เวเยอร์ ผู้สำรวจภัย โบรกเกอร์ เอเจนต์ โรงพยาบาล และทนายความ ใช้บริการกว่า 30,000 ราย นอกจากนี้ ยังมีทีมด้านเทคนิคมืออาชีพถึง 200 คนที่คอยทำระบบให้อีกด้วย
สำหรับประเทศไทยเมอริเมนมาเปิดให้บริการเป็นเวลา 9 ปี มีลูกค้า 5 บริษัท ดังนั้นปีนี้จึงมุ่งขยายฐานลูกค้าเพิ่มอีก 15% ทุกปี ซึ่งบริษัทเริ่มรับรู้กำไรเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยปีผ่านมา 2566 บริษัทมีรายได้ประมาณ 14-15 ล้านบาท
เมอริเมน มีระบบเทคโนโลยีทรูไซต์ (Truesight) โดยแบ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ (Insurtech) ได้แก่ การวิเคราะห์ทุกกระบวนการเคลมแบบ Real-Time และตรวจจับการฉ้อฉลในทุกๆ ข้อมูลงานเคลม
"ยกตัวอย่าง กรณีกลโกงเคลมของเซอร์เวเยอร์กับอู่ คือ โดยปกติเซอร์เวเยอร์จะแนะนำลูกค้าให้ไปเข้าอู่ที่สนิทสนม หลังจากนั้นก็จะเสนอราคาให้บริษัท เพียงแต่ตัวที่บ่งบอก คือ ระบบของเราจะ Analize ตัว AI ไว้ว่า พนักงานคนนี้ บริษัทนี้ เข้าอู่ซ่อมที่นี่อีกแล้ว จากจุดเกิดเหตุนี้แต่ทำไมถึงส่งเข้าอู่นี้บ่อยมาก ระบบจะทำให้เจอจุดที่ผิดสังเกต ถามว่ามนุษย์สามารถทำได้ไหม ทำได้ เพียงแต่ว่างานมีจำนวนมาก 10-20 เคลม อ่านรีพอร์ตกี่เรื่อง/วัน ซึ่งในระบบ Claim Management System ของเราจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ ดังนั้นบริษัทสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปดำเนินการต่อได้" นายจิตรภณ องค์สุนทรชัย ผู้อำนวยการสาขาประเทศไทย เมอริเมน ไทยแลนด์ กล่าว
ในส่วนของการต่ออายุกรมธรรม์ Policy Distribution System ก็สามารถเช็คประวัติเคลมได้ ถ้าประวัติไม่ดีก็อาจจะแจ้งเพิ่มเบี้ยก่อนต่ออายุ หากประวัติดีก็มีส่วนลดให้ลูกค้าได้ คือ Policy Distribution System ก็จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท ส่วนของ Claim Management System จะช่วยในส่วนของ Cost Saving-ลดค่าใช้จ่าย และถ้าใช้ทั้ง 2 ตัวก็จะยิ่งเป็นประโยชน์มากขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันเคลมประกันภัยรถยนต์มีสถิติมากที่สุด แต่เทรนด์อนาคตใน 3-5 ปีข้างหน้าเชื่อว่าประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ น่าจะแซงประกันภัยรถยนต์ เพราะในอนาคตประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง เพราะประชาชนจะหันมาซื้อความคุ้มครองตนเองเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเบี้ยประกันก็ไม่สูงมากนัก
"ยกตัวอย่าง จุดรั่วไหลของประกันสุขภาพ ถ้าไปเข้าโรงพยาบาล เราก็ต้องยึดตามข้อมูลของโรงพยาบาล แต่จะมีจุดรั่วไหล เช่น คนๆ นี้เคลมในเรื่องนี้บ่อยมาก อย่างเคสที่จับได้ คือ การมีกรมธรรม์ซ้ำซ้อน ถ้าใช้ระบบของเรา สามารถบอกได้เลยว่าลูกค้ารายนี้เคลมสุขภาพไปแล้วกี่ครั้ง แม้ว่าจะไม่ได้บอกว่ามีกรมธรรม์อยู่กับบริษัทอื่น แต่เราสามารถแจ้งเตือนได้ อย่างกรณีของการจ่ายไปก่อนแล้วมาเบิกเคลมทีหลัง เขาอาจจะใช้การถ่ายรูปใบเสร็จตัวจริงเพื่อส่งเคลมกับบริษัทหนึ่ง และก็อาจจะเอาใบเสร็จตัวจริงนั้นไปเบิกกับอีกเจ้าก็ได้ ซึ่งบริษัทประกันภัยเขาอาจจะไม่ได้แชร์ข้อมูลตรงนี้กัน ซึ่งเคสแบบนี้เราเอาข้อมูลมาจากต่างประเทศ เพราะเรามีสาขาในหลายประเทศฐานข้อมูลเราใหญ่ พอระบบเราตรวจเจอการเคลมซ้ำ เราก็สามารถแจ้งเตือนได้ทันที แต่เราไม่ได้เปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันภัยแต่ละเจ้า เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่ามีการกระทำแบบนี้หลายธรรม์" นายเทรเวอร์ กล่าวเสริม
ดังนั้น เป้าหมายของระบบ Claim Management System จะช่วยลดต้นทุนลงได้ประมาณ 70-80% เนื่องจาก 1.ไม่ต้องใช้กระดาษ เป็น Paperless ไม่ต้องส่งเอกสาร ใช้การส่งอีเมล 2. ลดขั้นตอนการทำงาน Operation Work Flow ปกติไม่มีระบบ ก็จะต้องปริ้นเอกสารใส่แฟ้มไปนำเสนอ ก็อาจจะสูญหายได้ แต่ของเราสามารถเซ้ตระบบทำจ่ายใน Back End System ได้ ทุกอย่างอยู่บนระบบเดียว อาจจะมี Eco System เข้ามาปลั๊กอินด้วย เช่น อู่ ร้านอะไหล่ โรงพยาบาล ถ้าเป็นประกันภัยทรัพย์สินก็อาจจะมีพวก Loss Adjuster ที่จะส่งสรุปความเสียหายมาให้
อย่างไรก็ดี บริษัทจึงมีเป้าหมายเน้นให้บริการทุกบริษัท เพียงแต่บริษัทขนาดใหญ่มีปริมาณงานเยอะ (High Volume) แต่วิธีการทำงาน อาจจะเยอะตามต้องประเมินกันตามโปรเจคอาจจะ 2-3 ปีข้างหน้า แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดกลาง-เล็ก เขาจะตัดสินใจง่ายกว่าและคล่องเนื่องจากไม่ลำดับขั้นที่ซับซ้อน
นายเทรเวอร์ ล็อค CEO เฟอมิออน เมอริเมน กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่สำคัญของเมอริเมน เพราะ ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ มีรูปแบบที่หลากหลายที่เมอริเมนอยากจะลงเล่น โดยมีสิ่งที่โฟกัส 2 สิ่ง คือ 1.พยายามหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกค้า หรือวงการประกันภัย ตัวอย่างเช่น Chat GPT ที่เหมือน Gen AI นำเทคโนโลยีตัวนี้มาปรับใช้กับธุรกิจประกันภัย จึงทำให้มีแนวคิด AI Flaud หรือ AI ตรวจจับการฉ้อฉลขึ้นมา เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราอยากจะโฟกัส คือ ทิศทางของเราไม่ว่าลูกค้าจะมองหาอะไรเราอยากหา Tools ตัวหนึ่งเพื่อมาตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2. พัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องกับตลาดไทย ยกตัวอย่าง ในประเทศไทยการทำประกันภัยรถยนต์ เซอร์เวย์สำคัญมากๆ ประกันต้องการเซอรเวเยอร์วิ่งออกไป แต่ต่างประเทศไม่ทำ ไม่มีเซอร์เวย์ อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องมานั่งทำความเข้าใจวัฒนธรรมไทย ว่าเซอร์เวย์สำคัญมาก ดังนั้นระบบที่จะให้เซอร์เวย์ใช้ก็จะต้องรองรับการทำงานของเซอร์เวย์ให้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นสิ่งแรก คือ การหาสิ่งใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการลูกค้า สิ่งที่สอง คือ ต้องการ Localize พยายามกลมกลืนไปกับความเป็นไทยมากที่สุด