WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ยุค AI วางแผนการเงินอย่างไรให้ร่ำรวย!

30 สิงหาคม 2567 : “การวางแผนการเงิน” เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีพ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการในการจัดสรร และการทำแผนบริหารจัดการเงินให้เหมาะสมกับตนเอง ดั่งสุภาษิตที่ว่า “เก็บเล็กผสมน้อย” การที่ค่อยๆ เก็บสะสม จนมีมากพอ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตตามที่ต้องการได้ โดยแผนการเงินประกอบไปด้วย ดังนี้

  • แผนการใช้จ่าย (Spending Plan) เป็นหนึ่งในพื้นฐานของการวางแผนการเงิน ที่สำคัญคือต้องจดบันทึกรายรับและรายจ่าย หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ จะได้เข้าใจถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองหรือครอบครัว
  • แผนการออมและลงทุน (Saving and Investment Plan) การกำหนดเป้าหมายการออมและลงทุนต้องมีความชัดเจน โดยเริ่มต้นควรเน้นการเก็บออม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน สเต็ปต่อไปหากมีความมั่นคงแล้วควรวางแผนลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง เพราะทางเลือกในการลงทุนมีมากมาย ควรศึกษาข้อมูลก่อนจะลงทุนทุกครั้ง
  • แผนการซื้อสินทรัพย์ (Asset Acquisition Plan) บ้านและรถยนต์หรือสินทรัพย์ที่มีราคาสูง การกู้เงินจะต้องวางแผนจัดการหนี้และเปรียบเทียบข้อมูลอย่างดีก่อนตัดสินใจซื้อ
  • แผนประกันภัย (Insurance Plan) ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตและประกันวินาศภัย แถมยังช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินลงได้อีกด้วย
  • แผนภาษี (Tax Plan) การวางแผนเรื่องภาษีต้องสำคัญเช่นกันต่อการวางแผนทางการเงิน สามารถช่วยให้เราเสียภาษีได้ถูกต้อง ใช้ประโยชน์จากมาตรการประหยัดภาษีที่รัฐบาลมอบให้ เพื่อลดภาระภาษีให้น้อยลง
  • แผนเกษียณ (Retirement Plan) เป็นหนึ่งในการวางแผนระยะยาวมาก หากจะเริ่มทำตั้งแต่ในวัยสามสิบต้น ๆ ใช้ประโยชน์ระยะเวลาเพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต
  • แผนมรดก (Estate Plan) หากมีการวางแผนการเงินเรียบร้อยแล้ว แผนมรดกต้องเป็นส่วนนึงที่จัดสรรความมั่งคั่ง สะสมไว้ไปอย่างที่ต้องการ

ข้อมูลจาก www.setinvestnow.com/th/glossary/financial-planning?lang=en

ผลสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยในแต่ละปี

วางแผนการเงินมีความหลากหลายในเลือกที่จะวางแผนและทักษะหนึ่งที่คนไทยต้องมีในการใช้ชีวิตประจำวันจากผลการสำรวจทักษะทางการเงิน จากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2561, 2563 และ 2565 ดังนี้

  • ทักษะทางการเงิน ในปี 2561 อยู่ที่ 62.5% ต่อมาในปี 2563 อยู่ที่ 67.4% และในปี 2565 อยู่ที่ 71.4% ค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 60.5%
  • ความรู้ทางการเงิน ในปี 2561 อยู่ที่ 5 มาในปี 2563 อยู่ที่ 62.6% และในปี 2565 อยู่ที่ 69.7% ค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 62.8%
  • พฤติกรรมทางการเงิน ในปี 2561 อยู่ที่ 64.1% ต่อมาในปี 2563 อยู่ที่ 66.4% และในปี 2565 อยู่ที่ 70.3% ค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 59.2%
  • ทักษะคติทางการเงิน ในปี 2561 อยู่ที่ 70.3% ต่อมาในปี 2563 อยู่ที่ 77.8% และในปี 2565 อยู่ที่ 76.8% ค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 59.2%

จะเห็นได้ว่าในปี 2565 นั้นคนไทยมีพัฒนาการของระดับทักษะทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและสูงกว่า OECD แม้ทักษะคนไทยจะดีขึ้นต่อเนื่องก็ตามแต่เก็บออมของคนไทยอยู่ที่ 87.5% ลดลง 2.7% จากในปี 2563 การเก็บออมในรูปเงินสด 75.4% บัญชีเพื่อการออม 53.3% และเพียง 2.6% ที่นำเงินไปลงทุน อีกทั้งคนไทยยังออมเงินในยามฉุกเฉินและใช้ชีวิตหลังเกษียณอีกด้วย โดย 71.7% ของคนไทย มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน แต่มีเพียง 22.4% ที่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินในระดับที่เหมาะสม (เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายเมื่อต้องหยุดงาน 6 เดือนขึ้นขึ้นไป) และ61.1% ของคนไทย มีการวางแผนและเริ่มออมเงินเพื่อใช้ตอนเกษียณ (แต่มีเพียง 15.7% เท่านั้น ที่ทำได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้)

อีกทว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจถึงความเสี่ยงในการแชร์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย 73.3% รู้ว่าการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลบนโซเชียลมีเดีย มีความเสี่ยงที่จะถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ โดยกลุ่ม Baby Boomer มีการรับรู้เรื่องนี้ต่ำที่ต่ำที่สุด 34.8% ที่รับรู้ความเสี่ยงของการใช้ Wi-Fi สาธารณะในการซื้อของออนไลน์ 21.0% เปลี่ยนรหัสผ่านในการเข้าใช้งานระบบออนไลน์ เป็นประจำ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z

ข้อมูลจาก www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-67-2/2567-info-financial-skill.html

หากเราไม่มีการวางแผนการเงินจะเป็นอย่างไร? 10 นิสัยยอดแย่ทางการเงิน

"เงิน" มีบทบาทสำคัญเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ใครหลายๆ คนก็อยากจะได้ ดั่งสุภาษิตที่ว่า มีเงินเป็นน้อง มีทองเป็นพี่ แต่หากเราไม่มีการวางแผนการเงินนั้นเงินก็จะหมดไปเรื่อยๆตามกาลเวลา “ตามใจปากมากหนี้” เห็นอะไรที่ชอบ ที่น่ากินเป็นซื้อหมด ไม่สนใจว่าจะถูกหรือแพง จะทำให้ลำบากทีหลังได้ 10 นิสัยยอดแย่ทางการเงิน หากมีนิสัยนี้ต้องแก้ไขด่วน!!

  • ไม่วางแผนการเงิน ไม่มีการกำหนดเป้าหมายทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • ใช้จ่ายแบบไม่วางแผน ในการใช้จ่ายซื้อของชิ้นใหญ่และซื้อของกินของใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่มีการไตร่ตรองดีๆเลยเน้นใช้จ่าย
  • ไม่รู้ว่ามีเงินสดเท่าไร หากมีเงินอยู่ในบัญชีก็กดออกมาใช้ให้หมด
  • ไม่รู้ว่าใช้เงินเดือนละเท่าไร ไม่มีการวางแผนเรื่องการใช้จ่ายประจำเดือนว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่บ้าง
  • ใช้ก่อนเก็บ หากไม่เก็บก่อนจะทำให้เราใช้เงินจนหมดไม่มีให้เก็บ
  • ใช้จ่ายเงินเกินตัว มีความติดแกลมสุดๆ สูงเกินกว่ารายได้ จนอาจทำให้มีภาระหนี้สินตามมา
  • เหนียวหนี้ คงหนีไม่พ้น “หนี้บัตรเครดิต” เพราะจ่ายหนี้ขั้นต่ำจึงทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมหาศาล
  • ไม่สนใจดอกเบี้ย ไม่มีการวางแผนเรื่องค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย
  • ลงทุนแบบไม่มีความรู้ ไม่มีการศึกษาเรื่องของการลงทุนตามข่าว ตามกระแส ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการลงทุนที่ดีพอ
  • ไม่มีการจัดสรรสินทรัพย์หรือ Asset Allocation ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง

ดังกรณีข้างต้นแบบนี้ต้องลองปรับพฤติกรรมและเริ่มสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี จะได้ไม่ต้องลำบากในการใช้ชีวิตทีหลัง และจะบรรลุความฝันได้ไม่ยาก

ข้อมูลจาก www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/13-why-financial-planning-is-important

เทคนิควางแผนการเงินง่ายๆ ฉบับมือใหม่ก็ทำได้!

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หากไม่มีการวางแผนทางการเงินจะทำให้มีการลำบากทีหลัง เสมือนการชักหน้าไม่ถึงหลัง การจับจ่ายใช้สอย ไม่มีการจัดสรรหรือรายได้ที่ไม่พอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน มีชีวิตด้วยความลำบาก หาเงินได้น้อย แต่รายจ่ายมาก จึงต้องมีการวางแผนการเงินซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับทุกคน ซึ่งหลายๆ คนก็มีความฝันที่อยากจะรวย มีเงินเก็บเยอะ และใช้ชีวิตที่สุขสบาย ตามที่ตนต้องการ จึงทำให้ต้องทำงานเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายและซื้อของที่อยากจะได้ เลยต้องเริ่มต้นวางแผนออมอย่างมี “เป้าหมาย” ต้องมีการตั้งเป้าหมายก่อนว่าจะเก็บเงินไว้ทำอะไร ซื้อรถ ซื้อบ้าน แต่งงาน หรือกระทั่งการเกษียณอายุ ซึ่งเป้าหมายที่ดีต้องมีความชัดเจน วัดผลได้ ทำสำเร็จได้ เป็นไปได้ และมีระยะเวลากำหนดไว้อย่างชัดเจน แน่นอน หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “S-M-A-R-T Goals” มีดังนี้

Specific : ต้องชัดเจน เป้าหมายต้องถูกกำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง รู้ว่าต้องการอะไร
Measurable :  วัดผลเป็นตัวเลขหรือตัวเงินได้อย่างชัดเจน เพราะจะทำให้เรารู้ว่าใกล้จะถึงเป้าหมายหรือยัง
Achievable :  ทำสำเร็จได้จริง
Realistic : เป็นไปได้ และต้องมีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเป็นจริง
Time Bound : มีกรอบเวลาที่แน่ชัด รู้ว่าต้องใช้ระยะเวลามากน้อยแค่ไหนที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมาย

หากเรามีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วหลังจากนั้นต้องมีการวางแผนทางการเงินให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร MAKE by KBank ได้เผยถึง 7 STEP วางแผนการเงินง่ายๆ ฝึกนิสัยการออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

STEP 1 ออมทีละน้อยค่อยตั้งเป้าหมายใหญ่ วินัยออมเงินที่ดี คือ “เก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ” ไม่ว่าจะเก็บเล็กเก็บมาก พอมารวมกันก็จะได้เป็นก้อนใหญ่ได้

STEP 2 ออมเงินทันทีเมื่อมีรายรับ ต้องทำเป็นนิสัยการออมเงินทันทีเมื่อเงินเดือนออก หากนำเงินไปใช้จ่ายก่อนนั้นจะทำให้หลงลืมว่าจะต้องออมเงิน จะช่วยให้มีเงินออมแน่นอน

STEP 3 บัญชีรายรับรายจ่ายไม่ควรมองข้าม ขั้นตอนที่สำหรับมือใหม่ผู้สนใจเริ่มต้นออมเงิน ในการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อจะทำให้รู้ว่ารายรับมีอะไรบ้าง รายจ่ายมีอะไรบ้าง

STEP 4 วางแผนการเงินสำหรับเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่แพ้กันเรื่องนั้นก็คือ “เงินใช้ในยามฉุกเฉิน” หากเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้นมา เช่น จ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือตกงานกะทันหัน ก็ยังมีเงินก้อนที่ได้สำรองไว้ได้

STEP 5 แบ่งเงินเป็นสัดส่วน ซึ่งสัดส่วนการแบ่งเงินที่แนะนำ คือ “60 - 30 - 10” โดยกำหนดให้

60 = ค่าใช้จ่ายประจำเดือนไม่ว่าจะเป็น ค่าบ้าน ค่ารถ หนี้สิน ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
30 = รายจ่ายรายวันที่เกี่ยวกับค่าเดินทาง ค่าอาหาร
10 = จำนวนเงินออมที่ควรเก็บในแต่ละเดือน

เพราะฉะนั้นรายจ่ายต้องไม่เกิน 90% ของรายได้ หากเกินกว่านี้การเงินจะตึงตัวเกินไป

STEP 6 รู้จักการบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่เป็นหนี้เป็นเรื่องใหญ่อย่างหนึ่ง หากเป็นหนี้ก้อนใหญ่ด้วยต้องบริหารจัดการเงินให้ดี หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้บัตรเครดิตเรื้อรัง เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 16% ต่อปี หากผิดชำระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาอาจเท่าเงินต้นได้เลย

STEP 7 นำเงินไปลงทุนต่อยอด หากมีเงินเก็บมากพอที่สามารถนำเงินไปต่อได้สร้างความมั่งคั่งในระยะยาว สร้าง Passive income ให้เงินช่วยทำงานแทนเรา สามารถศึกษาการลงทุนในรูปแบบ หุ้น ทองคำ กองทุนรวม ฯลฯ เลือกการลงทุนที่เหมาะกับตนเอง

ข้อมูลจาก www.setinvestnow.com/th/financialplanning/beginners-guide , https://makebykbank.kbtg.tech/articles/financial-planning

4 แอปพลิเคชันออมเงินที่ไม่ควรพลาด

หากใครที่กำลังประสบปัญหา เก็บเงินไม่ได้สักที ขี้เกียจทำรายรับ - รายจ่ายแบบเขียน ปัญหาพวกนี้จะหมดไปด้วย 4 แอปพลิเคชันที่ช่วยวางแผนถึงค่าใช้จ่ายเรื่องการเงินจะทำให้เห็นว่าการจัดสรรเรื่องเงินเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น

Money Lover: ติดตามการใช้จ่าย

MoneyLover ช่วยให้รู้สึกสบายใจและมั่นใจเกี่ยวกับเงินของมากขึ้น สามารถติดตามการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงใบเสร็จที่ต้องชำระ และหนี้สินทั้งหมดได้ในที่เดียว (สามารถดาวน์โหลด https://apps.apple.com/th/app/money-lover-expense-tracker/id486312413 ios และ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.bookmark.money&hl=th Android )

Household Account Book : เพื่อนคู่ใจช่วยออม

Household Account Book โดยรูปร่างหน้าตามีความน่ารัก สดใส ทำให้สนุกไปกับเรื่องการเงินมากยิ่งขึ้น แถมยังช่วยบันทึกค่าใช้จ่าย สร้างหมวดหมู่รายจ่ายได้เองแบบง่าย ๆ (สามารถดาวน์โหลด https://apps.apple.com/th/app/household-account-book/id995853495?l=th ios และ https://play.google.com/store/apps/details?  id=jp.united.app.kanahei.money&hl=en_US Android )

Piggipo GO

ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้คนจัดการการเงินได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังให้กรอบการทำงานและภาพรวมของสถานการณ์ทางการเงินอีกด้วย (สามารถดาวน์โหลด https://apps.apple.com/us/app/piggipo-go-credit-card-tracker/id1480821477 ios และ https://play.google.com/store/search?q=Piggipo&c=apps&hl=en_US Android )

Money Manager รายรับรายจ่าย

Money Manager บัญชีรายรับรายจ่ายทำให้การจัดการทางการเงินส่วนบุคคลกลายเป็นเรื่องง่ายเหมือนปอกกล้วย! สามารถบันทึกรายการธุรกรรมทางการเงินและธุรกิจ สร้างรายงานค่าใช้งาน ตรวจสอบข้อมูลการใช้เงินรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน นอกจากนี้ยังสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินผ่านการติดตามค่าใช้จ่ายและแผนการเงินได้แล้ว (สามารถดาวน์โหลด apps.apple.com/th/app/money-manager-รายร-บรายจ-าย/id560481810?l=th ios และ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.realbyteapps.moneymanagerfree&hl=th Android)
ข้อมูลจาก www.firstchoice.co.th/lifestyle/money-saving-app , https://women.trueid.net/detail/ZXyMx1WVeDZX

การวางแผนการเงินคงหนีไม่พ้นการออมเงิน โดยทางธนาคารออมสินก็มีการออมที่น่าสนใจ

สลากออมสินพิเศษดิจิทัล 1 ปี

สลากออมสินพิเศษดิจิทัล อายุ 1 ปี งวดที่ 607 หน่วยละ 100 บาท มีสิทธิถูกรางวัลทุกเดือนเป็นเวลานานถึง 12 เดือน รางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัล 10 ล้านบาท และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย เงินรางวัลและดอกเบี้ยของบุคคลธรรมดา ไม่เสียภาษี ฝากครบอายุจะโอนเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากที่เป็นบัญชีคู่โอนโดยอัตโนมัติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gsb.or.th/personals/gsb-digitalsalak-1yr/

แต่ส่วนหนึ่งของตัวช่วยในการเก็บเงิน "ประกันชีวิต" ก็ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่ง และทางบริษัทประกันยังมีกรมธรรม์เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนการเงินอีกมากมายที่จะเป็นเครื่องมือในการช่วยออมเงินหรือสะสมเงินให้คุ้มค่ามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

แผนประกันออมทรัพย์มาย ดับเบิล พลัส จาก อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต วางแผนการออมได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เลือกระยะเวลาชำระเบี้ยได้ตั้งแต่ 6-20 ปี แนบความคุ้มครองด้านสุขภาพเพิ่มได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.allianz.co.th/th_TH/life/saving.html

แฮปปี้เซฟวิ่ง 15/7 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จาก กรุงเทพประกันชีวิต ตอบโจทย์ชีวิตที่มั่นคง ทั้งความคุ้มครองที่ครอบคลุมและผลประโยชน์ที่คุ้มค่า ความคุ้มครองชีวิต สูงสุด 700% การันตีผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 825% สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkoklife.com/th/products/detail/263?utm_source=google&utm_medium=search_dotgf&utm_campaign=happy_saving&utm_id=CD6700086&gad_source=1&gclid=Cj0KCQjwz7C2BhDkARIsAA_SZKYMguDkuvcDqA_Xd-GeYTG2fFUDChtinGQPz8bgR7dilTH0c8xSYpcaAnlMEALw_wcB

ประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ AIA iSave 5/10 ออมเงินในรูปแบบประกันวันนี้ ชีวิตดีวันหน้า! รับเงินก้อนใหญ่ ได้เงินคืนรวมสูงสุด 500% ของจำนวนเงินเอาประกันเริ่มต้น แถมได้ความคุ้มครองชีวิตตลอดสัญญา 10 ปี ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aia.co.th/th/campaigns/ddp/isave?bannerID=DDGPX&cmpid=thdm-ddp-424&gad_source=1&gclid=Cj0KCQjwz7C2BhDkARIsAA_SZKYR9qlSKDowc32pJRsr5lt2enqi-ISJEAtlxf6azn-JrKr7esoILw4aAnXOEALw_wcB

ไทยประกันชีวิต แฮปปี้มีเงินใช้ ชำระเบี้ยฯสั้น 5 ปี คุ้มครองยาว 15 ปี มีเงินคืนให้ระหว่างสัญญา ตลอดสัญญารับเงินคืนรวม 521% สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ product.thailife.com/ประกันเพื่อการออมเงินและลดหย่อนภาษี/แฮปปี้มีเงินใช้
ประกันสะสมทรัพย์ PRUSavings Plus 10/4 จาก พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต เก็บเงินก้อนได้เร็วทันใจ จ่ายเบี้ยประกันสบาย ๆ เริ่มต้นเพียง 10,000 บาท กับประกันสะสมทรัพย์ PRUSavings Plus 10/4 ออมระยะสั้นผลตอบแทนดี จ่ายเบี้ย 4 ปี คุ้มครอง 10 ปี รับเงินคืนทุกปี ครบ 10 ปี รับเงินก้อน 410% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://online.prudential.co.th/products/prusavingsplus10-4

ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ เมืองไทย ได้ใจ 3/2 จาก เมืองไทยประกันชีวิต ให้เงินทำงานแทนคุณ กับประกันออมทรัพย์ ออมสั้น ๆ 2 ปี รับผลประโยชน์ไวภายใน 3 ปี เบี้ยเท่ากันทุกเพศ ทุกวัย พร้อมรับความคุ้มครองชีวิตสูงสุดถึง 200% สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.muangthai.co.th/th/savings-insurance

แบบประกันสะสมทรัพย์ อัลติเมท โกรท (ชนิดมีเงินปันผล) จาก กรุงไทยแอกซ่า การวางแผนการออมนับเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในทุกๆ เป้าหมายของชีวิต แบบประกัน อัลติเมท โกรท จะช่วยให้คุณออมเงินอย่างมีแบบแผน การันตีเงินจ่ายคืน พร้อมโอกาสรับเงินปันผล และความมั่นคงในชีวิตไปพร้อมๆ กัน เลือกแผนที่ใช่ในแบบที่คุณชอบ ด้วยระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยที่มีให้เลือกถึง 3 แบบ ทั้ง 10 ปี 15 ปี และ 25 ปี ให้คุณรับเงินก้อน 225% พร้อมโอกาสรับเพิ่ม เงินปันผล เมื่อครบกำหนดสัญญา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.krungthai-axa.co.th/th/products/life-accident-and-critical-insurance/ultimate-growth?utm_source=TO- GoogleSEM&utm_medium=CPC&utm_campaign=Brand+Corporate+Generic_Saving&utm_term=Brand+Corporate+Generic_Saving&utm_content=ultimate-growth&gad_source=1&gclid=Cj0KCQjwz7C2BhDkARIsAA_SZKauHknYen1DQv22XNfQ1klq77fRekF-qfzVr1F_YLY_LH7Ut3YFVwkaAqZWEALw_wcB&gclsrc=aw.ds

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น Easy E-Save 10/5 จาก FWD อยากมีเงินเก็บต้องวางแผนและเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ รับผลตอบแทนแน่นอน การันตีเงินคืนทุกปี ผลตอบแทนรวม 350% ของทุนประกัน การันตีเงินคืนทุกปีสูงสุด 5% ของทุนประกัน ชำระเบี้ยฯสั้น เท่ากันทุกปีเพียง 5 ปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fwd.co.th/th/savings-insurance/easy-e-save/?utm_source=google&utm_medium=cpc&utm_campaign=FWD_TH_TH_ESave_Search_Google_Generic_RLSA_Exact&utm_term=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99+%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1+%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C&gad_source=1&gclid=Cj0KCQjwz7C2BhDkARIsAA_SZKaI87yMYVAiQApLyCrbkNbqCigI1wASa5YTsZ4Xe5X-KOZszRkuWvIaAmjwEALw_wcB

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP