WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
Black Mondayผ่านไปแล้ว ใช่ว่าไม่เกิดอีก

20 สิงหาคม 2567 : ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงแรงในระหว่างสัปดาห์ (12-16 ส.ค.67) จากประเด็นการเมืองในประเทศ ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาได้ช่วงปลายสัปดาห์ (16ส.ค.67) โดยหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบในช่วงแรก แต่ร่วงลงช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายของกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี (ล่าสุดได้นายกหญิงคนที่ 31 แล้ว) ส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ และเทขายหุ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกจากความกังวลว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอาจมีการเปลี่ยนแปลงและล่าช้าออกไป ในสัปดาห์ (19-23ส.ค.67)นี้ยังต้องติดตามตลาดหุ้นไทยกันต่อไป

สำหรับดัชนีหุ้นไทยที่ปรับตัวลงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนฟื้นตัวในวันที่ 16 ส.ค.2567 นับว่าเป็นการปรับตัวลงน้อยกว่าเมื่อวันที่5 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ที่ดัขนีหุ้นไทยร่วงแรงกว่า 30 จุด ปิดที่ระดับ 1,274.67 จุด ลดลง 38.41 จุด (-2.93%) มูลค่าซื้อขายประมาณ 58,744.07 ล้านบาท โดยนักวิเคราะห์ฯ ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยวันที่ 5 ส.ค.2567 ร่วงแรงแตะจุดต่ำสุดใหม่ในรอบเกือบ 4 ปี จากความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยหลังตัวเลขว่างงานแย่กว่า

แต่ที่น่าสนใจทำคือ ตลาดหุ้นไทยไม่ได้ปรับตัวลงแรงแค่ตลาดเดียว แต่เป็นกันทั้งตลาดหุ้นทั่วโลก ที่หลายคนบอกว่าสถานการณ์ดังกล่าว คือ Black Monday แล้ว Black Monday คืออะไร แน่นอนว่าต้องมีที่มาที่ไปอย่างน่าสนใจแน่นอน จึงอยากย้อนไปในอดีตอีกครั้งถึงสถานการณ์ดังกล่าว แม้ Black Monday จะผ่านไปแล้วก็ตาม แต่บ่งบอกได้ว่า สถิติย้อนหลังตลาดทุนทั่วโลกเกิดสถานการณ์อะไรบ้าง มักจะวกกลับมาเกิดขึ้นได้อีกครั้ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นๆจะหนุนกลับมาได้อีก ขึ้นอยู่เหตุการณ์ต่างๆที่เข้ามาสนับสนุนว่าจะเกิดขึ่นเร็วหรือช้ามากน้อยแค่ไหน

สำหรับ Black Monday หรือวันจันทร์ทมิฬ บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวทเอกซ์ จำกัด ได้อธิบายถึงสถานการณ์ Black Monday ไว้ว่า Black Monday เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 1987 หรือเมื่อ 37 ปีก่อน เป็น วันที่ตลาดหุ้นทั่วโลกตกลงอย่างหนัก เกิดการ เทขายหุ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยเฉพาะ ดัชนีดาวโจนส์ ร่วงลงอย่างน่าตกใจ ถึง 22.6% ในวันเดียว ถือเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นของสหรัฐฯ

จุดเริ่มต้นของหายนะ ช่วงปลายทศวรรษ 1980 เป็นช่วงเวลาแห่งการ เติบโตทางเศรษฐกิจและความหวังที่ไม่เคยมีมาก่อน ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น ผลักดันโดยปัจจัยต่างๆ เช่น การลดบทบาทของรัฐ การพัฒนาทางเทคโนโลยี และเศรษฐกิจที่ เฟื่องฟู อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความเจริญรุ่งเรืองที่เห็นได้ชัดนี้ มีความเสี่ยงพื้นฐาน หลายอย่างกำลังก่อตัวขึ้น

หนึ่งในปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงของตลาด คือ การใช้เครื่องมือทางการเงินและ กลยุทธ์การซื้อขายที่ซับซ้อนมากขึ้น การซื้อ ขายแบบโปรแกรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ คอมพิวเตอร์ในการดำเนินการสั่งซื้อขนาด ใหญ่ด้วยความเร็ว กำลังได้รับความนิยมมาก

หนึ่งในปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคง ของตลาด คือ การใช้เครื่องมือทางการเงินและ กลยุทธ์การซื้อขายที่ซับซ้อนมากขึ้น การซื้อ ขายแบบโปรแกรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ คอมพิวเตอร์ในการดำเนินการสั่งซื้อขนาด ใหญ่ด้วยความเร็ว กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แม้ว่ามันจะสัญญาว่าจะมีประสิทธิภาพ แต่ก็ได้นำระดับความเสี่ยงและความผันผวนใหม่เข้าสู่ตลาด

สาเหตุการ Crash ในวันที่ 19 ตุลาคม 1987 คือ 1.ราคาหุ้นสูงเกินจริง : ตลาดหุ้นได้ผ่านช่วงขา ขึ้นมาอย่างยาวนาน และนักลงทุนหลายราย เชื่อว่าหุ้นมีราคาสูงเกินจริง ความรู้สึกนี้สร้าง ความรู้สึกอ่อนไหวและแนวโน้มที่จะขายเมื่อมี ข่าวร้ายใดๆ 2.ความกังวลทางเศรษฐกิจโลก : ความกังวลที่ เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการขาดดุลการค้าของ สหรัฐอเมริกา การลดลงของมูลค่าของ ดอลลาร์ และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพิ่มความ วิตกกังวลโดยรวมของตลาด 3.จิตวิทยาของตลาด: ความรู้สึกของนักลงทุน เปลี่ยนจากความหวังเป็นความกลัว จนเกิดการ ขายแบบ Panic Sell

จากประเด็นต่างๆ ข้างต้น เมื่อเทียบกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การเกิด Black Monday อีกก็มีโอกาสที่จะกลับมาได้เช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนควรลงทุนด้วยการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ลงทุนต่างๆ ให้มากขึ้น อย่ากระจุกตัวการลงทุนในตลาดใดตลาดหนึ่ง มั่นใจว่าจะช่วยประคองพอร์ตลงทุนของนักลงทุนได้ในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน 

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP