12 มิถุนายน 2567 : นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (HSBC) เปิดเผยว่า ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี มีความเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก
ผ่านการนำเสนอ โซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคาร พร้อมให้การสนับสนุนคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ในกิจกรรมโรดโชว์ต่างๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ๆ โดยเฉพาะใน อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ จากรายงานของธนาคารเอชเอสบีซี ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศ 18% ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า
สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค ธนาคารมั่นใจว่า ช่วยสนับสนุนบริการทางการเงินด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินระหว่างประเทศ ช่วยให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อค โอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง
ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
“ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า 37% ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก"นายจอร์โจ กล่าว
นายจอร์จโจ กล่าวอีกว่า ในฐานะธนาคารเป็นหนึ่งในการเชื่อมภาคการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลกเข้ามาลงในประเทศไทย มอง เรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่กระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแต่อย่างไร เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติต่างๆมีเป้าหมายในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างชัดเจน
ขณะที่ การโรดโชว์ในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติของธนาคารในช่วงที่ผ่านมา ข้อดีของประเทศไทยที่ทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนได้ต่อเนื่อง มี 3 ปัจจัยหละกด้วยกัน แันดับแรก คือ ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล 2.ประชากรไทยมีชนชั้นกลางจำนวนมาก 3.แรงงานไทยมีทักษะค่อนข้างดี ทำให้ปัจจัยดังกล่าวสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าทาเพิ่มต่อเนื่อง ขณะที่ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เพิ่มสิทธิด้านต่างๆในการสนับสนุนให้นักงทุนต่างชาตหันมาลงทุนในไทยมีจำนวนมาก
"โดยส่วนตัว จากที่ตนอยู่ประเทศไทยมากว่า3ปี พบว่า นักลงทุนต่างชาติหรือนักท้องเที่นวต่างชาติ ที่เข้ามาไทยไม่ย้ายกลับไป เพราะด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ไทยได้เปรียบกว่าประเทศอื่น ทำให้การเติบโตดีในเราืองของการเข้าลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ " นายจอร์จโจ กัมบา กล่าว
ขณะที่ นายนฤตม์ เทอดสถิรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่ เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการ สนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอ ได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิด การลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
โดยปี 2566 ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริม การลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโต 43% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 72% ทั้งนี้ บีโอไอมั่นใจว่า ว่ากระแสการลงทุนจาก ต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ไตรมาส1/2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้น94% มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้น31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2565 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย
ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน
โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยนอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี