WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ฟื้น LTF ถูกที่ถูกจังหวะ ??

4 มิถุนายน 2567  : ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทย (SET) ยังอ่อนแรง แม้จะมีข่าวดี ทั้งการฟื้นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long – Term Equity Fund : LTF) ให้กลับมาช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นไทยใหมาอีกครั้งก็ตาม.. แต่ก็ขยับขึ้นลงไม่มากนัก คงต้องรอภาครัฐอมุมัติให้เดินหน้า LTF ได้ คาดหวังว่ากระดานหุ้นในตลาดหลักทรัพย์คงจะเด้งรับ… เพราะการฟื้น LTF รอบนี้ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน AIMC (Association of Investment Management Companies) เสนอแพคเกจจูงใจไม่น้อยหน้ากว่า LTF เดิม และรอบนี้จะลุยหุ้นไทย 100% ทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสรับเงิน LTF รอบใหม่มาช่วยตลาดหุ้นไทย (SET) ได้อีกคร้้ง

ล่าสุด นายกสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (Federation of Thai Capital Market Organizations) หรือ FETCO ออกมาระบุว่า ได้ส่งหนังสือขอนัดพบ นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียบร้อยแล้ว เพื่อหารือพิจารณาแพคเกจ LTF ตัวใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ในฐานนะประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ระบุว่า หลังจาก FETCO ได้ร่วมหารือกับนางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน ร่วมกันหารือเกี่ยวกับการนำเสนอแพ็กเกจกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ตามที่นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 21 พ.ค.2567 ที่ผ่านมาจบลง

"ทาง FETCO ได้ทำหนังสือส่งไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอเข้าพบท่านรัฐมนตรีฯในการนำเสนอแพ็กเกจ LTF เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไปเรียร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอวันนัดหมายจากทางกระทรวงการคลังอยู่"

สำหรับแพ็กเกจ LTF ที่ทาง FETCO และทาง AIMC นำเสนอพิจารณาครั้งนี้ ยืนยันว่า จะเป็นผลที่ดีต่อตลาดทุนไทย และถูกใจนักลงทุน เหมาะสมกับการนำมาช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นไทยและภาคการออมมาก สำหรับรายละเอียดแพ็กเกจ โดยเฉพาะเรื่องของวงเงินลดหย่อนภาษี รวมถึงระยะเวลาการถือครอง ฯลฯ แต่ต้องรอหารือกับท่านรมว.คลังก่อน เพราะทางคลังเองก็มีข้อจำกัด แต่โจทย์ที่ได้มาถือว่าง่ายมากในการยำเสนอ

ดร.กอบศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ ถือว่าเป็นจังหวะดีที่จะนำกองทุน LTF เข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นไทยภาคการออมให้กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง เนื่องจากตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก ทั้งนี้ หากรมว.คลังเห็นชอบ มั่นใจว่า กองทุน LTF จะเริ่มได้เลย หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ คาดว่าคงเริ่มได้ในช่วงไตรมาส 2-3/2567  เนื่องจากโครงสร้างกองทุน LTF มีอยู่แล้ว ไม่ได้ยุ่งยาก เหมือนออกกองภาษีตัวใหม่

ขณะที่ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าของการพิจารณานำกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ว่า ล่าสุด ได้นำข้อมูล LTF ส่งกลับไปยังฝ่ายนโยบายของกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว โดยจะมีการประชุมเพื่อหารือแนวทางร่วมกันอีกครั้ง แต่ยังไม่มีกำหนดเวลาในขณะนี้ มั่นใจว่า มาตรการ LTF หากจะดำเนินการนั้นคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากมีกลไกและรูปแบบ LTF เดิมรองรับอยู่แล้ว ซึ่งหากตัดสินใจจะเดินหน้าสามารถทำได้เลย

ขณะที่ นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด เปิดข้อมูลเม็ดเงินลงทุนมนกองทุน LTF ก่อนหมุดอายุในปี 2562 อย่างน่าสนใจว่า เม็ดเงิน LTF ที่ไหลเข้าในแต่ละปีนับตั้งแต่ปี 2556-2562 ประกอบด้วย

  • ปี 2556 จำนวน 4.52 หมื่นล้านบาท
  • ปี 2557 จำนวน 5.63 หมื่นล้านบาท
  • ปี 2558 จำนวน 6.37 หมื่นล้านบาท
  • ปี 2559 จำนวน 5.87 หมื่นล้านบาท
  • ปี 2560 จำนวน 6.45 หมื่นล้านบาท
  • ปี 2561 จำนวน 7.66 หมื่นล้านบาท
  • ปี 2562 จำนวน 7.40 หมื่นล้านบาท

ดังนั้น ถ้ามีกองทุน LTF กลับมาใหม่อีกครั้ง ประเมินได้ว่าจะมีผลดีต่อตลาดหุ้นไทยในหลากหลายมิติ ดังนี้ 1.แรงขายจากนักลงทุนสถาบัน มีโอกาสลดลง สังเกตได้จากหลังหมดกองทุน LTF และกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSFX) มาสักระยะนักลงทุนสถาบัน ก็เริ่มขายสุทธิออกมาต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือน ม.ค. 2564-เม.ย. 2567 นักลงทุนสถาบัน เป็นผู้ขายหุ้นไทยมากที่สุด 1.5 แสนล้านบาท สูงกว่าต่างชาติ 1.03 แสนล้านบาท

2.หักล้างเม็ดเงินที่ทยอยถอนออก (REDEEM) ในกองทุน LTF เก่า โดยก่อนกองทุน LTF หมดสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี (ปลายปี 2562) ตอนนั้นมีเม็ดเงิน LTF คงค้างในระบบสูงถึง 4.06 แสนล้านบาท ค่อยๆ ถอนออกจากตลาดหุ้นไทยกว่า 1.59 แสนล้านบาท กดดันตลาดและล่าสุดเดือน เม.ย. 2567 เหลือมูลค่าคงค้าง LTF อยู่ 2.47 แสนล้านบาท หากไม่มีเม็ดเงิน LTF ใหม่เข้ามาช่วยพยุง ตลาดหุ้นไทยก็จะถูกกดดันจากแรงขายในยอดเงินคงค้างต่อไป

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP