กรุงเทพฯ, 4 เมษายน 2567 : นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2567 นักท่องเที่ยวกำลังมองหาการท่องเที่ยวระดับพรีเมียม ที่ผนวกรวมทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) เพื่อต่อยอดการเข้าพักในกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่ยาวนานขึ้น พร้อมทั้งเฟ้นหาอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ระดับพรีเมียม ตอบโจทย์แนวโน้มเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของไทย
เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ สิ่งที่น่าจับตามอง อ้างอิงจากข้อมูลของ Skyscanner นักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เข้าเยี่ยมชมสถานที่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรายการโทรทัศน์ และการลิ้มลองรสชาติอาหารท้องถิ่นแท้ๆ คือ ปัจจัยสำคัญที่นักท่องเที่ยวมองหานอกเหนือจากการเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมทั่วไป
นอกจากนี้ ทาง Skift ยังแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมว่านักท่องเที่ยวชาวจีนให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวที่ยกระดับหรือสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ โดยให้ความสำคัญของโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงลึกที่มีคุณภาพ โดยมีเวลาดื่มด่ำในวัฒนธรรมและสถานที่ สามารถใช้เวลาในการท่องเที่ยวแต่ละจุดยาวนานมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสถานที่หรือร้านต่างๆ ที่ต้องแวะชมหรือเช็คอินในปริมาณมากๆ หลายๆจุด
การให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศผ่านซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งรวมถึงการยกระดับเทศกาลมหาสงกรานต์ตลอดเดือนเมษายนนี้สู่สายตาโลก
เทรนด์การท่องเที่ยวแบบ "BLEISURE" คือ เทรนด์ที่กำลังมาแรง โดยเป็นการผสมผสานระหว่างทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) หรือที่เรียกว่า เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นหันมาใช้ชีวิตแบบดิจิทัลโนแมด และหลายๆ บริษัทจำนวนก็เปิดโอกาสให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนรุ่น Gen Z กำลังได้รับการจับตามองส่งผลให้เกิดการจองห้องพักในรูปแบบของลองเสต์ หรือการเข้าพักที่ยาวนานขึ้น เพื่อสัมผัสและสนุกสนานกับการท่องเที่ยวที่มีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับไลฟ์สไตล์และการลิ้มลองอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแฮปปี้ อาวร์หรือช่วงเวลาหลังเลิกงาน
คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า “ขณะที่ประเทศไทยยังคงเดินหน้าเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยโปรโมทและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายที่ไทยเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อเข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค เราสังเกตเห็นว่านักท่องเที่ยวที่พักอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานขึ้น โดยยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารและวัฒนธรรมของอาหารไทยสู่การรับประทานอาหารในระดับพรีเมี่ยม มองหาตัวเลือกด้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูงขึ้น ไม่ใช่การดื่มแบบหักโหม ทำให้เราจำเป็นต้องรักษามาตราฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดนักเดินทางที่กำลังมองหาคุณภาพการใช้ชีวิตในระดีบพรีเมียม”
ดร.ญาณี เลยวานิชเจริญ เลขาสมาคมธุรกิจร้านอาหารกลางคืน กล่าวว่า “เราเห็นว่าผู้บริโภครุ่นใหม่ กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การดื่มไวน์มากขึ้นซึ่งเหมาะสำหรับการดื่มร่วมกันในสังคมและจับคู่กับอาหาร เราเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเดินหน้าโปรโมทด้านสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่มีชีวิตชีวาเพื่อมอบประสบการณ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพให้กับนักท่องเที่ยวในขณะที่พวกเขาใช้เวลาในการพักผ่อนได้ยาวนานที่ประเทศไทยมากขึ้น”
เทรนด์การท้องเที่ยวอันดับ 3 คือ “เที่ยวแบบพรีเมียม” โดยความต้องการของนักท่องเที่ยวมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าคุณภาพสูงในระดับพรีเมียม รวมถึงเครื่องดื่มไวน์และสุราจากต่างประเทศ ตามรายงานการวิจัยฉบับใหม่โดย Oxford Economics ซึ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว
โดยอ้างอิงจากรายงานที่ชื่อว่า "International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam" จัดทำโดย Oxford Economics และได้รับมอบหมายจาก Asia Pacific International Spirits and Wine Alliance (APISWA) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศในสองประเทศเศรษฐกิจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทยและเวียดนาม