23 มีนาคม 2567 : เทรนด์ที่กำลังมาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ ของไทย ณ ตอนนี้คงหนีไม่พ้นรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของคนไทยเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ในปัจจุบันตัวเลือกรถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ต่างส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในปี 2022 มีงานวิจัย Gearshift 2022: Purchase Journey of Thai New Car Buyers โดยความร่วมมือระหว่าง Google และ Kantar ได้เปิดเผย 3 อินไซต์พฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของคนไทยโดยมี ดังนี้
1. ปัจจัยหลักที่คนไทยสนใจรถยนต์ไฟฟ้านั่นก็คือ การได้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมคนไทยสนใจรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริด มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า 100% โดยมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ซื้อรถยนต์ชาวไทยพิจารณารถยนต์ประเภทไฮบริด แต่การได้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมก็เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้คนไทยสนใจรถยนต์ไฟฟ้ามีมากกว่าถึง 86% ราคาและสิทธิประโยชน์ 73% และประสิทธิภาพและภาพลักษณ์ 68%
2. การค้นหาข้อมูลช่องทางออนไลน์ก่อนประกอบการตัดสินใจซื้อ การหาข้อมูลในช่องทางออนไลน์เพื่อทำความเข้าใจและเพิ่มความมั่นใจก่อนการซื้อเป็นสิ่งสำคัญ กว่า 70% ของคนไทยที่มีความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใช้เวลามากกว่า 1 เดือนในการค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ คนไทยใช้สื่อออนไลน์ค้นหาข้อมูล 11 ครั้ง ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (มากกว่าออฟไลน์ 2.6 เท่า) การรับชมวิดีโอเกี่ยวกับ ""รถยนต์ไฟฟ้า" บน YouTube เพิ่มขึ้น 85% และในส่วนของการค้นหา “รถยนต์ไฟฟ้า” เพิ่มขึ้นถึง 96%
3. ผู้ซื้อรถค้นหาข้อมูลหลากหลายด้านก่อนตัดสินใจ ผู้สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไทยค้นหาข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า เช่น แบรนด์ รุ่นรถ รวมถึงสถานีชาร์จ กว่า 150% ค้นหา “สถานีชาร์จ” และ 96% ของผู้ที่สนใจซื้อรถที่ดูวิดีโอเกี่ยวกับรถยนต์จะทำกิจกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการซื้อรถ จึงทำให้กระแสของรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) มีการเติบโตมากยิ่งขึ้นของในประเทศไทย ข้อมูลจาก www.thinkwithgoogle.com/intl/th-th/consumer-insights/consumer-trends/electric-vehicle-trends-2022-th/
การจดทะเบียนของรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นในแต่ละปี
จะเห็นได้ว่าเทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) มีมาอย่างยาวนาน เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าคนอยากมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม แถมยังไม่ต้องเสียค่าน้ำมันอีกด้วย ซึ่งเทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มจากปี 2020 ในเดือนมกราคม – ธันวาคม มียอดรวม 1,056 คัน ต่อมาปี 2021 ในเดือน มกราคม – ธันวาคม มียอดรวม 1,935 คัน ในปี 2022 เดือน มกราคม – ธันวาคม มียอดเพิ่มขึ้นรวม 9,729 คัน และทว่าปี 2023 เดือน มกราคม – ธันวาคม กลับมียอดพุ่งสูงขึ้นอย่างมากกว่าปีอื่นๆ รวม 76,314 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 66,585 คัน เติบโตอย่างก้าวกระโดด +684.4%
และในปี 2567 (2024) นี้เป็นที่น่าจับตามองถึงตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทยในเดือน มกราคม 2024 รวม 13,653 คัน โดยคิดเป็น 20.5% ของยอดจดทะเบียนรถยนต์ รย.1 ทั่วประเทศ 65,067 คัน ซึ่งยอด 5 อันดับจดทะเบียนสูงสุดของเดือน มกราคม 2024 นี้จะมีอะไรบ้างมาดูกัน
อันดับ 1 BYD Dolphin 3,175 คัน
อันดับ 2 BYD Seal 3,008 คัน
อันดับ 3 NETA V 2,013 คัน
อันดับ 4 BYD Atto 3 1,592 คัน
อันดับ 5 MG 4 Electric 1,007 คัน
ข้อมูลจาก https://autolifethailand.tv/register-ev-bev-thailand-jan-2024/
ภาพรวมรถยนต์ไฟฟ้า EV ก่อนตัดสินใจซื้อ
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ารถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) หรือรถยนต์ EV นับเป็นรถยนต์ส่วนตัวที่ได้รับความนิยมสูงในตอนนี้ ในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ด้วยกัน มีดังนี้ ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV, Hybrid Electric Vehicle), ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle), ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle) และอีกชนิดก็คือ ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง หรือรถไฮโดรเจน (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle)
5 ข้อควรรู้ ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
1. ศึกษาข้อมูลและสเปกของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน
ก่อนที่จะเลือกใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า 100% หรือรถยนต์ประเภท BEV ต้องคำนึงถึงระยะทางในการขับขี่ต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้จะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ตัวรถมีขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่ ดังนั้นก่อนจะซื้อต้องดูระยะทางการวิ่งให้ดี ว่ารถที่ต้องการใช้งานเหมาะกับการใช้ในรูปแบบไหนบ้าง
2. ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ของตัวรถ
การชาร์จจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ AC Charging และ DC Charging ซึ่งการชาร์จไฟที่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ไว้ใช้ในบ้านหรือที่พักอาศัย คอนโด คอมมูนิตี้มอลล์ และการชาร์จที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) จะใช้สำหรับการชาร์จตามจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือตามสถานีชาร์จนอกบ้าน ซึ่งการชาร์จเบอเตอรี่จะเฉลี่ยใช้เวลาเพียง 40 – 60 นาที ดังนัน คำนวณการใช้งานแต่ละครั้งให้ดี
3. การติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
การติดตั้ง EV Charger เอาไว้ที่บ้าน เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ต้องคำนึงถึงว่าควรเปลี่ยนขนาดมิเตอร์สำหรับติดตั้ง EV Charger หรือไม่ แล้ว On board charger ของรถยนต์ไฟฟ้า รองรับกำลังไฟได้สูงสุดเท่าใด
4. งบประมาณที่ต้องใช้ (ค่ารถ ประกัน ภาษี และค่าซ่อมบำรุง)
ถึงแม้รถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าน้ำมันได้ แต่ต้องคำนึงถึง
- ค่าประกันรถยนต์ไฟฟ้า
- ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า
- ค่าตรวจสภาพรถ
- ค่าบำรุงรักษา
- การติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
- ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายขณะชาร์จ
5. ทางเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ
การเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าต้องคำนึงถึงแบรนด์และค่ายความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงความเชื่อมั่นหลังการขายอีกด้วย เช่น อะไหล่รถยนต์ และการซ่อมบำรุงรถ ข้อมูลจาก evolt.co.th/th/สิ่งที่ต้องรู้-ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า-2/
การใช้รถยนต์ไฟฟ้าตอบโจทย์ใน ณ ปัจจุบันจริงหรือ?
โดยภาพรวมเสียงสะท้อนของผู้บริโภคทาง Social Media ที่มีต่อรถยนต์ EV และรถยนต์สันดาปนั้น พบว่าปัจจุบันเสียงส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทิศทางเชิงบวกต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งพบว่าเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกซื้อรถยนต์ EV ได้แก่
- ความคุ้มค่าและความประหยัด
- ดีไซน์ของรถที่มีความทันสมัย
- เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือ AI ของตัวรถ
- ลดมลพิษทางอากาศ
และผู้บริโภคบางส่วนที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับรถยนต์ EV ในด้านต่าง ๆ เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาป ได้แก่
- ปัญหาแบตเตอรี่
- ความเพียงพอของสถานีชาร์จ
- คุณภาพการใช้งาน
- ราคาของประกันรถที่อาจแพงกว่ารถยนต์สันดาป
ในส่วนของภาคธุรกิจประกันรถยนต์ไฟฟ้า
ถ้าพูดถึงเรื่องรถยนต์ก็คงหนีไม่พ้นของที่มาควบคู่กันคือ “กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า” โดยรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยดังนี้
1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ภาคสมัครใจ คุ้มครองความเสียหายทั้งของรถยนต์ สูญหาย ไฟไหม้ รวมถึงความเสียหายของคู่กรณีทั้งชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน
2. ผู้เอาประกันภัยต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ด้วยโดยสามารถระบุผู้ขับขี่ได้สูงสุด 5 คน ผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้ขับขี่หรือไม่ก็ได้ (รถนิติบุคคลไม่ต้องระบุชื่อ)
3. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าใช้รับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า 100% (Battery Electric Vehicle :BEV) เท่านั้น
ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/photo/fbid=816306057177073&set=a.421415616666121 สมาคมประกันวินาศภัยไทย
มีประกันรถยนต์ไฟฟ้าแล้วดีอย่างไร ?
การมีประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยให้เรามีรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย อุ่นใจมากขยิ่งขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้ามีประกันรถยนต์ไฟฟ้าชั้น 1 นั้น คุ้มครองสูงสุดเหมือนประกันชั้น 1 รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงและยังช่วยให้คุณประหยัดค่าซ่อมแบตเตอรี่และอะไหล่ส่วนอื่นๆ ที่มีราคาสูงอีกด้วย โดยเบี้ยประกันของรถยนต์ไฟฟ้าก็จะแตกต่างของแต่ละยี่ห่อรถ จะแบ่งตามรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยม ดังนี้
1. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า NETA มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 17,500 บาท
2. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า ORA มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 19,644 บาทท
3. ประกันรถไฟฟ้า MG มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 21,500 บาท
4. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า BYD มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 25,500 บาท
5. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า TESLA มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 58,500 บาท
6. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า BMW มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 69,000 บาท
7. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า NISSAN มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 26,645 บาท
8. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า FOMM มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 19,500 บาท
ข้อมูลจาก https://www.heygoody.com/th/autoinsurance/evcar/ , https://money.priceza.com/blog/car-insurance/all-ev-car-insurance-blog/
เบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าก็ต้องแตกต่างกันไปแล้วแต่ยี่ห่อรถ รุ่นรถ และทุนประกันที่จะได้รับ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าต้องคำนึงถึงรถในกระเป๋า และความต้องการของตัวเราเอง และมีอีกเสียงสะท้อนของผู้บริโภคบน Social Media ที่มีต่อประกันรถยนต์ไฟฟ้าคือ บางยี่ห่อรถยนต์ไฟฟ้าก็มีเบี้ยประกันที่แพงมากเกินไป อู่ของแต่ละจังหวัดที่จะรับซ่อมในเคสใหญ่ๆมีน้อย ต้องสไลด์รถไปหาซ่อมจังหวัดใหญ่แทน และบริษัทประกันบางเจ้า เบิกอะไหล่มาซ่อมที นานเกินปกติ โดยเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคกังวลและต้องการให้มีการแก้ไข
ล่าสุดโดยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 สํานักงาน คปภ. ได้ออกคําสั่งนายทะเบียนที่ 47/2566 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป หากบริษัทไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยตามคำสั่งนี้ได้ ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เดิมออกให้ผู้เอากันภัยไปก่อน
ทั้งนี้ จะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าฉบับนี้เป็นการรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เท่านั้น ไม่รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่ดัดแปลงมาจากรถยนต์สันดาป เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) นี้ มุ่งเน้นให้ความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัยอันจะเป็นการแก้ไขปัญหา ลดความกังวล และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ เพราะ ณ ตอนนี้เบี้ยประกันแข่งกันลดราคามาก ซึ่งมีย้อนแย้งกับความคุ้มครอง แบตเตอรี่ ที่แพง หากต้องเปลี่ยนทั้งก้อน หวังว่าอนาคตอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัยมากขึ้น
มุมมองบริษัทปล่อยสินเชื่อยานยนต์-ประกันภัย
นายคงสิน คงคา ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เผยว่า ในปี 2567 กรุงศรี ออโต้ มุ่งสนับสนุนการเติบโตของตลาดสินเชื่อยานยนต์ในประเทศไทย ตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ที่ 219,636 ล้านบาท ทั้งนี้จากการคาดการณ์ปี 2567 ยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งระบบคงอยู่ประมาณ 791,000 คัน เติบโต 2% จากปีก่อน ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ (BEV) 100,000 คัน จาก 76,000 คันในปี 2566
แต่ปีนี้ 2567 คาดว่ายอดปล่อยสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์สันดาปจะมีจำนวนไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งคาดเดากระแสของรถยนต์ EV ค่อนข้างยากเนื่องจากผู้ใช้รถยนต์อาจจะมีคำถามถึงรถยนต์ EV เรื่องความคุ้มค่าในระยะยาวมากขึ้น แต่ถึงกระนั้น กรุงศรีออโต้ คาดว่าตลาดสินเชื่อยานยนต์ปีนี้จะขยายตัวอยู่ที่ 505,000 ล้านบาท
ส่วนทางด้าน นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการรับประกันรถ EV ว่าปี 2567 คงจะรับประกันได้กว่า 10,000 คัน เนื่องจากทิศทางมีรถยนต์ EV จะเข้ามาเปิดตัวใหม่อีกหลายยี่ห้อหลายรุ่น ซึ่งมีประชาชนเริ่มให้การตอบรับมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมารับประกันจำนวน 7,000 คัน
ขณะที่ นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนชาตประกันภัย เปิดเผยว่า ปีนี้ 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้ามียอดรับประกันรถยนต์ EV เพิ่มเป็น 10,000 คัน ซึ่งในปี 2566 บริษัทฯ มีผู้ทำประกันรถ EV 5,000 กรมธรรม์ เติบโตสูงถึง 200% คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 20%