WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ออมสิน-ธรรมศาสตร์โมเดล…ยกระดับวิถีไทย พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น##

27 ธันวาคม 2559 : ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ระหว่างรองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและบริหารศูนย์รังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ ธนาคารออมสิน (ออมสิน – ธรรมศาสตร์โมเดล)

gsb271259-02 (show web)

นางสาวจิราพร นุกิจรังสรรค์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระดับชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจหลักของระบบเศรษฐกิจฐานราก

ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตนักศึกษาที่กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ ได้นำความรู้มาบูรณาการกับองค์ความรู้และสภาพความจริงที่ธนาคารออมสินได้ดำเนินการมาช้านาน ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย ที่ได้ให้แนวทางการสร้างเศรษฐกิจฐานรากชุมชนที่เข้มแข็ง ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

gsb271259-03

สำหรับโครงการด้านเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องการเสริมสร้างความรู้ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนา สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตลอดจนเพิ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกันในชุมชน ซึ่งตลอดช่วงกิจกรรมที่ผ่านมาที่ธนาคารออมสินได้ร่วมกับมหาวทิยาลัยธรรมศาตร์ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ปรากฏว่าเกิดประโยชน์กับชุมชน จึงได้จัดทำแผนงานปี 2560 โครงการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบ “ออมสิน-ธรรมศาสตร์โมเดล”

ทั้งนี้ ธนาคารฯ ได้คัดเลือกกลุ่มเข้าร่วมโครงการรวม 6 กลุ่ม ในพื้นที่ จ.นครปฐม และ จ.กาญจนบุรี ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากฟักข้าว อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม กลุ่มอาชีพแปรรูปข้าวสาร กลุ่มหัตถกรรมชุมชนตำบลพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี กลุ่มแม่บ้านบ้านทะกระดาน กลุ่มขนมบ้านทุ่งนา อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

gsb271259-07

gsb271259-06

พร้อมนำนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโททางการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 60 คน เพื่อให้ศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาองค์ความรู้ทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย จัดการด้านทรัพยากร รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และตราสินค้า พัฒนากระบวนการผลิต ทำแผนการเงิน และจัดทำบัญชี การวางแผนการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่ายโดยธนาคารออมสินสนับสนุนการจัดกิจกรรมกลุ่มละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 600,000 บาท

ขณะเดียวกัน กิจกรรมทั้งหมดนี้ จะทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถส่งเสริมองค์ความรู้นี้พร้อมๆ กับยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทุนของชุมชน จนก้าวสู่ความพร้อมที่จะแข่งขันเพื่อพัฒนา ที่สำคัญคือ องค์ความรู้ที่ได้สามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มองค์กรชุมชน เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปเผยแพร่และขยายผลต่อไป logo เล็ก (ปิดท้ายข่าว) - Copy

เศรษฐกิจ ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP