เซี่ยงไฮ้, 22 กันยายน 2566 : ในระหว่างงานหัวเว่ย คอนเนกต์ (HUAWEI CONNECT) ประจำปี 2566 คุณตั้ง เหวินซวน (Dang Wenshuan) หัวหน้าสถาปนิกฝ่ายกลยุทธ์ของหัวเว่ย เปิดเผยชุดสมุดปกขาวในชื่อ “ก้าวสู่โลกอัจฉริยะ” (Striding Towards an Intelligent World) ซึ่งครอบคลุม 10 อุตสาหกรรมหลัก
สมุดปกขาวนี้ได้เสนอแนวปฏิบัติที่สถาบันการเงินนำไปดำเนินการต่อได้ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่คล่องตัว ยืดหยุ่น และชาญฉลาด ซึ่งจะทำให้สถาบันเหล่านี้นำหน้าเหนือคู่แข่ง
คุณเจสัน เฉา (Jason Cao) ซีอีโอฝ่ายการเงินดิจิทัลระดับโลกของหัวเว่ย อธิบายให้ผู้ชมฟังถึงภาพรวมเกี่ยวกับแนวโน้ม 6 ประการที่ก่อให้เกิดความท้าทาย ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในสมุดปกขาว ดังนี้
1. ดิจิทัลเนทีฟส์ (Digital Natives) หรือกลุ่มบุคคลที่เกิดหลังปี 2538 กำลังค่อย ๆ กลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้จ่ายเงินมากที่สุด ในขณะเดียวกัน ปัญญาประดิษฐ์เชิงรู้สร้าง (generative AI) ก็สร้างกระแสนิยมไปทั่วโลก โดยการใช้เอไอ (AI) เพื่อตอบโต้กับอารมณ์ของลูกค้าจะกลายเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงลูกค้า
2. การทำธุรกรรมทางดิจิทัลเต็มรูปแบบจะค่อย ๆ ลดความจำเป็นในการใช้บัตร เงินสด และบริการหน้าเคาน์เตอร์ ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังดำเนินการอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในการใช้สกุลเงินดิจิทัล ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของสถาบันการเงินที่ต้องจัดการกับธุรกรรมที่มีการปกป้องความปลอดภัยของข้อมูล
3. วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อยแบบดั้งเดิมมีระดับการเปลี่ยนแปลงไปเป็นดิจิทัลในระดับที่ต่ำ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากไม่มีวิธีการทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังนำไปสู่สถานการณ์ที่ยุ่งยากในกรณีที่ต้องควบคุมดูแลและบริหารจัดการสินค้าในคลังให้มีประสิทธิภาพ
4. การหลอกลวงทางธุรกรรมและการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ ๆ กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการควบคุมความเสี่ยงและวิธีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบดั้งเดิมไม่สามารถรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ได้ ด้วยเหตุนี้ ความมั่นคงทางธุรกิจและเงินทุนของสถาบันการเงินตกอยู่ในความเสี่ยง
5. สถาปัตยกรรมทางเทคนิคขั้นพื้นฐานกำลังย้ายจากแบบปิดไปสู่แบบเปิด โดยสถาบันการเงินจะจำเป็นต้องมีประสิทธิภาพที่มั่นคง เมื่อมีการทำธุรกรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากที่สุด พวกเขายังต้องเผชิญกับอุปสรรคใหญ่เมื่อต้องพยายามทำให้มั่นใจว่าธุรกิจยังมีความพร้อมที่จะให้บริการในระดับสูง แม้ในสถานการณ์ที่รุนแรง เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
6. ขนาดของสินทรัพย์ที่ซบเซาส่งผลให้ธนาคารต่าง ๆ ควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและทางไอทีอย่างเคร่งครัด
สำหรับอนาคตข้างหน้า หัวเว่ยได้นำเสนอสถาปัตยกรรมเป้าหมายอย่าง “MEGA” ซึ่งก็คือการทำให้ศูนย์ข้อมูลหลาย ๆ ศูนย์ทำงานเหมือนกับคอมพิวเตอร์ (Multi-DC-as-a-computer) การมอบประสบการณ์ผู้ใช้แบบครบวงจร (E2E experience) การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green) และการไปสู่ระบบอัตโนมัติ (Autonomous) เป้าหมายนี้จะช่วยให้สถาบันการเงินอัปเกรดเทคโนโลยีได้อย่างครอบคลุม ด้วยการประสานการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล ออปติคอล เครื่อข่าย คลาวด์ และข้อมูล เพื่อเร่งกระบวนการอัจฉริยะสำหรับทั้งภาคธุรกิจและบริการ
สมุดปกขาวนี้จะใช้ตัวอย่างกรณีต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถาบันการเงินสามารถฝึกอบรมโมเดลขนาดใหญ่ ที่ผสานรวมข้อมูลและเอไอเพื่อรองรับแอปพลิเคชันอัจฉริยะ เช่น การควบคุมความเสี่ยงแบบเรียลไทม์และการโต้ตอบอัจฉริยะได้อย่างไร พร้อมเผยแนวทางในการใช้การอนุมานของเอไอโดยอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างคลาวด์กับเอดจ์ ในการรองรับสินเชื่อเพื่อซื้อสินค้าคงคลังให้องค์กรขนาดเล็กและขนาดย่อม รวมถึงวิธีการที่ธนาคารสามารถใช้ IPv6 Enhanced และ Wi-Fi 6/7 เพื่อรับประกันคุณภาพของแอปพลิเคชันด้านธุรกรรมและแอปพลิเคชันเชิงโต้ตอบ
สมุดปกขาวยังได้แนะนำโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงแอปพลิเคชันทางการเงินให้ทันสมัย การกู้คืนความเสียหายแบบหลายศูนย์และหลายแบบ การป้องกันความปลอดภัยเชิงลึกแบบหลายชั้น ไปจนถึงการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอัจฉริยะแบบครอสเลเยอร์ โซลูชันเหล่านี้จะช่วยให้สถาบันการเงินสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุด ธุรกิจที่คล่องตัว นวัตกรรมแบบเปิด และระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและอัจฉริยะไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นในยุคเอไอ