17 มีนาคม 2566 : KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) มองเศรษฐกิจจีนยังคงดูดี จากแรงหนุนจากการบริโภคในประเทศที่คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง ด้วยอัตราการออมของภาคครัวเรือนที่สูงมาก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน (PBoC) ที่มีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม พร้อมโอกาสการเติบโตของธุรกิจจีนในหลากหลายอุตสาหกรรม
เนื่องจากรัฐบาลจีนต้องการตัวช่วยใหม่ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนแทนการส่งออก และภาคอสังหาฯ ชี้ 4 กลุ่มธุรกิจที่น่าจับตา คือ สินค้าอุปโภคเกรดพรีเมี่ยม เฮลธ์แคร์ เทคโนโลยี และธุรกิจที่ลดการปล่อยคาร์บอน จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว แนะนำให้ลงทุนผ่านกองทุนหุ้นระยะยาว ควบคู่กับสินทรัพย์อื่น โดยเฉพาะสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อกระจายความเสี่ยง และลดโอกาสขาดทุน
ย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2564 ตลาดหุ้นจีนถือเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงที่สุดตลาดหนึ่งในโลก เพราะเป็นประเทศแรกๆ ในโลกที่สามารถฟื้นคืนหลังจากวิกฤต COVID-19 การลงทุนในหุ้นจีน ณ เวลานั้นทำให้นักลงทุนต่างยินดีกับผลตอบแทนที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วง 1-2 ปีที่ผ่าน เชื่อว่านักลงทุนหลายคนคงได้รับผลกระทบจากการลงทุนในหุ้นจีน
โดยในช่วงปลายปี 2565 เป็นช่วงที่ดัชนีหุ้นจีน (MSCI China) อยู่ที่จุดขาดทุนสูงสุดที่กว่า 60% จากการได้รับผลกระทบจากหลายเหตุการณ์ใหญ่ๆ ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น การที่ทางการจีนเข้าแทรกแซงบริษัทเทคยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba และ Tencent เป็นต้น ต่อเนื่องไปจนถึงการผิดนัดชำระหนี้ในภาคอสังหาฯ แต่ ณ ปัจจุบัน แนวโน้มตลาดหุ้นจีนดูสดใสมากขึ้นโดยมีผลตอบแทนบวกกลับขึ้นมาเกือบ 40% จากจุดต่ำสุด
แม้นักลงทุนหลายคนจะยังคงกังวลและยังไม่กล้าตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับกองทุนหุ้นจีนที่ยังคงอยู่ในพอร์ต KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) ในฐานะที่ปรึกษาด้านการลงทุน มองว่าปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจจีนยังคงดูดี โดยหนุนจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ
1) การบริโภคในประเทศ จากกำลังซื้อในภาคครัวเรือนจีนที่คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง ด้วยกระสุนจากอัตราการออมของภาคครัวเรือนที่สูงมาก 2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน (PBoC) ที่มีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม เนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับรัฐบาลจีนส่งสัญญาณผ่อนคลายภาคอสังหาฯ และภาคเอกชนเพิ่มเติม ทำให้เชื่อว่าได้หุ้นจีนได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว
นอกจากนี้ ยังมองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจจีนในหลากหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากรัฐบาลจีนต้องการหนุนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ เพื่อมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนแทนการส่งออก และภาคอสังหาฯ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯที่ยังคงมีอยู่ ก็จะช่วยผลักดันให้จีนต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมในหลายอุตสาหกรรมเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก จากเป้าหมายเรื่องการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
นอกเหนือจากปัจจัยสนับสนุนที่กล่าวมาแล้ว ในแง่การลงทุน KBank Private Banking มองว่าตลาดหุ้นจีนยังน่าสนใจ เนื่องจากราคาหุ้นจีน (Valuation) ยังไม่แพง เมื่อเทียบกับราคาหุ้นในประเทศอื่นๆ และเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงปลายปี 2565 ซึ่งจากข้อมูลในอดีตพบว่าตลาดหุ้นจีนมักจะใช้เวลาเป็นปีกว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาจากจุดต่ำสุด นอกจากนี้ยังมองว่าตลาดหุ้นจีนมีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนเป็นบวก หากเริ่มต้นปีด้วยราคา หรือ P/E Ratio ที่ต่ำ ประกอบกับอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ หรือ EPS growth ของที่สูงกว่า 10%
โดย KBank Private Banking สรุป 4 กลุ่มธุรกิจที่จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ได้แก่
(1) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเกรดพรีเมี่ยม จากการที่คนจีนที่มีฐานะดีขึ้น จำนวนชนชั้นกลางที่สูงขึ้น ส่งผลบวกต่อการบริโภคในประเทศ รวมถึงได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ที่เน้นการพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ
(2) กลุ่ม Healthcare จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก รวมไปถึงได้ประโยชน์จากเทรนด์การดูแลสุขภาพ
(3) กลุ่มเทคโนโลยี เช่น ผู้พัฒนาและผลิต Software ที่ได้รับแรงหนุนจากการใช้ Cloud และ A.I. มากขึ้น ประกอบกับการที่จีนเร่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดการพึ่งพาสหรัฐฯ
(4) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาดต่างๆ เป็นต้น
ดังนั้น คำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากตลาดหุ้นจีน คือ ลงทุนผ่านกองทุน K-CCTV ที่เน้นลงทุนในหุ้นจีน A-Shares (ตลาดหลักทรัพย์เชี่ยงไฮ้และเชินเจิ้น) พร้อมบริหารความเสี่ยง ด้วยการปรับสัดส่วนอย่างเป็นระบบเพื่อลดความผันผวนแม้ในช่วงที่ตลาดหุ้นจีนมีความผันผวนสูง และ K-CHINA ที่ลงทุนในหุ้นจีนที่จดทะเบียนในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และประเทศอื่นๆ (All China)
โดยทั้ง 2 กองทุนนี้ลงทุนในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ มีคุณภาพดี มีศักยภาพเติบโตสูง โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เช่น กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ กลุ่มธุรกิจสุขภาพ และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยแนะนำให้ลงทุนในระยะยาว และลงทุนควบคู่กับสินทรัพย์อื่น โดยเฉพาะสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อกระจายความเสี่ยง และลดโอกาสขาดทุน