WELCOME TO SEQUEL ONLINE (ซีเคว้ล ออนไลน์)
วันเสาร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 ติดต่อเรา
ชวนดู…ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย IC Bond 2 บริษัท แรบบิทไลฟ์-เมืองไทยประกันชีวิต นำร่อง

26 มิถุนายน 2566 : ด้วยดอกเบี้ยขาขึ้น.. หนุนให้บริษัทน้อยใหญ่พาเหรดกันออกหุ้นกู้เพื่อล๊อคต้นทุนไม่ให้บานปลาย เและเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเสริมแกร่งเงินทุน โดยไม่ต้องผ่านช่องทางสินเชื่อ ขณะเดียวกันช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้สถาบันการเงินของไทยเสริมแกร่งเงินกองทุนกันต่อเนื่อง ด้วยการออกหุ้นกู้ออกหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์เสริมเงินกองทุนขั้น 1

ขณะที่ปัญหาของธนาคาร Credit Suisse Group AG หรือ Credit Suisse หนึ่งในธนาคารใหญ่ที่ทรงอิทธิพล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงที่ผ่านมาจนนำไปสู่การตัดมูลค่าของตราสารหนี้ AT1 ลงเหลือศูนย์ น่าจะทำให้ผู้ลงทุนได้รู้จักตราสารหนี้ Basel III ทั้งประเภท AT1 และ Tier 2 กันมากขึ้น สำหรับตราสารหนี้ดังกล่าวนอกจากธนาคารพาณิชย์แล้ว ยังมีบริษัทประกันภัยที่สามารถออกตราสารหนี้ในลักษณะเดียวกันนี้ได้ ซึ่งตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทประกันภัย เพื่อนำเงินไปใช้เป็นเงินกองทุนของตนเองจะเรียกว่า ตราสารหนี้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัย (Insurance Capital Bond) หรือ IC Bond

และเพื่อให้เข้าใจถึงตราสารหนี้ IC Bond ได้มากขึ้นทาง สมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) อธิบายถึงตราสารดังกล่าวว่า IC Bond มี 2 ประเภท ตามชั้นของเงิน กองทุน คือ IC Bond tier I หรือตราสารหนี้ เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยชั้น ที่ 1 และ IC Bond tier II หรือตราสารหนี้เพื่อ นับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยชั้นที่ 2 (IC Bond tier II) ซึ่งคล้ายกับหุ้นกู้ Basel III ที่ แบ่งเป็นประเภท AT1 และ Tier 2

IC Bond tier หรือตราสารหนี้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยชั้น ที่ 1 และ IC Bond tier Il หรือตราสารหนี้เพื่อ นับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยชั้นที่ 2 (IC Bond tier II) ซึ่งคล้ายกับหุ้นกู้ Basel III ที่ แบ่งเป็นประเภท AT1 และ Tier 2

IC Bond tier I หรือ ตราสารหนี้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยชั้นที่ 1 เป็น ตราสารด้อยสิทธิ ที่ไม่มีอายุหรือไม่มีกำหนด วันไถ่ถอน ที่บริษัทประกันภัยผู้ออกตราสาร จะมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดเมื่อครบอายุ 5 ปี เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะ กรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.)

โดยตราสารหนี้ประเภทนี้ สามารถถูกลดมูลค่า (ทั้งหมดหรือบางส่วน) หรือแปลงเป็นหุ้นสามัญ (ทั้งจำนวนแทนการได้ รับเงินต้นคืน) ได้ทันทีเมื่อเงินกองทุน (CET1 ratio) ของบริษัทประกันภัยต่ำกว่าเกณฑ์ที่ กําหนดโดยไม่ต้องรอให้ทางการตัดสินใจเข้าให้ ความช่วยเหลือ นอกจากนี้ บริษัทประกันภัยยัง สามารถยกเว้นการจ่ายดอกเบี้ยเมื่อใดก็ได้ และไม่ต้องสะสมดอกเบี้ยไปสมทบจ่ายในครั้งถัดไป โดยในกรณีที่บริษัทประกันภัยล้มละลายหรือ เลิกกิจการ ผู้ลงทุนจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้คืน เป็นลำดับที่ 4 ภายหลังจากเจ้าหนี้มีประกัน ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย เจ้าหนี้ ไม่ด้อยสิทธิ และผู้ถือ IC Bond tier Il

IC Bond tier II หรือ ตราสารหนี้เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยชั้นที่ 2 เป็น ตราสารด้อยสิทธิที่มีกำหนดอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดเมื่อครบ ปีที่ 5 และเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยได้โดยจะ สะสมดอกเบี้ยจ่ายไปชำระในวันใดก็ได้ สำหรับ การถูกลดมูลค่าหรือแปลงเป็นหุ้นสามัญของ IC Bond tier II จะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทประกันภัย ประสบปัญหาทางการเงินที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้จนทางการตัดสินใจเข้าให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ในกรณีที่บริษัท ประกันภัยล้มละลายหรือเลิกกิจการ ผู้ลงทุนจะ มีสิทธิได้รับชำระหนี้คืนเป็นลำดับที่ 3 หลังเจ้า หนี้มีประกัน ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย และเจ้าหนี้ไม่ด้อยสิทธิ แต่จะมีลำดับก่อนหน้าผู้ถือ IC Bond tier I

สำนักงาน กลต. ได้มีการอนุญาตให้บริษัทประกันภัยสามารถออก IC Bond เพื่อนับเป็น เงินกองทุนได้ตั้งแต่ปี 2021 โดยจนถึงปัจจุบัน มีการออก IC Bond tier Il แล้ว 2 รุ่น โดย บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือบริษัท แรบบิท ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)) มูลค่า 100 ล้านบาท ที่เป็นการเสนอขายในประเทศให้แก่ผู้ลงทุนวงแคบไม่เกิน 10 ราย (PP10) เมื่อปลายเดือน ม.ค. ปี 2021 และบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ที่ได้เสนอขายให้แก่นักลงทุน ในต่างประเทศไปเมื่อเดือน พ.ย. 2021 ด้วย มูลค่าการออกที่ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปัจจุบันบริษัทประกันภัยของไทยมีฐานะ เงินกองทุนค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยมีระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมาย ณ ไตรมาส 1/2023 สูงถึงร้อยละ 329 ในธุรกิจประกัน ชีวิต และร้อยละ 180 ในธุรกิจประกันวินาศภัย เทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำของ คปภ. ที่กำหนดไว้ที่ ร้อยละ 140 ดังนั้นบริษัทประกันภัยของไทยจึง อาจจะยังไม่มีความต้องการที่จะออก IC Bond

ทั้งนี้ การมีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติ การออกที่ชัดเจนย่อมเป็นประโยชน์แก่บริษัท ประกันภัยที่จะมีทางเลือกในการระดมทุนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของตนเอง ในด้านผู้ลงทุนก็ได้มีตัวเลือกในการลงทุนมาก ขึ้นซึ่งให้ผลตอบแทนสูงด้วย แต่ความเสี่ยงก็สูงขึ้นเช่นกันโดยผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะได้รับเงินต้น และดอกเบี้ยเพียงบางส่วนหรือไม่ได้รับชำระหนี้เลย นอกจากนี้สภาพคล่องในตลาดรองก็น่าจะจำกัดกว่าตราสารหนี้ปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า IC Bond จะสามารถเสนอขายได้กับผู้ลงทุนทุกประเภทแต่อาจไม่ได้เหมาะสำหรับนักลงทุนทั่วไปที่ไม่สามารถรองรับความเสี่ยงของการลงทุนได้ 

การเงิน ดูทั้งหมด



COPYRIGHT © 2016 SEQUEL ONLINE. ALL RIGHTS RESERVED.
FOLLOW UP